บาลีวันละคำ

พหุสฺสุต (บาลีวันละคำ 66)

พหุสฺสุต

อ่านว่า พะ-หุด-สุ-ตะ

แปลตามศัพท์ว่า “ฟังมาก” หมายถึงผู้มีความรู้เพราะได้สดับตรับฟังหรือศึกษาเล่าเรียนมามาก, ผู้คงแก่เรียน

คุณสมบัติที่ทำให้เป็นพหูสูต มี 5 ประการ คือ

1. พหุสสุตา (ฟังมาก คือ ได้เล่าเรียนสดับฟังไว้มาก — having heard or learned many ideas)
2. ธตา (จำได้ คือ จับหลักหรือสาระได้ ทรงจำความไว้แม่นยำ — having retained or remembered them)
3. วจสา ปริจิตา (คล่องปาก คือ ท่องบ่นหรือใช้พูดอยู่เสมอจนแคล่วคล่อง จัดเจน — having frequently practised them verbally; having consolidated them by word of mouth)
4. มนสานุเปกขิตา (เพ่งขึ้นใจ คือ ใส่ใจนึกคิดพิจารณาจนเจนใจ นึกถึงครั้งใด ก็ปรากฏเนื้อความสว่างชัด — having looked over them with the mind)
5. ทิฏฐิยา สุปฏิวิทธา (ขบได้ด้วยทฤษฎี หรือ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ คือ ความเข้าใจลึกซึ้ง มองเห็นประจักษ์แจ้งด้วยปัญญา ทั้งในแง่ความหมายและเหตุผล — having thoroughly penetrated them by view)

(พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต)

ภาษาไทยใช้ว่า พหูสูต (พะ-หู-สูด)

ระวังอย่าเขียนผิดเป็น “พหูสูตร” (พหูสูต ไม่มี ร เรือ)

บาลีวันละคำ (66)

10-7-55

พหูสูต

  น. ผู้มีความรู้เพราะได้สดับตรับฟังหรือศึกษาเล่าเรียนมามาก. (ป. พหุสฺสุต).

พหูสูต

ผู้ได้ยินได้ฟังมามาก คือทรงจำธรรมและรู้ศิลปวิทยามาก, ผู้เล่าเรียนมาก, ผู้ศึกษามาก, ผู้คงแก่เรียน; ดู พาหุสัจจะ ด้วย

พาหุสัจจะ

  น. ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก, ความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก. (ป.).

ความคงแก่เรียน, ความรู้ลึกซึ้ง

great learning, profound knowledge

พาหุสัจจะ

ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก, ความเป็นผู้ได้เรียนรู้มาก หรือคงแก่เรียน มีองค์ ๕ คือ

๑. พหุสฺสุตา ได้ยินได้ฟังมาก

๒. ธตา ทรงจำไว้ได้

๓. วจสา ปริจิตา คล่องปาก

๔. มนสานุเปกฺขิตา เจนใจ

๕. ทิฏฺฐิยา สุปฏิวิทฺธา ขบได้ด้วยทฤษฎี;

ดู พหูสูต (ข้อ ๒ ในนาถกรณธรรม ๑๐, ข้อ ๓ ในเวสารัชชกรณธรรม ๕, ข้อ ๔ ในสัทธรรม ๗, ข้อ ๕ ในอริยทรัพย์ ๗)

พหุสฺสุต

มีความรู้มาก ได้สดับมาดี คงแก่เรียน

[231] พหูสูตมีองค์ 5 (คุณสมบัติที่ทำให้ควรได้รับชื่อว่าเป็นพหูสูต คือ ผู้ได้เรียนรู้มาก หรือคงแก่เรียน — qualities of a learned person)
       1. พหุสสุตา (ฟังมาก คือ ได้เล่าเรียนสดับฟังไว้มาก — having heard or learned many ideas)
       2. ธตา (จำได้ คือ จับหลักหรือสาระได้ ทรงจำความไว้แม่นยำ — having retained or remembered them)
       3. วจสา ปริจิตา (คล่องปาก คือ ท่องบ่นหรือใช้พูดอยู่เสมอจนแคล่วคล่อง จัดเจน — having frequently practised them verbally; having consolidated them by word of mouth)
       4. มนสานุเปกขิตา (เพ่งขึ้นใจ คือ ใส่ใจนึกคิดพิจารณาจนเจนใจ นึกถึงครั้งใด ก็ปรากฏเนื้อความสว่างชัด — having looked over them with the mind)
       5. ทิฏฐิยา สุปฏิวิทธา (ขบได้ด้วยทฤษฎี หรือ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ คือ ความเข้าใจลึกซึ้ง มองเห็นประจักษ์แจ้งด้วยปัญญา ทั้งในแง่ความหมายและเหตุผล — having thoroughly penetrated them by view)

ดูโพสในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย