บาลีวันละคำ

บุญญาณัติ (บาลีวันละคำ 3,184)

บุญญาณัติ

บุญตามสั่ง

(คำสนุกๆ)

อ่านว่า บุน-ยา-นัด

ประกอบด้วยคำว่า บุญญ + อาณัติ

(๑) “บุญญ

บาลีเป็น “ปุญฺญ” อ่านว่า ปุน-ยะ รากศัพท์มาจาก –

(1) ปุ (ธาตุ = ชำระ สะอาด) + ณฺย ปัจจัย, ลง อาคม, ลบ ณฺ, แปลง นฺย (คือ อาคม + (ณฺ)- ปัจจัย) เป็น , ซ้อน ญฺ

: ปุ + + ณฺย = ปุนณฺย > ปุนฺย > (+ ญฺ) = ปุญฺญ แปลตามศัพท์ว่า “กรรมที่ชำระสันดานของตนให้สะอาด” “กรรมที่ชำระผู้ทำให้สะอาด

(2) ปุชฺช (น่าบูชา) + ชนฺ (ธาตุ = เกิด) + ณฺย ปัจจัย, ลบ ชฺช, และ , แปลง นฺย เป็น , ซ้อน ญฺ

: ปุชฺช + ชนฺ + = ปุชฺชชนฺ + ณฺย = ปุชฺชชนณฺย > ปุชนณฺย > ปุนณฺย > ปุนฺย > (+ ญฺ) = ปุญฺญ แปลตามศัพท์ว่า “สภาวะอันทำให้เกิดความน่าบูชา

(3) ปุณฺณ (เต็ม) + กรฺ (ธาตุ = ทำ) + ณฺย ปัจจัย, ลบ ณฺณ, และ , แปลง รย (คือ ที่ กรฺ + ที่ ณฺ) เป็น , ซ้อน ญฺ

: ปุณฺณ + กรฺ = ปุณฺณกร + ณฺย = ปุณฺณกรณฺย > ปุกรณฺย > ปุรณฺย > ปุรฺย > ปุ (+ ญฺ) = ปุญฺญ แปลตามศัพท์ว่า “การกระทำอันทำให้เต็มอิ่มสมน้ำใจ

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ไทย-อังกฤษ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต แปล “บุญ” เป็นอังกฤษว่า merit; meritorious action; virtue; righteousness; moral acts; good works. adj. meritorious; good.

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ปุญฺญ” ว่า merit, meritorious action, virtue (บุญ, กรรมดี, ความดี, กุศล)

ปุญฺญ” สันสกฤตเป็น “ปุณฺย

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

ปุณฺย : (คำคุณศัพท์) ‘บุณย, บุณย์,’ สาธุ, บริศุทธ์, ธรรมิก; สวย, น่ารัก; หอม; virtuous, pure, righteous; beautiful, pleasing; fragrant;- (คำนาม) สทาจาร, คุณธรรม; บุณย์หรือกรรมน์ดี; ความบริศุทธิ; virtue, moral or religious merit; a good action; purity.”

ปุญฺญ” ภาษาไทยใช้ว่า “บุญ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บอกไว้ว่า –

บุญ, บุญ– : (คำนาม) การกระทําดีตามหลักคําสอนในศาสนา; ความดี, คุณงามความดี. (คำวิเศษณ์) ดี เช่น คนใจบุญ, มีคุณงามความดี เช่น คนมีบุญ. (ป. ปุญฺญ; ส. ปุณฺย).”

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 แก้คำนิยามใหม่เป็นว่า –

บุญ, บุญ– : (คำนาม) ความสุข เช่น หน้าตาอิ่มบุญ; การกระทําดีตามหลักคําสอนในพระพุทธศาสนา เช่น ไปทำบุญที่วัด; ความดี เช่น ปล่อยนกปล่อยปลาเอาบุญ, คุณงามความดี เช่น เขาทำบุญช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยาก, ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น เช่น คนใจบุญ, ผลของการทำความดีจากชาติปางก่อน เช่น เขามีบุญจึงเกิดมาบนกองเงินกองทอง. (ป. ปุญฺญ; ส. ปุณฺย).”

(๒) “อาณัติ

บาลีเป็น “อาณตฺติ” อ่านว่า อา-นัด-ติ รากศัพท์มาจาก จาก อาณฺ (ธาตุ = ส่งไป) + ติ ปัจจัย, แปลง ติ เป็น ตฺติ

: อาณ + ติ = อาณติ > อาณตฺติ (อิตถีลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “เครื่องส่งไป” (คือส่งอำนาจที่มีอยู่เหนือสิ่งนั้นๆ ไปบังคับ)

อาณตฺติ” หมายถึง อาณัติ, บัญญัติ, กฎ, คำสั่งหรือคำสั่งห้าม, คำบงการ (order, command, ordinance, injunction)

อาณตฺติ” ในภาษาไทยตัดตัวสะกดออกตัวหนึ่งตามหลักนิยม ใช้เป็น “อาณัติ” (อา-นัด)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อาณัติ : (คำนาม) ข้อบังคับ, คําสั่ง, กฎ, เครื่องหมาย; การมอบหมายให้ดูแลปกครอง เช่น อาณาเขตในอาณัติ ดินแดนในอาณัติ. (ป. อาณตฺติ).”

ปุญฺญ + อาณตฺติ = ปุญฺญาณตฺติ (ปุน-ยา-นัด-ติ) เขียนแบบไทยเป็น “บุญญาณัติ” (บุน-ยา-นัด) แปลเอาความตามศัพท์ว่า “คำสั่งให้ทำบุญ

บาลี “ปุญฺญ” ปกติในภาษาไทยเขียนเป็น “บุญ” ( หญิง ตัวเดียว) แต่ในกรณีที่มีคำขึ้นต้นด้วยสระ อะ อา อุ หรือ อู มาสมาสข้างท้าย คง ไว้ทั้งสองตัว ตัวหนึ่งเป็นตัวสะกด อีกตัวหนึ่งเป็นตัวอาศัยของสระ เช่นคำว่า “บุญญาธิการ” (บุญญ + อธิการ) “บุญญานุภาพ” (บุญญ + อานุภาพ) “บุญโญปถัมภ์” (บุญญ + อุปถัมภ์) เป็นต้น

ขยายความ :

บุญญาณัติ” เป็นคำที่ผู้เขียนบาลีวันละคำคิดขึ้นสนุกๆ เนื่องจากมีข่าวแพร่หลายว่า เวลานี้มีผู้เปิดบริการทำบุญทางออนไลน์ กล่าวคือใครอยากใส่บาตร แต่ตื่นไม่ทัน หรืออยู่ในย่านถิ่นที่ไม่มีพระบิณฑบาต หรือขี้เกียจใส่ด้วยตนเอง หรือด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตาม บริการทำบุญทางออนไลน์หรือ “บุญตามสั่ง” จะดำเนินการจัดหาของใส่บาตรและใส่บาตรให้ตามสั่ง เมื่อดำเนินการแล้วจะส่งหลักฐานการใส่บาตรไปให้ผู้สั่งทางออนไลน์ ผู้สั่งเพียงแต่โอนเงินเข้าบัญชี ก็สามารถกรวดน้ำเหมือนกับได้ใส่บาตรด้วยตนเอง

เกิดเป็นคำถามขึ้นว่า ทำแบบนี้ได้บุญหรือไม่?

คำตอบคือ องค์ประกอบของการทำบุญ “ทานมัย” บุญสำเร็จด้วยการให้ทาน-ยกตัวอย่างเช่นใส่บาตร มี 3 ข้อ คือ –

1 มีสิ่งของที่จะใส่บาตร ในกรณีนี้คือมีเงินที่จะจ่ายค่าของใส่บาตร

2 เจ้าของเงินมีเจตนาที่จะใส่บาตร ในกรณีนี้คือมีการสั่งให้ใส่บาตร

3 มีการใส่บาตรเกิดขึ้นจริง

เจ้าของเงินได้บุญแน่นอน แต่เจตนา 3 ระยะ คือก่อนใส่ ขณะใส่ หลังจากใส่แล้ว อาจจะไม่สดใสเหมือนใส่ด้วยตนเอง

ปัญหาที่ควรสงสัยก็คือ คนที่เปิดบริการรับจ้างใส่บาตร ในฐานะเป็นผู้ใส่บาตรตามคำสั่ง จะได้บุญหรือไม่

ในที่นี้จะไม่ตอบ แต่จะถามกลับไปว่า ถ้าไม่มีใครสั่ง เขาจะใส่บาตรหรือไม่ และที่เขารับจ้างใส่บาตร เขาอยากได้บุญหรืออยากได้เงิน

…………..

ดูก่อนภราดา!

ชีวิตที่ได้กำไร : ใช้เงินแสวงหาบุญ

ชีวิตที่ขาดทุน : ใช้บุญแสวงหาเงิน

อาจเป็นรูปภาพของ หนึ่งคนขึ้นไป

#บาลีวันละคำ (3,184)

1-3-64

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย