บทความเรื่อง ชวนกันศึกษาพระธรรมวินัย
………………………………….
บทความชุด: ชวนกันศึกษาพระธรรมวินัย
………………………………….
อิทธิฤทธิ์ของอิทธิบาท (๐๐๕)
——————————-
มหาปรินิพพานสูตรเป็นพระสูตรที่น่าศึกษา มีแง่มุมทั้งทางโลกและทางธรรมที่ชวนให้ขบคิดซ่อนแฝงอยู่เป็นอันมาก
พูดให้กระทบใจเล่นก็ว่า-ใครยังไม่ได้อ่านมหาปรินิพพานสูตร อย่ามาพูดว่าเป็นชาวพุทธ
……………….
ขอยกมาชวนให้ศึกษาเรื่องหนึ่ง-คือเรื่องอิทธิฤทธิ์ของอิทธิบาท
“อิทธิบาท” เป็นหลักธรรมชุดหนึ่ง มี ๔ ข้อ คือ –
(๑) ฉันทะ : ความพอใจ คือ ความต้องการที่จะทำ ใฝ่ใจรักจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปรารถนาจะทำให้ได้ผลดียิ่งๆ ขึ้นไป (will; zeal; aspiration)
(๒) วิริยะ : ความเพียร คือ ขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธุระ ไม่ท้อถอย (energy; effort; exertion; perseverance)
(๓) จิตตะ : ความคิดมุ่งไป คือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำและทำสิ่งนั้นด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป อุทิศตัวอุทิศใจให้แก่สิ่งที่ทำ (thoughtfulness; active thought; dedication)
(๔) วิมังสา : ความไตร่ตรอง หรือ ทดลอง คือ หมั่นใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญตรวจตราหาเหตุผลและตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น มีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุงเป็นต้น (investigation; examination; reasoning; testing)
ที่มาของคำอธิบาย: พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ข้อ [213]
……………….
ก่อนจะทรงปลงพระชนมายุสังขาร (คือตกลงพระทัยที่จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน) พระพุทธองค์ได้ตรัสแก่พระอานนท์ว่า –
ยสฺส กสฺสจิ อานนฺท จตฺตาโร อิทฺธิปาทา ภาวิตา
ดูก่อนอานนท์ อิทธิบาททั้ง ๔ อันผู้ใดผู้หนึ่งเจริญแล้ว
พหุลีกตา
กระทำให้มากแล้ว
ยานีกตา
กระทำให้เป็นดุจยาน
วตฺถุกตา
กระทำให้เป็นดุจพื้น
อนุฏฺฐิตา
ให้ตั้งมั่นแล้ว
ปริจิตา
สั่งสมแล้ว
สุสมารทฺธา
ปรารภดีแล้ว
โส อากงฺขมาโน อานนฺท
ดูก่อนอานนท์ ผู้นั้นเมื่อจำนงอยู่
กปฺปํ วา ติฏฺเฐยฺย กปฺปาวเสสํ วา,
จะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปหรือเกินกว่ากัป
ตถาคตสฺส โข อานนฺท จตฺตาโร อิทฺธิปาทา ภาวิตา
ดูก่อนอานนท์ อิทธิบาททั้ง ๔ ตถาคตเจริญแล้ว
พหุลีกตา
กระทำให้มากแล้ว
ยานีกตา
กระทำให้เป็นดุจยาน
วตฺถุกตา
กระทำให้เป็นดุจพื้น
อนุฏฺฐิตา
ให้ตั้งมั่นแล้ว
ปริจิตา
สั่งสมแล้ว
สุสมารทฺธา
ปรารภดีแล้ว
โส อากงฺขมาโน อานนฺท ตถาคโต
ดูก่อนอานนท์ ตถาคตนั้นเมื่อจำนงอยู่
กปฺปํ วา ติฏฺเฐยฺย กปฺปาวเสสํ วาติ ฯ
จะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปหรือเกินกว่ากัป
ที่มา: มหาปรินิพพานสูตร ทีฆนิกาย มหาวรรค
พระไตรปิฎกเล่ม ๑๐ ข้อ ๙๔
……………….
พระพุทธดำรัสที่ว่า “กปฺปํ วา ติฏฺเฐยฺย = พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป” นี้ มีคนจำนวนมากเข้าใจว่า หมายถึง-ผู้ที่บำเพ็ญอิทธิบาทถึงระดับแล้ว หากว่าอยากจะมีอายุยืนยาว ก็สามารถอยู่ไปได้จนถึงวันโลกแตก
และพระพุทธเจ้าของเรา ถ้าตอนนั้นพระอานนท์ทูลอาราธนาให้ทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ต่อไป พระองค์ก็จะสามารถอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ได้ (ตามเรื่องในพระสูตร พระอานนท์ไม่ได้ทูลอาราธนา นัยว่าเพราะมารดลใจ)
เวลานี้ก็ยังมีคนเข้าใจเช่นนั้น คือเข้าใจว่าบำเพ็ญอิทธิบาทให้ถึงขั้นแล้วสามารถอยู่ไปได้ชั่วกัปชั่วกัลป์-อ้างว่าพระพุทธเจ้าตรัสไว้ในมหาปรินิพพานสูตร
……………….
ถ้าตามไปศึกษาอรรถกถา ก็จะพบคำอธิบาย
คัมภีร์อรรถกถาอธิบายไว้ดังนี้ –
……………….
เอตฺถ จ กปฺปนฺติ อายุกปฺปํ ฯ ตสฺมึ ตสฺมึ กาเล ยํ มนุสฺสานํ อายุปฺปมาณํ โหติ ฯ ตํ ปริปุณฺณํ กโรนฺโต ติฏฺเฐยฺย ฯ
คำว่า “กปฺปํ” ได้แก่อายุกัป. หมายความว่า ในยุคสมัยนั้นๆ มนุษย์มีอายุประมาณ (อายุปฺปมาณ) เท่าไร ก็ดำรงชีพอยู่ได้เต็มตามอายุในยุคสมัยนั้นๆ
กปฺปาวเสสํ วาติ อปฺปํ วา ภิยฺโยติ วุตฺตวสฺสสตโต อติเรกํ วา ฯ
คำว่า “กปฺปาวเสสํ วา” หมายความว่า เกินกว่าร้อยปี ดังที่ตรัสไว้ว่า “อปฺปํ วา ภิยฺโย = จะเกินไปบ้างก็เล็กน้อย”
ที่มา: สุมังคลวิลาสินี ภาค ๒ หน้า ๒๕๖ (อรรถกถามหาปรินิพพานสูตร)
……………….
คำอธิบายบอกไว้ว่า “กปฺปํ วา ติฏฺเฐยฺย = พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป” ไม่ได้หมายถึงอยู่ไปได้ชั่วกัปชั่วกัลป์
แต่หมายถึง-อยู่ได้เต็มตามอายุกัป (คือกำหนดอายุ) ของคนในยุคสมัยนั้นๆ
ยุคสมัยพระพุทธเจ้าของเราพระองค์นี้ อายุกัปของมนุษย์คือ ๑๐๐ ปี
พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ ๘๐ ปี
ไม่เต็มตามอายุกัป
ถ้าพระอานนท์อาราธนาให้ทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ต่อไป พระองค์ก็จะเสด็จดับขันธปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ ๑๐๐ ปี หรืออาจเกินกว่านั้นเล็กน้อย-เช่น ๑๒๐ ปี เหมือนพระอานนท์
ไม่ใช่อยู่ไปชั่วกัปชั่วกัลป์อย่างที่คนส่วนมากเข้าใจ (แล้วอ้างว่าพระพุทธเจ้าตรัสไว้เองนี่นา!)
……………….
ถ้าตามไปศึกษาพระสูตรอื่นประกอบด้วย ก็จะไม่เข้าใจกันผิดๆ
มหาปทานสูตร (เป็นพระสูตรที่อยู่ในหมวดเดียวกับมหาปรินิพพานสูตรนั่นเอง) พระพุทธองค์ตรัสถึง “อายุปฺปมาณ” คือกำหนดอายุในแต่ละยุคไว้ดังนี้ –
……………….
วิปสฺสิสฺส ภิกฺขเว ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส อสีติวสฺสสหสฺสานิ อายุปฺปมาณํ อโหสิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระชนมายุของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีประมาณ ๘๐,๐๐๐ ปี (อสีติวสฺสสหสฺสานิ = แปดหมื่นปี)
พระชนมายุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ประมาณ ๗๐,๐๐๐ ปี (สตฺตติวสฺสสหสฺสานิ = เจ็ดหมื่นปี)
พระชนมายุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าเวสสภู ประมาณ ๖๐,๐๐๐ ปี (สฏฺฐิวสฺสสหสฺสานิ = หกหมื่นปี)
พระชนมายุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ ประมาณ ๔๐,๐๐๐ ปี (จตฺตาฬีสวสฺสสหสฺสานิ = สี่หมื่นปี)
พระชนมายุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะ ประมาณ ๓๐,๐๐๐ ปี (ตึสวสฺสสหสฺสานิ = สามหมื่นปี)
พระชนมายุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ประมาณ ๒๐,๐๐๐ ปี (วีสติวสฺสสหสฺสานิ = สองหมื่นปี)
มยฺหํ ภิกฺขเว เอตรหิ อปฺปกํ อายุปฺปมาณํ ปริตฺตํ ลหุกํ โย จิรํ ชีวติ โส วสฺสสตํ อปฺปํ วา ภิยฺโย ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อายุประมาณของเราในบัดนี้ไม่มาก คือน้อยนิดเดียว ผู้ที่มีชีวิตอยู่อย่างนานก็เพียง ๑๐๐ ปี (วสฺสสตํ) จะเกินไปบ้างก็เล็กน้อย
ที่มา: มหาปทานสูตร ทีฆนิกาย มหาวรรค
พระไตรปิฎกเล่ม ๑๐ ข้อ ๔
……………….
พระพุทธองค์ตรัสไว้เอง-อันนี้อ้างได้เลย-ว่า ยุคสมัยของพระองค์ มนุษย์อายุประมาณ ๑๐๐ ปี
จะมาอ้างว่า บำเพ็ญอิทธิบาท ๔ ให้ถึงขั้นแล้วสามารถอยู่ไปได้ชั่วกัปชั่วกัลป์-ได้อย่างไร
เห็นโทษของการไม่ได้ศึกษาพระธรรมวินัยบ้างหรือไม่
ในพระพุทธศาสนา ความเข้าใจผิด เข้าใจคลาดเคลื่อน-แบบนี้ ยังมีอีกเยอะครับ
ศึกษาพระธรรมวินัยกันได้แล้วหรือยังเจ้าข้า?
……………….
หมายเหตุ:
โพสต์ชุดนี้ไม่ได้เขียนเอา like
แต่ตั้งใจแบ่งปันความรู้
นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
๒๙ กันยายน ๒๕๖๒
๑๘:๑๖
———
สุตฺต ที. มหาวคฺโค – หน้าที่ 3
[๔] วิปสฺสิสฺส ภิกฺขเว ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
สุตฺต ที. มหาวคฺโค – หน้าที่ 4
อสีติวสฺสสหสฺสานิ อายุปฺปมาณํ อโหสิ ฯ สิขิสฺส ภิกฺขเว ภควโต
อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส สตฺตติวสฺสสหสฺสานิ อายุปฺปมาณํ
อโหสิ ฯ เวสฺสภุสฺส ภิกฺขเว ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
สฏฺฐิวสฺสสหสฺสานิ อายุปฺปมาณํ อโหสิ ฯ กกุสนฺธสฺส ภิกฺขเว
ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส จตฺตาฬีสวสฺสสหสฺสานิ อายุปฺปมาณํ อโหสิ ฯ โกนาคมนสฺส ภิกฺขเว ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ตึสวสฺสสหสฺสานิ อายุปฺปมาณํ อโหสิ ฯ กสฺสปสฺส ภิกฺขเว ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส วีสติวสฺสสหสฺสานิ อายุปฺปมาณํ อโหสิ ฯ มยฺหํ ภิกฺขเว เอตรหิ อปฺปกํ อายุปฺปมาณํ ปริตฺตํ ลหุกํ โย จิรํ ชีวติ โส วสฺสสตํ อปฺปํ วา ภิยฺโย ฯ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 3
[๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระชนมายุของพระผู้มีพระภาคอรหันต
สัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าวิปัสสี ประมา ๘๐,๐๐๐ ปี พระชนมายุของ
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าสิขี ประมาณ ๗๐,๐๐๐ ปี
พระชนมายุของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าเวสสภู
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 4
ประมาณ ๖๐,๐๐๐ ปี พระชนมายุของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระนามว่ากกุสันธะ ประมาณ ๔๐,๐๐๐ ปี พระชนมายุของพระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าโกนาคมนะ ประมาณ ๓๐,๐๐๐ ปี
พระชนมายุของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากัสสปะ
ประมาณ ๒๐,๐๐๐ ปี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนมายุของเราในบัดนี้มีประมาณ
ไม่มากคือน้อยนิดเดียวผู้ที่มีชีวิตอยู่อย่างนานก็เพียง ๑๐๐ ปี บางทีก็น้อยกว่า
บ้าง มากกว่าบ้าง.
——–
สุตฺต ที. มหาวคฺโค – หน้าที่ 119
[๙๔] อถโข ภควา ปุพฺพณฺหสมยํ นิวาเสตฺวา ปตฺตจีวรมาทาย
เวสาลึ ปิณฺฑาย ปาวิสิ เวสาลิยํ ปิณฺฑาย จริตฺวา ปจฺฉาภตฺตํ
ปิณฺฑปาตปฏิกฺกนฺโต อายสฺมนฺตํ อานนฺทํ อามนฺเตสิ คณฺหาหิ
อานนฺท นิสีทนํ เยน ปาวาลํ ๑ เจติยํ เตนุปสงฺกมิสฺสาม
ทิวาวิหารายาติ ฯ เอวํ ภนฺเตติ โข อายสฺมา อานนฺโท ภควโต
ปฏิสฺสุณิตฺวา นิสีทนํ อาทาย ภควนฺตํ ปิฏฺฐิโต ปิฏฺฐิโต อนุพนฺธิ ฯ
#๑ ม. ยุ. จาปาลํ ฯ อิโต ปรํ อีทิสเมว ฯ
สุตฺต ที. มหาวคฺโค – หน้าที่ 120
อถโข ภควา เยน ปาวาลํ เจติยํ เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา
ปญฺญตฺเต อาสเน นิสีทิ ฯ อายสฺมาปิ โข อานนฺโท ภควนฺตํ
อภิวาเทตฺวา เอกมนฺตํ นิสีทิ ฯ เอกมนฺตํ นิสินฺนํ โข อายสฺมนฺตํ
อานนฺทํ ภควา เอตทโวจ รมณียา อานนฺท เวสาลี รมณียํ
อุเทนํ เจติยํ รมณียํ โคตมกํ เจติยํ รมณียํ สตฺตมฺพํ เจติยํ
รมณียํ พหุปุตฺตํ เจติยํ รมณียํ สารนฺททํ เจติยํ รมณียํ
ปาวาลํ เจติยํ ยสฺส กสฺสจิ อานนฺท จตฺตาโร อิทฺธิปาทา ภาวิตา
พหุลีกตา ยานีกตา วตฺถุกตา อนุฏฺฐิตา ปริจิตา สุสมารทฺธา โส
อากงฺขมาโน อานนฺท กปฺปํ วา ติฏฺเฐยฺย กปฺปาวเสสํ วา
ตถาคตสฺส โข อานนฺท จตฺตาโร อิทฺธิปาทา ภาวิตา พหุลีกตา
ยานีกตา วตฺถุกตา อนุฏฺฐิตา ปริจิตา สุสมารทฺธา โส อากงฺขมาโน
อานนฺท ตถาคโต กปฺปํ วา ติฏฺเฐยฺย กปฺปาวเสสํ วาติ ฯ เอวํปิ
โข อายสฺมา อานนฺโท ภควตา โอฬาริเก นิมิตฺเต กยิรมาเน
โอฬาริเก โอภาเส กยิรมาเน นาสกฺขิ ปฏิวิชฺฌิตุํ น ภควนฺตํ
ยาจิ ติฏฺฐตุ ภนฺเต ภควา กปฺปํ ติฏฺฐตุ สุคโต กปฺปํ
พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย อตฺถาย หิตาย สุขาย
เทวมนุสฺสานนฺติ ยถา ตํ มาเรน ปริยุฏฺฐิตจิตฺโต ฯ ทุติยมฺปิ
โข ภควา ฯเปฯ ตติยมฺปิ โข ภควา อายสฺมนฺตํ อานนฺทํ
อามนฺเตสิ รมณียา อานนฺท เวสาลี รมณียํ อุเทนํ เจติยํ
รมณียํ โคตมกํ เจติยํ รมณียํ สตฺตมฺพํ เจติยํ รมณียํ
#๑ ยุ. สตฺตมฺพกํ ฯ อิโต ปรํ อีทิสเมว ฯ
สุตฺต ที. มหาวคฺโค – หน้าที่ 121
พหุปุตฺตํ เจติยํ รมณียํ สารนฺททํ เจติยํ รมณียํ ปาวาลํ
เจติยํ ยสฺส กสฺสจิ อานนฺท จตฺตาโร อิทฺธิปาทา ภาวิตา
พหุลีกตา ยานีกตา วตฺถุกตา อนุฏฺฐิตา ปริจิตา สุสมารทฺธา โส
อากงฺขมาโน กปฺปํ วา ติฏฺเฐยฺย กปฺปาวเสสํ วา ตถาคตสฺส
โข อานนฺท จตฺตาโร อิทฺธิปาทา ภาวิตา พหุลีกตา ยานีกตา
วตฺถุกตา อนุฏฺฐิตา ปริจิตา สุสมารทฺธา โส อากงฺขมาโน
อานนฺท ตถาคโต กปฺปํ วา ติฏฺเฐยฺย กปฺปาวเสสํ วาติ ฯ เอวํปิ
โข อายสฺมา อานนฺโท ภควตา โอฬาริเก นิมิตฺเต กยิรมาเน
โอฬาริเก โอภาเส กยิรมาเน นาสกฺขิ ปฏิวิชฺฌิตุํ น ภควนฺตํ
ยาจิ ติฏฺฐตุ ภนฺเต ภควา กปฺปํ ติฏฺฐตุ สุคโต กปฺปํ
พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย อตฺถาย หิตาย สุขาย
เทวมนุสฺสานนฺติ ยถา ตํ มาเรน ปริยุฏฺฐิตจิตฺโต ฯ อถโข
ภควา อายสฺมนฺตํ อานนฺทํ อามนฺเตสิ คจฺฉ ตฺวํ อานนฺท
ยสฺสทานิ กาลํ มญฺญสีติ ฯ เอวํ ภนฺเตติ โข อายสฺมา อานนฺโท
ภควโต ปฏิสฺสุณิตฺวา อุฏฺฐายาสนา ภควนฺตํ อภิวาเทตฺวา ปทกฺขิณํ กตฺวา อวิทูเร อญฺญตรสฺมึ รุกฺขมูเล นิสีทิ ฯ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 275
ว่าด้วยอานุภาพของอิทธิบาท ๔
(๑)[๙๔] ครั้งนั้นแล ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนุ่งสบง
ทรงถือบาตรและจีวรแล้ว เสด็จดำเนินเข้านครเวสาลี เพื่อบิณฑบาต(๒) ครั้น
เสด็จดำเนินเพื่อบิณฑบาตในนครเวสาลีแล้ว เสด็จกลับจากบิณฑบาตในเวลา
๑. บาลีพระสูตรต่อไปนี้ มีกล่าวไว้ใน สํ. มหาวาร. ๑๙/๓๐๒ อธ. อฏฺฐก. ๒๓/๓๑๘
-๓๒๔, ขุ.อุ. ๒๕/๑๗๖.
๒. ความในมหาปรินิพพานสูตร ตามที่กล่าวไว้ในคัมภีร์อรรถกถา สุมงฺคลวิสาสินี, ทุติยภาค,
น. ๙๓๑-๒๐๑ และสารตฺถปฺปกาสินี, ตติยภาค, น. ๓๑๒-๓๒๘.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 276
ปัจฉาภัตร ทรงมีพระดำรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจงถือ
นิสีทนะ (ที่รองนั่ง) เราจักเข้าไปยังปาวาลเจดีย์กันเถิด ท่านพระอานนท์
กราบทูลรับว่า พระเจ้าข้า แล้วถือนิสีทนะตามเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าไป
โดยเบื้องพระปฤษฏางค์. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดำเนินเข้าไปยัง
ปาวาลเจดีย์ แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่ปูไว้แล้ว แม้ท่านพระอานนท์ ก็ถวาย
บังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่งอยู่ ณ ด้านหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้
ตรัสกะท่านพระอานนท์ ซึ่งนั่งอยู่ ณ ด้านหนึ่ง ดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์
นครเวสาลี เป็นที่รื่นรมย์ อุเทนเจดีย์ก็เป็นที่รื่นรมย์ โคตมกเจดีย์ ก็เป็นที่
รื่นรมย์ สัตตัมพเจดีย์ก็เป็นที่รื่นรมย์ พหุปุตตเจดีย์ก็เป็นที่รื่นรมย์ สารัน-
ททเจดีย์ ก็เป็นที่รื่นรมย์ ปาวาลเจดีย์ ก็เป็นที่รื่นรมย์ ดูก่อนอานนท์ ผู้หนึ่ง
ผู้ใดเจริญอิทธิบาท ๔ ทำให้มาก ทำให้เป็นประหนึ่งยาน ทำให้เป็นประหนึ่ง
วัตถุที่ตั้ง ตั้งไว้เนื่อง ๆ อบรมไว้ ปรารภด้วยดี โดยชอบ ดูก่อนอานนท์
ผู้นั้น เมื่อปรารถนา ก็พึงดำรง (ชนม์ชีพ ) อยู่ได้ตลอดกัป เกินกว่ากัป
ดูก่อนอานนท์ ตถาคตแลได้เจริญอิทธิบาท ๔ แล้ว ได้ทำให้มาก แล้ว
ได้ทำให้เป็นประหนึ่งยานแล้ว ได้ทำให้เป็นประหนึ่งวัตถุที่ตั้งแล้ว ตั้งไว้
เนือง ๆ แล้ว อบรมแล้ว ปรารภด้วยดี โดยชอบแล้ว ดูก่อนอานนท์ ตถาคต
นั้น เมื่อปรารถนา ก็พึงดำรง (ชนม์ชีพ) อยู่ได้ ตลอดกัป หรือเกินกว่ากัป
ดังนี้.
แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำนิมิตหยาบ ทรงทำโอภาสหยาบ
อย่างนี้แล ท่านพระอานนท์ ก็มิสามารถรู้ได้ มิได้กราบทูลอาราธนาพระผู้มี
พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงดำรงอยู่ตลอด
กัปเถิด ขอพระสุคตเจ้าจงดำรงอยู่ตลอดกัปเถิด เพื่อเกื้อกูลแก่ชนจำนวน
มาก เพื่อความสุขแก่ชนจำนวนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 277
เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดังนี้ คล้ายกับท่านมีจิต
ถูกมารสิงไว้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ แม้ครั้งที่ ๒ แลฯลฯ
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ แม้ครั้งที่ ๓ แล ดังนี้ว่า ดูก่อน
อานนท์ นครเวสาลี เป็นที่รื่นรมย์ อุเทนเจดีย์ก็เป็นที่รื่นรมย์ โคตมกเจดีย์
ก็เป็นที่รื่นรมย์ สัตตัมพเจดีย์ก็เป็นที่รื่นรมย์ พหุปุตตเจดีย์ก็เป็นที่รื่นรมย์
สารันททเจดีย์ก็เป็นที่รื่นรมย์ ปาวาลเจดีย์ก็เป็นที่รื่นรมย์(๑) ดูก่อนอานนท์
ผู้หนึ่งผู้ใด เจริญอิทธิบาท ๔ ทำให้มาก ทำให้เป็นประหนึ่งยาน ทำให้เป็น
ประหนึ่งวัตถุที่ตั้ง ตั้งไว้เนือง ๆ อบรมไว้ ปรารภด้วยดี โดยชอบ ผู้นั้น
เมื่อปรารถนา ก็พึงดำรง (ชนม์ชีพ) อยู่ได้ ตลอดกัป หรือเกินกว่ากัป
ดูก่อนอานนท์ ตถาคตแลได้เจริญอิทธิบาท ๔ แล้ว ได้ทำให้มากแล้ว
ได้ทำให้เป็นประหนึ่งยานแล้ว ได้ทำให้เป็นประหนึ่งวัตถุที่ตั้งแล้ว สั่งสมแล้ว
ปรารภเสมอแล้วด้วยดี ดูก่อนอานนท์ ตถาคตนั้นเมื่อปรารถนา ก็พึงดำรง
อยู่ได้ตลอดกัป หรือเกินกว่ากัป ดังนี้ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำนิมิตหยาบ
ทรงทำโอภาสหยาบ อย่างนี้แล ท่านพระอานนท์ก็มิสามารถรู้ มิได้กราบทูล
อาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า
จงดำรงอยู่ตลอดกัปเถิด ขอพระสุคตเจ้าจงดำรงอยู่ตลอดกัปเถิด เพื่อเกื้อกูลแก่
ชนจำนวนมาก เพื่อความสุขแก่ชนจำนวนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่ชนจำนวนมาก
เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดังนี้.
คล้ายกับท่านมีจิตถูกมารสิงไว้ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก
ท่านพระอานนท์มีพระดำรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจงไป บัดนี้ เธอจงสำคัญ
กาลอันควรเถิด. ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
พระเจ้าข้า ลุกจากอาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว กระทำประทัก-
ษิณนั่งแล้วที่โคนต้นไม้ต้นหนึ่งในที่ไม่ไกล.
๑. ดูประวัติย่อ ๆ ของเจดีย์เหล่านี้ ใน ปรมตฺถทีปนี อุทานวณฺณนา, น. ๔๐๘.
อรรถกถา
ทีฆนิกายฏฺฐกถา (สุมงฺคลวิลาสินี ๒) – หน้าที่ 254
มหาปรินิพฺพานสุตฺตวณฺณนา หน้า ๒๕๕
นิสีทนนฺติ อิธ จมฺมกฺขณฺฑํ อธิปฺเปตํ ฯ อุเทนํ เจติยนฺติ (๕)
อุเทนยกฺขสฺส เจติยฏฺฐาเน กตวิหาโร วุจฺจติ ฯ โคตมกาทีสุปิ
เอเสว นโย ฯ ภาวิตาติ วฑฺฒิตา ฯ พหุลีกตาติ ปุนปฺปุนํ
กตา ฯ ยานีกตาติ ยุตฺตยานํ วิย กตา ฯ วตฺถุกตาติ ปติฏฺฐานฏฺเฐน
วตฺถุ วิย กตา ฯ อนุฏฺฐิตาติ อธิฏฺฐิตา ฯ ปริจิตาติ สมนฺตโต
#๑. ม. มหาภิกฺขุสงฺฆปริวุโต ฯ ๒. ยุ. อุกฺกเจลํ ฯ
๓. สํ. มหา. ๑๙/๗๓๓-๗๔๔/๒๑๕-๒๑๙ ฯ
๔. สี. ยุ. คโต ฯ ๕. สฺยา. อุเทนํ เจติยนฺติ ฯ
ทีฆนิกายฏฺฐกถา (สุมงฺคลวิลาสินี ๒) – หน้าที่ 255
มหาควฺควณฺณนา หน้า ๒๕๖
จิตา สุวฑฺฒิตา ฯ สุสมารทฺธาติ สุฏฺฐ สมารทฺธา ฯ อิติ
อนิยเมน กเถตฺวา ปุนนิยเมตฺวา ทสฺเสนฺโต ตถาคตสฺส
โขติอาทิมาห ฯ
เอตฺถ จ กปฺปนฺติ อายุกปฺปํ ฯ ตสฺมึ ตสฺมึ กาเล
ยํ มนุสฺสานํ อายุปฺปมาณํ โหติ ฯ ตํ ปริปุณฺณํ กโรนฺโต
ติฏฺเฐยฺย ฯ กปฺปาวเสสํ วาติ อปฺปํ วา ภิยฺโยติ (๑)วุตฺตวสฺสสตโต
อติเรกํ วา ฯ มหาสิวตฺเถโร ปนาห พุทฺธานํ อฏฺฐาเน คชฺชิตํ
นาม นตฺถิ ฯ ยเถว หิ เวฬุวคามเก อุปฺปนฺนํ มรณนฺติกํ
เวทนํ ทส มาเส วิกฺขมฺเภติ ฯ เอวํ ปุนปฺปฺนํ ตํ สมาปตฺตึ
สมาปชฺชิตฺวา ทส (๒) มาเส (๒) วิกฺขมฺเภนฺโต อิมํ ภทฺทกปฺปเมว
ติฏฺเฐยฺยาติ ฯ (๓) กสฺมา ปน น ฐิโตติ ฯ อุปาทินฺนกสรีรํ นาม
ขณฺฑิจฺจาทีหิ อภิภุยฺยติ ฯ พุทฺธา จ ขณฺฑิจฺจาทิภาวํ
อปฺปตฺวา ปญฺจเม อายุโกฏฺฐาเส พหุชนสฺส ปิยมนาปกาเลเยว
ปรินิพฺพายนฺติ ฯ พุทฺธานุพุทฺเธสุ จ มหาสาวเกสุ ปรินิพฺพุเตสุ
เอกเกเนว ขาณุเกน วิย ฐาตพฺพํ โหติ ฯ (๔) ทหรสามเณรปริวาเรน
ปน คโต (๔) อโห พุทฺธานํ (๕) ปริสาติ หีเฬตพฺพตํ อาปชฺเชยฺยฯ
ตสฺมา น ฐิโตติ ฯ เอวํ วุตฺเตปิ โส ปน (๖) รุจฺจติ ฯ อายุกปฺโปติ
# ๑. ที. มหา. ๑๐/๔/๔ ฯ องฺ. สตฺตก. ๒๓/๗๑/๑๔๑ ฯ ๒. ม. ทส ทส มาเส ฯ
๓. ม.ติฏฺเฐยฺย ฯ ๔. ม. ทหรสามเณรปริวาริเตน วา ฯ ๕. ม. ตโต อโห พุทฺธานํ ฯ
๖. ม. น ฯ
ทีฆนิกายฏฺฐกถา (สุมงฺคลวิลาสินี ๒) – หน้าที่ 256
มหาปรินิพฺพานสุตฺตวณฺณนา หน้า ๒๕๗
อิทเมว อฏฺฐกถายํ นิยมิตํ ฯ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 388
ในบทว่า นิสีทนํ นี้ ท่านประสงค์เอาแผ่นหนัง. บทว่า อุเทนเจติยํ
ท่านกล่าวถึงวัดที่สร้างตรงที่เจดีย์ของอุเทนยักษ์. แม้ในโคตมกเจดีย์เป็นต้น
ก็นัยนี้เหมือนกัน . บทว่า ภาวิตา แปลว่า เจริญแล้ว. บทว่า พหุลีกตา
แปลว่า ทำบ่อย ๆ. บทว่า ยานีกตา แปลว่า กระทำเหมือนยานที่เทียมแล้ว.
บทว่า วตฺถุกตา แปลว่า ทำเหมือนพื้นที่ เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้ง. บทว่า
อนุฏฺฐิตา แปลว่า ตั้งไว้แล้ว. บทว่า ปริจิตา แปลว่า ก่อไว้โดยรอบ คือทำ
ให้เจริญด้วยดี. บทว่า สุสมารทฺธา แปลว่า ริเริ่มด้วยดี. พระผู้มีพระภาค-
เจ้า ครั้นตรัสโดยไม่จำกัดดังกล่าวมาฉะนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงไม่จำกัดอีกจึง
ตรัสว่า ตถาคตสฺส โข เป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 389
พึงทราบวินิจฉัยในเรื่องนี้ต่อไปนี้. บทว่า กปฺปํ ได้แก่อายุกัป.
พระตถาคตเมื่อกระทำอายุประมาณของเหล่ามนุษย์ในกาลนั้น ๆ ให้บริบูรณ์พึง
ดำรงอยู่. บทว่า กปฺปาวเสสํ วา ได้แก่ เกินกว่าร้อยปี ที่ตรัสไว้ว่า อปฺปํ
วา ภิยฺโย น้อยกว่าร้อยปีหรือเกินกว่านั้น. ส่วนพระมหาสิวเถระกล่าวว่า
ชื่อว่าการบันลือในฐานะที่ไม่สมควรของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มี. จริงอยู่
พระองค์ทรงข่มเวทนาปางตายที่เกิดขึ้นในเวฬุวคามถึงสิบเดือนได้ฉันใด ก็ทรง
เข้าสมาบัตินั้นบ่อย ๆ ทรงข่มเวทนาได้ถึงสิบเดือนก็พึงทรงดำรงอยู่ได้ตลอด
ภัททกัปนี้ได้ฉันนั้น. ถามว่าก็เพราะเหตุไร พระองค์จึงไม่ทรงดำรงอยู่.
ตอบว่า เพราะขึ้นชื่อว่าสรีระที่มีใจครอง ถูกวิโ รธิปัจจัยมีฟันหักเป็นต้นครอบ
งำอยู่. ความจริงพระพุทธะทั้งหลาย ยังไม่ถึงภาวะแห่งวิโรธิปัจจัย มีฟันหัก
เป็นต้นย่อมปรินิพพานเสียในเวลาที่ทรงเป็นที่รักที่ชอบใจของมหาชนทีเดียว.
อนึ่ง เมื่อพระมหาสาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ก็พึงดำรงอยู่
เหมือนตอแต่ละอัน ๆ แต่พระองค์เสด็จไปกับภิกษุหนุ่มและสามเณรเป็นบริวาร
ก็พึงถูกเขาดูหมิ่นว่าโอ้โฮ บริษัทของพระพุทธะทั้งหลาย. เพราะฉะนั้น จึงไม่
ทรงดำรงอยู่. แม้เมื่อถูกกล่าวอย่างนี้พระองค์ก็จะทรงชอบพระทัย. คำว่า
อายุกปฺโป นี้ ท่านนิยามไว้ในอรรถกถาแล้ว.
ในคำว่า ยถา ตํ มาเรน ปริยุฏฺฐิตจิตฺโต นี้ คำว่า ตํ เป็นเพียง
นิบาต. อธิบายว่า ปุถุชนคนไรแม้อื่น ถูกมารยึดจิต ครอบงำจิต ไม่พึงอาจ
จะรู้แจ้งแทงตลอดได้ฉันใด ท่านพระอานนท์ก็ไม่อาจรู้แจ้งแทงตลอดฉันนั้น
เหมือนกัน. ความจริงมารย่อมยึดจิตของผู้ที่ยังละวิปัลลาส ๔ ไม่ได้ทุก ๆ
ประการ. พระเถระก็ยังละวิปัลลาส ไม่ได้ ด้วยเหตุนั้น มารจึงยึดครองจิต
ท่านไว้. ถามว่า ก็มารนั้น เมื่อยึดจิต กระทำอย่างไร. ตอบว่า มารแสดงอารมณ์
คือรูปหรือให้ได้ยินอารมณ์คือเสียงที่น่ากลัว แต่นั้น เหล่าสัตว์เห็นรูปหรือได้
——–
[213] อิทธิบาท 4 (คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ, คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย — Iddhipāda: path of accomplishment; basis for success)
1. ฉันทะ (ความพอใจ คือ ความต้องการที่จะทำ ใฝ่ใจรักจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปรารถนาจะทำให้ได้ผลดียิ่งๆ ขึ้นไป — Chanda: will; zeal; aspiration)
2. วิริยะ (ความเพียร คือ ขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธุระ ไม่ท้อถอย — Viriya: energy; effort; exertion; perseverance)
3. จิตตะ (ความคิดมุ่งไป คือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำและทำสิ่งนั้นด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป อุทิศตัวอุทิศใจให้แก่สิ่งที่ทำ — Citta: thoughtfulness; active thought; dedication)
4. วิมังสา (ความไตร่ตรอง หรือ ทดลอง คือ หมั่นใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญตรวจตราหาเหตุผลและตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น มีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุงเป็นต้น — Vīmaṃsā: investigation; examination; reasoning; testing)
D.III.221; Vbh.216. ที.ปา.11/231/233; อภิ.วิ.35/505/292.