บาลีวันละคำ

มีฬหสุข (บาลีวันละคำ 3,183)

มีฬหสุข

สุขแบบไหน ใครรู้บ้าง

อ่านว่า มีน-หะ-สุก

ประกอบด้วยคำว่า มีฬห + สุข

(๑) “มีฬห

เขียนแบบบาลีเป็น “มีฬฺห” (มีจุดใต้ ฬฺ) อ่านว่า มีน-หะ หรือจะออกเสียงให้ใกล้บาลีกว่านั้นก็คือ มีน-หฺละ คือ ครึ่งเสียง รวมกับ เป็น ฬฺห > หฺละ รากศัพท์มาจาก –

(1) มิหฺ (ธาตุ = ไหล, ราด, รด) + ปัจจัย, ทีฆะ อิ ที่ มิ-(หฺ) เป็น อี (มิหฺ > มีห), แปลง เป็น , กลับ หฬ เป็น ฬฺห

: มิหฺ + = มิหล > มีหล > มีหฬ > มีฬฺห แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ไหลออกมา

(2) มีลฺ (ธาตุ = หลับตา) + ปัจจัย, แปลง เป็น

: มีลฺ + = มีลฺห > มีฬฺห แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งเป็นเหตุให้ผู้คนหลับตา” (คือเมื่อเห็นสิ่งนั้นแล้วรู้สึกรังเกียจ ไม่อยากมอง)

มีฬฺห” (ปุงลิงค์) หมายถึง อุจจาระ, ขี้ (excrement)

ความหมายของ “มีฬฺห” ตามรากศัพท์เดิมน่าจะรวมไปถึงปัสสาวะด้วย ดังที่คำเก่ามักพูดควบกันว่า “มูตรคูถ

มูตร” คือ ปัสสาวะ

คูถ” คือ อุจจาระ

แต่ในอรรถกถาพบว่า ไขความคำว่า “มีฬฺห” ว่า “คูถ” คืออุจจาระอย่างเดียว ไม่รวมปัสสาวะ

เชื่อได้ว่าคนไทยทั่วไปย่อมจะไม่เคยรู้จักคำว่า “มีฬฺห” แต่แม้กระนั้น พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ก็ยังอุตส่าห์เก็บคำนี้ไว้

บาลี “มีฬฺห” (มีจุดใต้ ฬฺ) ภาษาไทยใช้เป็น “มีฬห” (ไม่มีจุดใต้ ) อ่านว่า มีน-หะ พจนานุกรมฯ บอกไว้ว่า –

มีฬห– : (คำนาม) อุจจาระ. (ป.).”

ขีดท้าย – บอกให้รู้ว่า คำนี้ใช้เมื่อมีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย เช่นในคำว่า “มีฬหสุข” นี้เป็นต้น

(๑) “สุข

บาลีอ่านว่า สุ-ขะ รากศัพท์มาจาก –

(1) สุ (คำอุปสรรค = ดี, งาม, สะดวก) + ขมฺ (ธาตุ = อดทน, อดกลั้น) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ กฺวิ และ ที่สุดธาตุ

: สุ + ขมฺ = สุขม + กฺวิ = สุขมกฺวิ > สุขม > สุข แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่ทนได้ง่าย

(2) สุ (คำอุปสรรค = ดี, งาม, สะดวก) + ขนฺ (ธาตุ = ขุด) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ กฺวิ และ ที่สุดธาตุ

: สุ + ขนฺ = สุขน + กฺวิ = สุขนกฺวิ > สุขน > สุข แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่ขุดความทุกข์ด้วยดี

(3) สุ (คำอุปสรรค = ดี, งาม, สะดวก) + ขาทฺ (ธาตุ = เคี้ยวกิน) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ กฺวิ และ ที่สุดธาตุ, ลดเสียง อา ที่ ขา-(ทฺ) เป็น อะ

: สุ + ขาทฺ = สุขาท + กฺวิ = สุขาทกฺวิ > สุขาท > สุขา > สุข แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่เคี้ยวกินความทุกข์ด้วยดี

(4) สุขฺ (ธาตุ = สุขสบาย) + (อะ) ปัจจัย

: สุขฺ + = สุข แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่ยังบุคคลให้สุขสบาย

(5) สุ (คำอุปสรรค = ง่าย, สะดวก) + (โอกาส)

: สุ + = สุข แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่ให้โอกาสได้ง่าย

สุข” เราแปลทับศัพท์กันจนอาจจะไม่เคยคิดว่าหมายถึงอะไร

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “สุข” (นปุงสกลิงค์) ไว้ดังนี้ –

(1) agreeable, pleasant, blest (เป็นที่พอใจ, รื่นรมย์, ได้รับพร)

(2) wellbeing, happiness, ease (ความผาสุก, ความสุข, ความสบาย)

(3) ideal, success (อุดมคติ, ความสำเร็จ)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สุข, สุข– : (คำนาม) ความสบายกายสบายใจ เช่น ขอให้อยู่ดีมีสุข เกิดมาก็มีสุขบ้างทุกข์บ้าง, มักใช้เข้าคู่กับคำ เป็น เช่น ขอให้อยู่เย็นเป็นสุข ขอให้เป็นสุข ๆ นะ. (คำวิเศษณ์) สบายกายสบายใจ เช่น เดี๋ยวนี้เขาอยู่สุขสบายดี. (ป., ส.).”

มีฬฺห + สุข = มีฬฺหสุข (มีน-หะ-สุ-ขะ) เขียนแบบไทยเป็น “มีฬหสุข” (มีน-หะ-สุก) แปลว่า “สุขอันเกิดจากอุจจาระ” หรือ “สุขอันเปรียบด้วยอุจาระ” หรือแปลตรงตัวไม่กลัวหยาบคาย ก็แปลว่า “สุขขี้ๆ

ขยายความ :

อะไรที่หมดดีแล้ว เราเรียกว่า “ขี้” “มีฬหสุข” หมายถึง สุขที่ชาวโลกเห็นกันว่าเป็นสุข แต่ผู้มีสภาพจิตอยู่เหนือโลกบอกว่า สุขแบบนั้นเมื่อว่ากันจนถึงที่สุดแล้วก็ไม่มีอะไรดีจริง เอาสาระที่แท้จริงออกให้หมดก็จะเหลือแต่ขี้ จึงเป็น “สุขขี้ๆ

ในคัมภีร์บาลีที่แปลเป็นไทย เช่นพระไตรปิฎกแปลเป็นไทยและอรรถกถาแปล แปลคำว่า “มีฬฺหสุข” ไว้หลายลีลา เช่น

– ความสุขไม่สะอาด

– สุขอากูล (คงแปลคลาดเคลื่อน เจตนาหมายถึง “ปฏิกูล”)

– สุขเจือด้วยอุจจาระ

– ความสุขในอุจจาระ

– สุขแต่อุจจาระ

สำหรับผู้ไม่รู้บาลี อ่านเฉพาะคัมภีร์ที่แปลมา ก็คงต้องซึมซับเอาความหมายตามที่ผู้แปลได้แปลไว้ แต่ผู้ที่รู้บาลีเมื่อเห็นคำแปลย่อมจะนึกออกบอกได้ว่า คำแปลเหล่านี้ต้นฉบับบาลีว่าอย่างไร และย่อมจะขบความหมายให้เข้าถึงอรรถรสของภาษาได้ไม่ยาก

แต่แม้กระนั้น ผู้ที่รู้บาลีนั่นเองถ้าถูกถามว่า ตั้งแต่เรียนบาลีและสอบได้มาจนถึงวันนี้ เคยเห็นคำว่า “มีฬฺหสุข” ในคัมภีร์ฉบับไหนบ้าง เคยแปลและขบความคำว่า “มีฬฺหสุข” บ้างหรือยัง

ถูกถามแบบนี้ บางทีอาจจะงงอยู่นานทีเดียว

…………..

ดูก่อนภราดา!

: เสพสุขเมื่อมีสิทธิ์

: อย่าเสพติดเมื่อมีสุข

#บาลีวันละคำ (3,183)

28-2-64

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย