บทความเรื่อง ชวนกันศึกษาพระธรรมวินัย
………………………………….
บทความชุด: ชวนกันศึกษาพระธรรมวินัย
………………………………….
ความเจริญของความเสื่อม (๐๑๒)
————————–
เมื่อวันตักบาตรเทโวที่ผ่านมา (แรมค่ำ ๑ เดือน ๑๑ ปีนี้ตรงกับวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๖๒) ผมไปตักบาตรที่วัดมหาธาตุ ราชบุรี-เหมือนที่เคยปฏิบัติมาทุกปี
ปีนี้รู้สึกผิดปกติในหัวใจที่เห็นว่า ในบาตรพระมีคนเอาธนบัตรใส่ลงไปด้วยเป็นอันมาก
……………..
เป็นอันว่า การเอาเงินใส่บาตรเวลาที่พระออกบิณฑบาตนั้น คนในเมืองไทยทำกันทั่วไปหมดแล้ว แม้ในโอกาสพิเศษเช่นตักบาตรเทโว ก็ทำกัน
คงมีคนอยากพูดว่า-เขารู้กันมาตั้งนานแล้วแหละลุง ลุงไปหลับอยู่ที่ไหนมา
ก็เป็นอันว่าคนในเมืองไทยพูดเรื่องนี้กันไม่รู้เรื่องแล้ว
ผู้ที่เอาเงินใส่บาตรมักจะอ้างเหตุผลว่า
๑ ขณะนั้นเวลานั้นไม่สะดวกที่จะจัดหาอาหารมาใส่บาตร แต่อยากจะทำบุญ และคิดว่าเอาเงินใส่บาตรสะดวกกว่า
๒ พระจะได้เอาเงินไปซื้อของฉันของใช้ที่จำเป็นได้ตรงกับความต้องการมากกว่าที่จะได้อาหารเพียงอย่างเดียว
จะเห็นได้ว่า เป็นเหตุผลที่เกิดจากความไม่รู้ว่า มีพุทธบัญญัติ “ห้ามภิกษุรับเงิน”
——————
ก็ต้องขอร้องมา ณ ที่นี้ว่า ช่วยเรียนรู้กันหน่อยเถิด
ในจำนวนศีลของพระ ๒๒๗ ข้อนั้น มีอยู่ข้อหนึ่งที่บัญญัติห้ามรับเงินไว้
ขอเชิญศึกษาพระธรรมวินัยเพื่อสืบอายุพระศาสนาร่วมกันนะครับ
ท่านที่ชอบสวดมนต์ ขอเสนอให้เอาศีลข้อนี้ไปสวดด้วยอีกสักบทหนึ่ง เป็นการทรงจำพระธรรมวินัยช่วยพระสงฆ์ท่านอีกแรงหนึ่ง
และที่สำคัญ เป็นการอัญเชิญพระธรรมวินัยมาประดิษฐานไว้ที่ดวงปัญญาโดยตรง ได้บุญศักดิ์สิทธิ์ไม่น้อยไปกว่า-หรืออันที่จริงยิ่งกว่า-สวดบทอัญเชิญพระอรหันต์มาประทับที่อวัยวะน้อยใหญ่ที่เรานิยมสวดกันทั่วไปนั่นแหละ
ความในพระไตรปิฎกเป็นดั่งนี้ –
………………..
โย ปน ภิกฺขุ ชาตรูปรชตํ อุคฺคเณฺหยฺย วา อุคฺคณฺหาเปยฺย วา
อุปนิกฺขิตฺตํ วา สาทิเยยฺย นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ.
อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทองและเงิน หรือยินดีทองและเงินอันเขาเก็บไว้ให้, ภิกษุนั้นต้องอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์.
ที่มา:
วินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๒
นิสสัคคียกัณฑ์ โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๘
พระไตรปิฎกเล่ม ๒ ข้อ ๑๐๕
………………..
ข้อความต่อมาเป็นคำจำกัดความตามแบบของกฎหมาย คือ
………………..
ชาตรูปํ นาม สตฺถุวณฺโณ วุจฺจติ.
คำว่า ชาตรูปะ (ทอง) หมายถึงสิ่งที่เรียกว่า ทองคำ
รชตํ นาม กหาปโณ โลหมาสโก ทารุมาสโก ชตุมาสโก เย โวหารํ คจฺฉนฺติ.
คำว่า รชตะ (เงิน) หมายถึงกหาปณะ คือ มาสกที่ทำด้วยโลหะ มาสกที่ทำด้วยไม้ มาสกที่ทำด้วยครั่ง ซึ่งใช้เป็นมาตราสำหรับแลกเปลี่ยนซื้อขายกันได้
ที่มา:
วินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๒
นิสสัคคียกัณฑ์ โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๘
พระไตรปิฎกเล่ม ๒ ข้อ ๑๐๖
………………..
นี่คือหลักพระธรรมวินัย ที่ชาวพุทธควรรู้
แรกเริ่มทีเดียว เรื่องนี้เกิดจากความไม่รู้ (Not to know) คือที่เอาสตางค์ใส่บาตรก็เพราะไม่รู้ว่ามีศีลข้อนี้ห้ามไว้
ถ้ารู้ก็จะไม่ทำ
แต่ชาวพุทธส่วนใหญ่ไม่ได้เริ่มต้นด้วยการเรียนรู้ แต่ชอบดูที่คนอื่นทำ แล้วเข้าใจเอาเอง แล้วทำไปตามที่เข้าใจ
เมื่อพากันทำมากเข้า ก็เกิดสภาพที่ภาษาวิชาการทางธรรมเรียกว่า “ลัทธปักข์” แปลเป็นไทยว่า “ได้พวก”
๑๐๐ คน เอาสตางค์ใส่บาตร ๙๙ คน
ไม่ใส่อยู่คนเดียวเพราะรู้ว่าผิดพระวินัย
๙๙ คนนั่นเป็นลัทธปักข์ทันที ผิดกลายเป็นถูก
คนเดียวที่ถูก กลายเป็นผิด
คราวนี้การทำผิดก็พัฒนาขึ้นเป็นความไม่รับรู้ (No need to know)
หมายความว่า ตอนนี้จะรู้หรือไม่รู้ว่ามีศีลข้อนี้ห้ามไว้ก็ไม่สนใจแล้ว ห้ามก็ห้ามไปสิ จะทำเสียอย่างใครจะทำไม
นี่คือสภาพที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในเวลานี้
ถ้าเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ก็จะพัฒนาขึ้นไปอีก เป็นความไม่เห็นด้วย (No receive)
ตอนนี้เราจะได้ยินเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า โลกเปลี่ยนไป พระธรรมวินัยก็ต้องเปลี่ยน ไม่เปลี่ยนก็อยู่ไม่รอด ข้อห้ามบางข้อล้าสมัยไปแล้ว เช่นไม่สวมรองเท้าเวลาออกบิณฑบาต เดินเท้าเปล่าไปบนพื้นสกปรกผิดหลักสุขอนามัย ควรยกเลิก
ห้ามรับเงินนี่ก็ด้วย ควรยกเลิก
มีผู้เห็นด้วยมากขึ้น ก็เข้าสูตร “ลัทธปักข์”
จากความไม่เห็นด้วย ต่อไปจะพัฒนาขึ้นเป็นการต่อต้าน (To act against)
ไม่เห็นด้วยนั่นแค่ยันหรือตั้งรับไว้เฉยๆ เพราะยังเกรงใจอยู่บ้าง แต่ขั้นนี้จะเป็นการรุกกลับหรือตีโต้แบบ-หน้าก็ไม่ไว้ ใจก็ไม่เกรงกันเลยทีเดียว
ใครแสดงความเคร่งพระวินัย จะถูกเย้ยหยัน ถากถาง ไม่มีใครคบ ถึงขั้นกดข่มไม่ให้มีบทบาทในวงการ
เคร่งนักหรือ ไปอยู่ป่าหิมพานต์โน่น อย่ามาอยู่ในเมือง ไป ไป
ถึงตอนนั้นพระศาสนาก็หายนะ
——————
ความคิดประสาผม ผมคิดอย่างไร?
หนทางที่ควรจะทำในสภาพเช่นนี้ก็คือ การศึกษาเรียนรู้ คู่ไปกับลงมือปฏิบัติ
เมื่อเรียนจนพอรู้แล้ว ก็บอกกล่าวเผยแพร่ต่อๆ กันไป
ใครเห็นด้วย ขอแรงให้ช่วยกันทำนะครับ งานนี้เป็นการรักษาพระศาสนา
แค่ช่วยกันศึกษาเรียนรู้ ก็ช่วยขึ้นมาได้ครึ่งหนึ่งแล้ว
ช่วยกันเผยแผ่ให้แพร่หลาย ช่วยขึ้นมาได้อีกครึ่งหนึ่ง
จริงอยู่-ที่ความเสื่อมของพระศาสนาต้องเกิดขึ้นแน่ๆ แล้วความเสื่อมนั้นก็พัฒนาคือเจริญขึ้นเรื่อยๆ ห้ามไม่หยุด ฉุดไม่อยู่แน่ๆ
แต่การศึกษาเรียนรู้หลักพระธรรมวินัย ย่อมเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยฉุดชะลอความเสื่อมให้เกิดช้าลงและน้อยลง
ด้วยความหวังว่า ความรู้จะช่วยทำให้ฉุกคิดเกิดความละอายที่จะละเมิด และเกิดอุตสาหะที่จะปฏิบัติให้ถูกต้อง แม้ชั่วเวลาไก่ปรบปีกหรือดื่มยาคูอึกเดียว-ตามสำนวนในบาลี หรือชั่วช้างกระดิกหู งูแลบลิ้น-ตามสำนวนไทยของคนเก่า ก็เป็นมหากุศลยิ่งแล้ว
พระธรรมวินัยที่ช่วยกันศึกษาเรียนรู้เผยแผ่ น่าจะพอเทียบได้กับเหตุการณ์เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์เสด็จไปโปรดมัฏฐกุณฑลีมาณพ ทรงเปล่งพระรัศมีไปให้มาณพที่นอนป่วยเห็นเพียงแค่ “วาบเดียว” ก็ทำให้มาณพได้สติ เกิดศรัทธา ดับจิตไปเกิดในสวรรค์ได้
วาบเดียวก็พอแก่การย์แล้ว
เรื่องนี้อยู่ในคัมภีร์ธัมมปทัฏฐกถา นักเรียนบาลีเรียนกันมาแล้วทั้งนั้น
——————
ทั้งหมดที่เขียนมา ผมเพียงพยายามนำความรู้ทางพระธรรมวินัยมาเผยแพร่ตามหน้าที่ มิได้มีความประสงค์จะตั้งตัวเป็นปฏิปักษ์กับฝ่ายไหนๆ ทั้งสิ้น
พระวินัยห้ามภิกษุรับเงินก็จริง แต่มิได้ตัดหนทางที่จะใช้ประโยชน์จากเงิน
หนทางปฏิบัติที่จะช่วยให้พระได้รับประโยชน์จากเงินโดยไม่ผิดพระธรรมวินัย ควรทำอย่างไร ผมเคยเขียนเสนอแนะมาแล้วหลายครั้ง
ขอท่านผู้มีอำนาจวาสนาในบ้านเมืองและในคณะสงฆ์-โดยเฉพาะกรรมการมหาเถรสมาคมชุดใหม่เอี่ยม-ได้โปรดช่วยกันพิจารณาหาทางข้ามภูเขาที่ขวางหน้าเราอยู่ไปให้ได้ด้วย เทอญ
นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๒
๑๗:๓๗
———–
ประโยค๒ – ธมฺมปทฏฐกถา (ปฐโม ภาโค) – หน้าที่ 147
ราคฺจ โทสฺจ ปหาย โมหํ
สมฺมปฺปชาโน สุวิมุตฺตจิตฺโต
อนุปาทิยาโน อิธ วา หุรํ วา
ส ภาควา สามฺสฺส โหตีติ. “
ตตฺถ สหิตนฺติ เตปิฏกสฺส พุทฺธวจนสฺเสตํ นามํ ตํ
อาจริเย อุปสงฺกมิตฺวา อุคฺคณฺหิตฺวา พหุมฺปิ ปเรสํ ภาสมาโน
วาเจนฺโต กเถนฺโต ตํ ธมฺมํ สุตฺวา ยํ การเกน ปุคฺคเลน
กตฺตพฺพํ ตกฺกโร น โหติ กุกฺกุฏสฺส ปกฺขปหรณมตฺตมฺปิ
อนิจฺจาทิวเสน มนสิการํ นปฺปวตฺเตสิ เอโส ยถา นาม ทิวเสํ
ภติยา คาโว รกฺขนฺโต โคโป ปาโตว สมฺปฏิจฺฉิตฺวา สายํ
คเณตฺวา สามิกานํ นิยฺยาเทตฺวา ทิวสภติมตฺตํ คณฺหาติ ยถารุจิยา
ปน ปฺจโครเส ปริภฺุชิตุํ น ลภติ เอวเมว เกวลํ อนฺเตวาสิกานํ
สนฺติกา วตฺตปฏิวตฺตกรณมตฺตสฺส ภาคี โหติ สามฺสฺส ปน
ภาคี น โหติ. ยถา ปน โคปาลเกน นิยฺยาทิตานํ คุนฺนํ ปฺจโครสํ
โคสามิกา ว ปริภฺุชนฺติ ตถา เตน กถิตํ ธมฺมํ สุตฺวา
การกปุคฺคลา ยถานุสิฏฺ€ํ ปฏิปชฺชิตฺวา เกจิ ป€มชฺฌานาทีนิ
ปาปุณนฺติ เกจิ วิปสฺสนํ วฑฺเฒตฺวา มคฺคผลานิ ปาปุณนฺติ
โคสามิกา โครสสฺเสว สามฺสฺส ภาคิโน โหนฺติ. อิติ
สตฺถา สีลสมฺปนฺนสฺส พหุสฺสุตสฺส ปมาทวิหาริโน อนิจฺจาทิวเสน
โยนิโสมนสิกาเร อปฺปวตฺตสฺส ภิกฺขุโน วเสน ป€มํ คาถํ
กเถสิ น ทุสฺสีลสฺส.
ประโยค๒ – พระธัมมปทัฏฐกถาแปล ภาค ๑ – หน้าที่ 208
๑๔. เรื่องภิกษุ ๒ สหาย * [ ๑๔ ]
[ข้อความเบื้องต้น]
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุ ๒
สหาย ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า “พหุมฺปิ เจ สหิตํ ภาสมาโน”
เป็นต้น.
ฯลฯ
ประโยค๒ – พระธัมมปทัฏฐกถาแปล ภาค ๑ – หน้าที่ 213
[แก้อรรถ*]
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สหิตํ นี้ เป็นชื่อแห่งพระพุทธพจน์
คือพระไตรปิฎก, นรชนเข้าไปหาอาจารย์ทั้งหลาย เล่าเรียนพระ
พุทธพจน์นั้นแล้ว กล่าว คือบอก ได้แก่แสดงอยู่ ซึ่งพระพุทธพจน์
แม้มาก แก่ชนเหล่าอื่น (แต่) หาเป็นผู้ทำกิจอันการกบุคคลฟัง
ธรรมนั้นแล้วจะพึงทำไม่ คือไม่ยังการทำไว้ในใจให้เป็นไป ด้วย
อำนาจแห่งไตรลักษณ์มีอนิจจลักษณะเป็นต้น ชั่วขณะแม้สักว่าไก่
ปรกปีก, นรชนนั้น ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งผลสักว่าการทำวัตรปฏิวัตร
จากสำนักของอันเตวาสิกทั้งหลายอย่างเดียว, แต่หาเป็นผู้มีส่วนแห่ง
คุณเครื่องเป็นสมณะไม่ เหมือนคนเลี้ยงโครักษาโคทั้งหลายเพื่อค่า
จ้างประจำวัน๑ รับไปแต่เช้าตรู่ เวลาเย็น นับมอบให้แก่เจ้าของทั้ง
หลายแล้ว รับเอาเพียงค่าจ้างรายวัน, แต่ไม่ได้เพื่อบริโภคปัญจโครส
ตามความชอบใจ ฉะนั้นแล.
เหมือนอย่างว่า เจ้าของโคพวกเดียว ย่อมบริโภคปัญจโครส
แห่งโคทั้งหลาย ที่นายโคบาลมอบให้แล้ว ฉันใด, การกบุคคล
ทั้งหลาย ฟังธรรมอันนรชนนั้นกล่าวแล้ว ปฏิบัติ๒ตามที่นรชนนั้นพร่ำ
สอนแล้ว ก็ฉันนั้น, บางพสกบรรลุปฐมฌานเป็นต้น, บางพวกเจริญ
วิปัสสนาแล้ว บรรลุมรรคและผล, จัดว่าเป็นผู้มีส่วนแห่งคุณเครื่อง
เป็นสมณะ เหมือนพวกเจ้าของโค ย่อมเป็นผู้มีส่วนโครสฉะนั้น.
* ของสนามหวง พ.ศ. ๒๔๗๗. ๑. ตามหลักต้องว่าเหมือนคนรักษาโคเพื่อจ้าง
ประจำวัน ชื่อว่าคนเลี้ยงโค ๒. ปฏิปชฺชิตฺวา บางมตินิยมเป็นกิริยาปธานนัย.
———
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ – หน้าที่ 214
มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว หมดความยึดถือในโลกนี้หรือ
ในโลกหน้า, เขาย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งสามัญผล.”
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สหิตํ นี้ เป็นชื่อแห่งพระพุทธพจน์
คือพระไตรปิฎก, นรชนเข้าไปหาอาจารย์ทั้งหลาย เล่าเรียนพระพุทธพจน์
นั้นแล้ว กล่าว คือบอก ได้แก่แสดงอยู่ ซึ่งพระพุทธพจน์แม้มาก
แก่ชนเหล่าอื่น (แต่) หาเป็นผู้ทำกิจอันการกบุคคลฟังธรรมนั้นแล้ว
จะพึงทำไม่ คือไม่ยังการทำไว้ในใจให้เป็นไป ด้วยอำนาจแห่งไตรลักษณ์
มีอนิจจลักษณะเป็นต้น ชั่วขณะแม้สักว่าไก่ปรบปีก, นรชนนั้น ย่อมเป็น
ผู้มีส่วนแห่งผลสักว่าการทำวัตรปฏิวัตรจากลำนักของอันเตวาสิกทั้งหลาย
อย่างเดียว, แต่หาเป็นผู้มีส่วนแห่งคุณเครื่องเป็นสมณะไม่ เหมือนคน
เลี้ยงโครักษาโคทั้งหลายเพื่อค่าจ้างประจำวัน รับไปแต่เช้าตรู่ เวลาเย็น
นับมอบให้แก่เจ้าของทั้งหลายแล้ว รับเอาเพียงค่าจ้างรายวัน, แต่ไม่ได้
เพื่อบริโภคปัญจโครสตามความชอบใจ ฉะนั้นแล.
เหมือนอย่างว่า เจ้าของโคพวกเดียว ย่อมบริโภคปัญจโครสแห่งโค
ทั้งหลาย ที่นายโคบาลมอบให้แล้ว ฉันใด, การกบุคคลทั้งหลาย
ฟังธรรมอันนรชนนั้นกล่าวแล้ว ปฏิบัติตามที่นรชนนั้นพร่ำสอนแล้ว
ก็ฉันนั้น, บางพวกบรรลุปฐมฌานเป็นต้น, บางพวกเจริญวิปัสสนาแล้ว
บรรลุมรรคและผล, จัดว่าเป็นผู้มีส่วนแห่งคุณเครื่องเป็นสมณะ เหมือน
พวกเจ้าของโค ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งโครสฉะนั้น. พระศาสดาตรัสคาถาที่ ๑
ด้วยอำนาจแห่งภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ผู้มีสุตะมาก (แต่ ) มีปกติอยู่