บาลีวันละคำ

สาธุการ (บาลีวันละคำ 69)

สาธุการ

อ่านว่า สา-ทุ-กา-ระ

ประกอบด้วยคำว่า สาธุ + การ = สาธุการ

“สาธุ” แปลตามศัพท์ว่า “ยังประโยชน์ให้สำเร็จ” มีความหมายว่า “ดีแล้ว” “ถูกต้องแล้ว” “ใช่แล้ว” “เห็นชอบด้วย”

 “การ” แปลว่า “คำพูด” “ตัวอักษร”

“สาธุการ” หมายความว่า “การเปล่งวาจาว่า สาธุ” “การเขียนคำว่า สาธุ” เพื่อแสดงความเห็นชอบด้วย ชื่นชม หรือยกย่องสรรเสริญ

นอกจากนี้ “สาธุการ” ยังเป็นชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่สําคัญยิ่ง ใช้บรรเลงในพิธีกรรมเมื่อบูชาหรืออัญเชิญพระรัตนตรัย เทพยดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และใช้เพื่อแสดงกิริยาน้อมไหว้ เป็นเพลงอันดับแรกของชุดโหมโรงเช้าโหมโรงเย็น

“สาธุการ” เป็นวัฒนธรรมในการแสดงชื่นชมยินดีแบบชาวชมพูทวีป ตรงกับการปรบมืออันเป็นวัฒนธรรมในการแสดงชื่นชมยินดีแบบชาวยุโรป

เวลาแสดงความชื่นชมยินดีกับพระสงฆ์ ใช้วิธีสาธุการ (เปล่งเสียงว่า สาธุ) ไม่ใช่ปรบมือ

บาลีวันละคำ (69)

14-7-55

สาธุการ

การเปล่งวาจาว่า สาธุ (แปลว่า “ดีแล้ว” “ชอบแล้ว”) เพื่อแสดงความเห็นชอบด้วย ชื่นชม หรือยกย่องสรรเสริญ

สาธุการ

  น. การเปล่งวาจาว่าชอบแล้วเมื่อเวลาเห็นควรหรือยกย่องสรรเสริญ เช่น แซ่ซ้องสาธุการ กล่าวสาธุการขึ้นพร้อม ๆ กัน; ชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่สําคัญยิ่ง ใช้บรรเลงในพิธีกรรมเมื่อบูชาหรืออัญเชิญพระรัตนตรัย เทพยดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และใช้เพื่อแสดงกิริยาน้อมไหว้ เป็นเพลงอันดับแรกของชุดโหมโรงเช้าโหมโรงเย็น. (ป., ส.).

การกล่าวว่า “ดีแล้ว”, การอนุมัติ, การแสดงความยินดี, การแสดงความพอใจ

saying “well,” approval, cheering, applause

“สาธุ” แปลตามศัพท์ว่า “ยังประโยชน์ให้สำเร็จ” มีความหมายว่า “ดีแล้ว” “ถูกต้องแล้ว” “ใช่แล้ว” “เห็นชอบด้วย”

good ! right ! well !

ดูโพสในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย