บทความเรื่อง ชวนกันศึกษาพระธรรมวินัย
………………………………….
บทความชุด: ชวนกันศึกษาพระธรรมวินัย
………………………………….
ศึกษาพระธรรมวินัย อย่าเข้าใจเอาเอง (๐๐๓)
———————————-
……………….
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๘๙ บัญญัติไว้ว่า –
ผู้ใดฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
ต้องระวางโทษประหารชีวิต
……………….
ถ้าใครไปฆ่าใครเข้าสักคน กฎหมายกำหนดไว้ว่ามีความผิดฐานฆ่าคนตาย
(“ฆ่าคนตาย” – เป็นภาษาที่เราพูดกันรู้เรื่องนะครับ ประเดี๋ยวจะมีใครว่างงานมาตีรวนว่า คนตายแล้วจะไปฆ่าได้อีกอย่างไร)
แล้วแค่ไหนอย่างไรจึงเรียกว่า คน หรือบุคคล?
……………….
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕ บัญญัติไว้ว่า –
สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก
และสิ้นสุดลงเมื่อตาย
……………….
ทารกคลอดออกมาแล้วรอดชีวิต ตั้งแต่วินาทีนั้น ใครไปฆ่าเข้า มีความผิดฐานฆ่าคนตาย
แต่พระธรรมวินัยกำหนดลึกลงไปกว่านั้น
ศีลข้อหนึ่งของภิกษุ บัญญัติไว้ว่า
……………….
โย ปน ภิกฺขุ สญฺจิจฺจ มนุสฺสวิคฺคหํ ชีวิตา โวโรเปยฺย สตฺถหารกํ วาสฺส ปริเยเสยฺย มรณวณฺณํ วา สํวณฺเณยฺย มรณาย วา สมาทเปยฺย อมฺโภ ปุริส กึ ตุยฺหิมินา ปาปเกน ทุชฺชีวิเตน มตนฺเต ชีวิตา เสยฺโยติ อิติ จิตฺตมโน จิตฺตสงฺกปฺโป อเนกปริยาเยน มรณวณฺณํ วา สํวณฺเณยฺย มรณาย วา สมาทเปยฺย อยมฺปิ ปาราชิโก โหติ อสํวาโสติ ฯ
อนึ่ง ภิกษุใดจงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิต หรือแสวงหาศัสตราอันจะปลิดชีวิตให้แก่กายมนุษย์นั้น หรือพรรณนาคุณแห่งความตาย หรือชักชวนเพื่ออันตายด้วยถ้อยคำว่า แน่ะท่านผู้เป็นคน จะประโยชน์อะไรแก่ท่านด้วยชีวิตอันแสนลำบากยากแค้นนี้ ท่านตายเสียดีกว่าเป็นอยู่ ดังนี้ เธอมีเจตนาอย่างนี้ มีความมุ่งหมายอย่างนี้ พรรณนาคุณในความตายก็ดี ชักชวนเพื่ออันตายก็ดี โดยวิธีการต่างๆ แม้ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิกหาสังวาสมิได้.
ที่มา: ตติยปาราชิกกัณฑ์ วินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๑
พระไตรปิฎกเล่ม ๑ ข้อ ๑๘๐
……………….
นี่คือที่เรารู้กันสั้นๆ ว่า ภิกษุฆ่ามนุษย์ ต้องอาบัติปาราชิก ขาดจากความเป็นพระ
แล้วแค่ไหนอย่างไรจึงเรียกว่า “มนุษย์”?
“มนุษย์” ในที่นี้ พระไตรปิฎกท่านใช้คำว่า “มนุสฺสวิคฺคห” (มะ-นุด-สะ-วิก-คะ-หะ) แปลว่า “กายมนุษย์”
ท่านจำกัดความสิ่งที่เรียกว่า “มนุสฺสวิคฺคห” ไว้ดังนี้ –
……………….
มนุสฺสวิคฺคโห นาม ยํ มาตุกุจฺฉิสฺมึ ปฐมํ จิตฺตํ อุปฺปนฺนํ ปฐมํ วิญฺญาณํ ปาตุภูตํ ยาว มรณกาลา เอตฺถนฺตเร เอโส มนุสฺสวิคฺคโห นาม ฯ
ที่ชื่อว่า กายมนุษย์ ได้แก่ จิตแรกเกิดขึ้น คือปฐมวิญญาณปรากฏขึ้นในท้องแห่งมารดา จนกระทั่งถึงเวลาตาย ร่างกายที่มีชีวิตอยู่ในระหว่างนี้ชื่อว่า กายมนุษย์
ที่มา: ตติยปาราชิกกัณฑ์ วินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๑
พระไตรปิฎกเล่ม ๑ ข้อ ๑๘๑
……………….
คัมภีร์อรรถกถา (สมันตปาสาทิกา ภาค ๑ หน้า ๖๔๒-๖๔๓, พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปลชุด ๙๑ เล่ม เล่ม ๒ หน้า ๓๘๑-๓๘๒) ขยายความคำว่า “ปฐมวิญญาณปรากฏขึ้นในท้องแห่งมารดา” ว่า หมายถึง ตั้งแต่เป็น “กลละ” (กะ-ละ-ละ)
กำเนิดมนุษย์นั้น ท่านแสดงขั้นตอนไว้ว่า —
(๑) ชายหญิงร่วมเพศกัน (หมายรวมถึงกรรมวิธีที่ทำให้เชื้อฝ่ายชายกับเชื้อฝ่ายหญิงผสมกัน)
(๒) ฝ่ายหญิงมีไข่สุกพร้อมผสมเชื้อ
(๓) มีวิญญาณมาปฏิสนธิ
ครบองค์ประกอบ ๓ อย่างนี้ ก็เกิดชีวิต เริ่มจากเป็น “กลละ” มีขนาดเท่าหยาดน้ำมันที่ปลายขนแกะ (ชาติอุณฺณาย เอเกน อํสุนา อุทฺธฏเตลพินฺทุมตฺตํ)
ถ้าไม่เข้าใจ ก็เอาปลายเข็มเย็บผ้าจุ่มลงไปในน้ำมัน ยกขึ้นมา น้ำมันที่ติดอยู่ที่ปลายเข็มนั่นแหละคือขนาดของ “มนุษย์แรกเกิด” หรือ “กลละ” อยู่ในครรภ์มารดา
……………….
ผมตั้งใจยกคำบาลี-เขียนแบบบาลี มาให้อ่านกันด้วย
กรุณาอย่าเพิ่งอึดอัดหรือเบื่อหน่าย
คำบาลีจากพระไตรปิฎกก็เหมือนบทสวดมนต์
บทสวดมนต์ ท่านก็ยกมาจากพระไตรปิฎกนั่นเอง
บทที่แต่งใหม่ ก็ขลังน้อยกว่าพระไตรปิฎก
อ่านคำบาลีจากพระไตรปิฎกก็เท่ากับได้สวดมนต์นั่นเอง
……………….
กฎหมายกำหนดความเป็นมนุษย์ตั้งแต่คลอดออกมาแล้วรอดชีวิต
แต่พระธรรมวินัยกำหนดความเป็นมนุษย์ตั้งแต่เป็นกลละ
คนทั่วไปฆ่าคนที่คลอดออกมาแล้วรอดชีวิต จึงผิดกฎหมายฐานฆ่าคนตาย
แต่ภิกษุฆ่าคนตั้งแต่เป็นกลละ ผิดศีลฐานฆ่าคนตาย ขาดจากความเป็นพระทันที
……………….
ผมเชื่อว่า นี่เป็นเรื่องหนึ่งที่พระภิกษุสามเณรทุกวันนี้ไม่เคยรู้มาก่อน
คนทั่วไปก็ไม่เคยรู้มาก่อน
ที่ไม่รู้ก็เพราะไม่ได้ศึกษา
เรื่องที่เราเข้าใจกันอย่างหนึ่ง แต่รายละเอียดในพระธรรมวินัยท่านว่าไว้อีกอย่างหนึ่ง-แบบนี้ ยังมีอีกเป็นอันมาก
นี่คือที่ผมว่า-ศึกษาพระธรรมวินัย อย่าเข้าใจเอาเอง
——————-
พระพุทธศาสนานั้นมีอยู่จริง
ผู้ที่สมัครเข้ามาถือเพศบรรพชิตในพระพุทธศาสนา มีอยู่จริง
พระธรรมวินัย คือกฎกติกามารยาทของผู้ที่สมัครเข้ามาถือเพศบรรพชิตในพระพุทธศาสนาก็มีอยู่จริง
การศึกษาพระธรรมวินัยเพื่อให้รู้เข้าใจว่า อะไรห้ามทำ อะไรต้องทำ ทำอย่างไรผิด ทำอย่างไรไม่ผิด-ยังมีอยู่จริงหรือเปล่า?
ถ้ายังมีอยู่ ขอได้โปรดช่วยกันอนุโมทนา และช่วยกันสนับสนุนให้มีให้ทำกันต่อไปอย่าให้ขาดสาย
แต่ถ้าไม่มี ขอได้โปรดช่วยกันกระตุ้นเตือนให้มีให้ทำกันด้วยเถิด
เพราะการไม่ศึกษาพระธรรมวินัย
คือความบรรลัยของพระศาสนา
นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
๒๒ กันยายน ๒๕๖๒
๑๖:๑๖
—————
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 15 บัญญัติไว้ดังนี้
สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกและสิ้นสุดลงเมื่อตาย
ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถมีสิทธิต่างๆได้ หากว่าภายหลังคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 289 ผู้ใด
(1) ฆ่าบุพการี
(2) ฆ่าเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุที่จะกระทำ หรือได้กระทำการตามหน้าที่
(3) ฆ่าผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน ในการที่เจ้าพนักงานนั้นกระทำตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุที่บุคคลนั้นจะช่วยหรือได้ช่วยเจ้าพนักงานดังกล่าวแล้ว
(4) ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
(5) ฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย
(6) ฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น หรือ
(7) ฆ่าผู้อื่นเพื่อจะเอา หรือเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดแต่การที่ตนได้กระทำความผิดอื่น เพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน หรือเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดอื่นที่ตนได้กระทำไว้
ต้องระวางโทษประหารชีวิต
—————
วินยฏฺ€กถา (สมนฺตปาสาทิกา ๑) – หน้าที่ 642
มหาวิภงฺควณฺณนา หน้า ๖๔๒
อิทานิ มนุสฺสวิคฺคหํ ชีวิตา โวโรเปยฺยาติ เอตฺถ วุตฺตํ
มนุสฺสตฺตภาวํ อาทิโต ปฏฺ€าย ทสฺเสตุํ มนุสฺสวิคฺคโห นามาติ-
อาทิมาห ฯ ตตฺถ คพฺภเสยฺยกานํ วเสน สพฺพสุขุมอตฺตภาว-
ทสฺสนตฺถํ ยํ มาตุ กุจฺฉิสฺมินฺติ วุตฺตํ ฯ ป€มํ จิตฺตนฺติ
ปฏิสนฺธิจิตฺตํ ฯ อุปฺปนฺนนฺติ ชาตํ ฯ ป€มํ วิฺาณํ ปาต-
ุภูตนฺติ อิทนฺตสฺเสว เววจนํ ฯ มาตุ กุจฺฉิสฺมึ ป€มํ จิตฺตนฺติ
วจเนเนเวตฺถ สกลาปิ ปฺจโวการปฏิสนฺธิ ทสฺสิตา โหติ ฯ
ตสฺมา ตฺจ ป€มํ จิตฺตํ ตํสมฺปยุตฺตา จ ตโย อรูปกฺขนฺธา
เตน สหนิพฺพตฺตฺจ กลลรูปนฺติ อยํ สพฺพป€โม มนุสฺส-
วิคฺคโห ฯ ตตฺถ กลลรูปนฺติ อิตฺถีปุริสานํ กายวตฺถุภาวทสก-
วเสน สมตฺตึสรูปานิ นปปสกานํ กายวตฺถุทสกวเสน วีสติ ฯ
วินยฏฺ€กถา (สมนฺตปาสาทิกา ๑) – หน้าที่ 643
ตติยปาราชิกวณฺณนา หน้า ๖๔๓
ตตฺถ อิตฺถีปุริสานํ กลลรูปํ ชาติอุณฺณาย เอเกน อํสุนา อุทฺธฏ-
เตลพินฺทุมตฺตํ โหติ อจฺฉํ วิปฺปสนฺนํ ฯ วุตฺตฺเจตํ อฏฺ€กถายํ
ติลเตลสฺส ยถา พินฺทุ สปฺปิมณฺโฑ อนาวิโล
เอวํ วณฺณปฏิภาคํ กลลรูปนฺติ ปวุจฺจตีติ ฯ
เอวํ ปริตฺตกํ วตฺถุํ อาทึ กตฺวา ปกติยา วีสวสฺส-
สตายุกสฺส (๑) สตฺตสฺส ยาว มรณกาลา เอตฺถนฺตเร อนุปุพฺเพน
วุฑฺฒิปฺปตฺโต อตฺตภาโว เอโส มนุสฺสวิคฺคโห นาม ฯ
ชีวิตา โวโรเปยฺยาติ กลลกาเลปิ ตาปนมทฺทเนหิ วา
เภสชฺชสมฺปาทเนน วา ตโต วา อุทฺธมฺปิ ตทนุรูเปน อุปกฺกเมน
ชีวิตา วิโยเชยฺยาติ อตฺโถ ฯ ยสฺมา ปน ชีวิตา โวโรปนํ
นาม อตฺถโต ชีวิตินฺทฺริยปจฺเฉทนเมว โหติ ตสฺมา เอตสฺส
ปทภาชเน ชีวิตินฺทฺริยํ อุปจฺฉินฺทติ อุปโรเธติ สนฺตตึ วิโกเปตีติ
วุตฺตํ ฯ ตตฺถ ชีวิตินฺทฺริยสฺส ปเวณิฆฏนํ อุปจฺฉินฺทนฺโต
อุปโรเธนฺโต จ ชีวิตินฺทฺริยํ อุปจฺฉินฺทติ อุปโรเธตีติ วุจฺจติ ฯ
สฺวายมตฺโถ สนฺตตึ วิโกเปตีติ ปเทน ทสฺสิโต ฯ วิโกเปตีติ
วิโยเชติ ฯ
ตตฺถ ทุวิธํ ชีวิตินฺทฺริยํ รูปชีวิตินฺทฺริยฺจ อรูป-
ชีวิตินฺทฺริยฺจ ฯ เตสุ อรูปชีวิตินฺทฺริเย อุปกฺกโม นตฺถิ ตํ
โวโรเปตุํ น สกฺกา ฯ รูปชีวิตินฺทฺริเย ปน อตฺถิ ตํ โวโรเปตุํ
# ๑. สี. วีสํวสฺสสตายุกสฺส ฯ
สมันตปาสาทิกา ภาค 1 หน้า 642-643
พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปลชุด 91 เล่ม เล่ม 2 หน้า 381-382
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 381
บทว่า สญฺชานนฺโต คือ รู้พร้อมอยู่ว่า เราจะปลงเสียจากชีวิต.
อธิบายว่า รู้อยู่พร้อมกับอาการที่รู้ว่า สัตว์มีปราณนั้นนั่นเอง.
บทว่า เจจฺจ ความว่า จงใจ คือ ปักใจ ด้วยอำนาจเจตนาจะฆ่า.
บทว่า อภิวิตริตฺวา ความว่า ส่งจิตที่หมดความระแวงสงสัยไปย่ำยี
ด้วยอำนาจความพยาบาท.
ด้วยบทว่า วิติกฺกโม มีคำอธิบายที่ท่านกล่าวไว้ว่า ความล่วงละเมิด
แห่งจิตหรือบุคคล ซึ่งเป็นไปแล้วอย่างนั้น นี้เป็นความอธิบายสุดยอดแห่ง
สัญจิจจ ศัพท์.
[อธิบายปฐมจิตของมนุษย์ผู้เริ่มลงสู่ครรภ์]
บัดนี้ ท่านพระอุบาลีเถระ กล่าวคำเป็นต้นว่า ชื่อว่ากายมนุษย์
เพื่อจะแสดงอัตภาพของมนุษย์ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ในคำว่า ปลงกาย
มนุษย์เสียจากความเป็นอยู่ นี้ ตั้งแต่แรก.
บรรดาบทเหล่านั้น หลายบทว่า (ปฐมจิต) อันใด (เกิดขึ้นแล้ว)
ในท้องแห่งมารดา ท่านพระอุบาลีเถระกล่าว เพื่อแสดงอัตภาพอันละเอียดที่สุด
ด้วยอำนาจแห่งเหล่าสัตว์ผู้นอนในครรภ์. ปฏิสนธิจิต ชื่อจิตดวงแรก. บทว่า
ผุดขึ้น ได้แก่เกิด. คำว่า วิญญาณดวงแรก มีปรากฏ นี้ เป็นคำไข ของ
คำว่า จิตดวงแรก ที่ผุดขึ้น นั้นนั่นแหละ. บรรดาคำเหล่านี้ ด้วยคำว่า
จิตดวงแรก (ที่ผุดขึ้น) ในท้องมารดา นั่นแหละ เป็นอันท่านแสดงปฏิสนธิ
ของสัตว์ผู้มีขันธ์ ๕ แม้ทั้งสิ้น. เพราะเหตุนั้น กายมนุษย์อันเป็นที่แรกที่สุดนี้
คือ จิตดวงแรกนั้น ๑ อรูปขันธ์ ๓ ที่เกี่ยวเกาะด้วยจิตนั้น ๑ กลลรูปที่เกิด
พร้อมกับจิตนั้น ๑. บรรดาอรูปขันธ์ และกลลรูปแห่งจิตดวงแรกนั้น รูป
๓ ถ้วน ด้วยอำนาจแห่งกาย ๑๐ วัตถุ ๑๐ และภาวะ ๑๐ แห่งสตรีและบุรุษ,
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 382
รูป ๒๐ ด้วยอำนาจแห่งกาย ๑๐ และวัตถุ ๑๐ แห่งพวกกะเทย ชื่อว่ากลลรูป.
บรรดาสตรี บุรุษ และกะเทยนั้น กลลรูปของสตรีและบุรุษ มีขนาดเท่า
หยาดน้ำมันงาที่ช้อนขึ้นด้วยปลายข้างหนึ่ง แห่งขนแกะแรกเกิด เป็นของใส
กระจ่าง จริงอยู่ ในอรรถกถาท่านกล่าวคำนี้ว่า
หยาดน้ำมันงา หรือสัปปิใส ไม่ขุ่น
มัว ฉันใด, รูปมีส่วนเปรียบด้วยสี ฉันนั้น
เรียกว่ากลลรูป.
อัตภาพของสัตว์มีอายุ ๑๒๐ ปีตามปกติ ที่ถึงความเติบโตโดยลำดับ
ในระหว่างนี้ คือตั้งต้นแต่เป็นวัตถุเล็กนิดอย่างนั้น จนถึงเวลาตาย นี้ ชื่อว่า
กายมนุษย์.
สองบทว่า ปลงเสียจากชีวิต ความว่า พึงพรากเสียจากชีวิต
ด้วยการนาบ และรีด หรือด้วยการวางยา ในกาลที่ยังเป็นกลละก็ดี หรือด้วย
ความพยายามที่เหมาะแก่รูปนั้น ๆ ในกาลถัดจากเป็นกลละนั้นไปก็ดี. ก็ขึ้น
ชื่อว่าปลงเสียจากชีวิต โดยความ ก็คือการเข้าไปตัดอินทรีย์ คือชีวิตเสียนั่น
เอง ; เพราะฉะนั้น ในวาระจำแนกบทแห่งสองบทว่า ปลงเสียจากชีวิต นั้น
ท่าน (พระอุบาลี) จึงกล่าวว่า เข้าไปตัด คือเข้าไปบั่นอินทรีย์ คือชีวิตเสีย
(ไขความว่า) ทำความสืบต่อให้ขาดสาย. เมื่อเข้าไปตัด และเข้าไปบั่นความ
สืบต่อเชื้อสาย แห่งอินทรีย์คือชีวิตเสีย ท่านกล่าวว่า ย่อมเข้าไปตัด เข้าไป
บั่นอินทรีย์ คือชีวิตเสีย ในบทภาชนะนั้น. เนื้อความนี้นั้น ท่านแสดงด้วย
บทว่า ทำความสืบต่อให้ขาดสาย.
บทว่า ให้ขาดสาย คือพรากเสีย. ในบทว่า อินทรีย์ คือชีวิต นั้น
อินทรีย์คือชีวิต มี ๒ อย่าง คือ รูปชีวิตินทรีย์ ๑ อรูปชีวิตินทรีย์ ๑. ใน