บทความเกี่ยวกับศาสนา-ภาษา-สังคม

บทความเรื่อง ชวนกันศึกษาพระธรรมวินัย

………………………………….

บทความชุด: ชวนกันศึกษาพระธรรมวินัย

………………………………….

ธรรมะที่ถูกพิพากษา (๐๐๙)

——————-

ธรรมะในพระพุทธศาสนาที่ถูกเข้าใจผิดชนิดฝังหัว ไม่ยอมรับรู้ ไม่ยอมปรับความคิดอะไรทั้งสิ้น มีอยู่ ๓ ข้อ

๑ สันโดษ:

ถูกเข้าใจว่าคือความเกียจคร้าน ไม่อยากได้ใคร่ดี ไม่อยากทำอะไร อยู่นิ่งๆ เงียบๆ ไปวันๆ

สมัยหนึ่ง ผู้บริหารประเทศถึงกับขอร้องคณะสงฆ์ว่า อย่าให้พระเทศน์เรื่องสันโดษ เพราะเป็นการส่งเสริมให้คนขี้เกียจ บ้านเมืองของเรากำลังพัฒนา ต้องการคนขยัน

ข้อเท็จจริง:

สันโดษหมายถึงความภูมิใจ ความอิ่มใจในผลงานอันถูกต้องถูกต้องธรรมที่ตนได้ทำลงไปอย่างเต็มกำลังความสามารถ (contentment; satisfaction with whatever is one’s own) พร้อมกันนั้นก็มีฉันทะมีอุตสาหะที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเพื่อให้สามารถทำกิจนั้นๆ ให้ได้ผลดียิ่งๆ ขึ้น

สันโดษเป็นธรรมะที่ปฏิบัติทางใจ สำหรับแก้ปัญหาคนที่ไม่มีความสุขกับสิ่งที่ตนมีตนได้ แต่ไปคร่ำครวญโหยหาถึงสิ่งที่ยังไม่มียังไม่ได้

๒ อุเบกขา:

ถูกเข้าใจว่าคือความไม่รับผิดถูกต้อง ไม่ดูดำดูดี ไม่รับรู้ ไม่เอาธุระอะไรด้วย อยู่นิ่งๆ เฉยๆ ใครอย่ามายุ่งกับกู

ข้อเท็จจริง:

อุเบกขา (equanimity; neutrality; poise) คือความวางใจเป็นกลาง อันจะให้ดำรงอยู่ในธรรมตามที่พิจารณาเห็นด้วยปัญญา คือมีจิตเรียบตรงเที่ยงธรรมดุจตราชู ไม่เอนเอียงด้วยรักและชัง พิจารณาเห็นกรรมที่สัตว์ทั้งหลายกระทำแล้ว อันควรได้รับผลดีหรือชั่ว สมควรแก่เหตุอันตนประกอบ พร้อมที่จะวินิจฉัยและปฏิบัติไปตามธรรม รวมทั้งรู้จักวางเฉยสงบใจมองดู ในเมื่อไม่มีกิจที่ควรทำ เพราะเขารับผิดชอบตนได้ดีแล้ว เขาสมควรรับผิดชอบตนเอง หรือเขาควรได้รับผลอันสมกับความรับผิดชอบของตน (คำอธิบายจากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ข้อ [161] พรหมวิหาร ๔)

๓ มัชฌิมาปฏิปทา:

ถูกเข้าใจว่า คือการทำอะไรแต่พอดีๆ

ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป

ไม่ยากเกินไป ไม่ง่ายเกินไป

ไม่สูงเกินไป ไม่ต่ำเกินไป-ทำนองนี้

ข้อเท็จจริง:

หลักธรรมที่เรียกว่า “มัชฌิมาปฏิปทา” นั้น มีพระพุทธพจน์ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตรตรัสไว้ชัดเจน ขออัญเชิญมาเพื่อปรับความเข้าใจให้ถูกต้องดังนี้

……………..

กตมา  จ  สา  ภิกฺขเว  มชฺฌิมา  ปฏิปทา  ตถาคเตน  อภิสมฺพุทฺธา  จกฺขุกรณี  ญาณกรณี  อุปสมาย  อภิญฺญาย  สมฺโพธาย  นิพฺพานาย  สํวตฺตติ  อยเมว  อริโย  อฏฺฐงฺคิโก  มคฺโค  เสยฺยถีทํ  สมฺมาทิฏฺฐิ  สมฺมาสงฺกปฺโป  สมฺมาวาจา  สมฺมากมฺมนฺโต  สมฺมาอาชีโว  สมฺมาวายาโม  สมฺมาสติ  สมฺมาสมาธิ  ฯ  อยํ  โข  สา  ภิกฺขเว  มชฺฌิมา  ปฏิปทา  ตถาคเตน  อภิสมฺพุทฺธา  จกฺขุกรณี  ญาณกรณี  อุปสมาย  อภิญฺญาย  สมฺโพธาย  นิพฺพานาย  สํวตฺตติ  ฯ 

ที่มา: มหาขันธกะ วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๑

พระไตรปิฎกเล่ม ๔ ข้อ ๑๓

คำแปล:

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็มัชฌิมาปฏิปทา (ปฏิปทาสายกลาง) ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้นเป็นไฉน?

มัชฌิมาปฏิปทานั้นได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล คือ-  

สมฺมาทิฏฺฐิ > ปัญญาอันเห็นถูกต้อง ๑

สมฺมาสงฺกปฺโป > ความดำริถูกต้อง ๑

สมฺมาวาจา > เจรจาถูกต้อง ๑

สมฺมากมฺมนฺโต > การงานถูกต้อง ๑

สมฺมาอาชีโว > เลี้ยงชีวิตถูกต้อง ๑

สมฺมาวายาโม > พยายามถูกต้อง ๑

สมฺมาสติ > ระลึกถูกต้อง ๑

สมฺมาสมาธิ > ตั้งจิตมั่นถูกต้อง ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือมัชฌิมาปฏิปทา …

……………..

ส่วนการทำอะไรแต่พอดีๆ ไม่ง่ายไม่ยาก ไม่มากไม่น้อย ไม่บ่อยไม่ห่าง-ที่พูดกันนั่น ท่านเรียกว่า “มัตตัญญุตา” ความรู้จักพอดี

เป็นคนละคำคนละความหมายกับมัชฌิมาปฏิปทา

ทำอะไรแต่พอดีๆ ต้องพูดว่า “มัตตัญญุตา”

ไม่ใช่ “มัชฌิมาปฏิปทา”

……………..

สรุปว่า:

สันโดษ ไม่ใช่ขี้เกียจ

อุเบกขา ไม่ใช่ไม่รับผิดชอบ

มัชฌิมาปฏิปทา ไม่ใช่ทำอะไรแต่พอดีๆ

เห็นโทษของการไม่ศึกษาพระธรรมวินัยกันบ้างหรือยังเจ้าข้า

ขอแรงช่วยกันทำสังคมไทยให้เข้าใจธรรมะถูกต้องกันบ้างเถิดเจ้าข้า

มีงานอื่นจะทำก็ทำไป

แต่การศึกษาและเผยแผ่พระธรรมวินัย ต้องทำด้วยเจ้าข้า

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย

๗ ตุลาคม ๒๕๖๒

๑๗:๔๖

———-

วินย. มหาวคฺโค (๑) – หน้าที่ 17

     [๑๓]  อถโข  ภควา  ปญฺจวคฺคิเย  ภิกฺขู  อามนฺเตสิ  เทฺวเม 

#๑ โป. ม. ยุ. เอวรูปํ ฯ   ๒ สี. ธมฺมาธิคตเมตนฺติ ฯ รา. อพฺภาจิกฺขิตเมตนฺติ ฯ 

#๓ โป. ม. ยุ. อิติสทฺโท ทิสฺสติ ฯ    ๔ โป. ม. ยุ. อญฺญา ฯ  

วินย. มหาวคฺโค (๑) – หน้าที่ 18

ภิกฺขเว  อนฺตา  ปพฺพชิเตน  น  เสวิตพฺพา๑  ฯ  โย  จายํ  กาเมสุ 

กามสุขลฺลิกานุโยโค  หีโน  คมฺโม  โปถุชฺชนิโก  อนริโย  อนตฺถสญฺหิโต  โย  จายํ  อตฺตกิลมถานุโยโค  ทุกฺโข  อนริโย  อนตฺถสญฺหิโต  

เอเต  เต๒   ภิกฺขเว  อุโภ  อนฺเต  อนุปคมฺม  มชฺฌิมา  ปฏิปทา 

ตถาคเตน  อภิสมฺพุทฺธา  จกฺขุกรณี  ญาณกรณี  อุปสมาย  อภิญฺญาย 

สมฺโพธาย  นิพฺพานาย  สํวตฺตติ  ฯ  กตมา  จ  สา  ภิกฺขเว  มชฺฌิมา 

ปฏิปทา  ตถาคเตน  อภิสมฺพุทฺธา  จกฺขุกรณี  ญาณกรณี  อุปสมาย  

อภิญฺญาย  สมฺโพธาย  นิพฺพานาย  สํวตฺตติ  อยเมว  อริโย  อฏฺฐงฺคิโก 

มคฺโค  เสยฺยถีทํ  สมฺมาทิฏฺฐิ  สมฺมาสงฺกปฺโป  สมฺมาวาจา  สมฺมากมฺมนฺโต  สมฺมาอาชีโว  สมฺมาวายาโม  สมฺมาสติ  สมฺมาสมาธิ  ฯ  อยํ  โข  สา  ภิกฺขเว  มชฺฌิมา  ปฏิปทา  ตถาคเตน  อภิสมฺพุทฺธา  จกฺขุกรณี  ญาณกรณี  อุปสมาย  อภิญฺญาย  สมฺโพธาย  นิพฺพานาย  สํวตฺตติ  ฯ 

#๑ อิโต ปรํ สีหลโปตฺถกํ ฐเปตฺวา สพฺพตฺถ กตเม เทฺวติ กเถตุกามตาปุจฺฉา

#ปกฺขิตฺตา ฯ อยมฺปน สีหลโปตฺถกํ อนุวตฺติตฺวา โสธิโตติ เวทิตพฺโพ ฯ  

#๒ สีหลโปตฺถกํ ฐเปตฺวา สพฺพตฺถ โขสทฺโท ทิสฺสติ ฯ อยมฺปน สีหลโปตฺถกํ

#อนุวตฺติตฺวา โสธิโตติ ทฏฺฐพฺโพ ฯ   ๓ พฺยาธีปิ ทุกฺขาติ อิทํ ปทํ วิภงฺเค 

#ทุกฺขสจฺจนิทฺเทสปาลิยํ น อาคตํ เตเนว  

ที่มา: มหาขันธกะ วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๑

พระไตรปิฎกเล่ม ๔ ข้อ ๑๓

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 44

สั่งสอนจักแสดงธรรม   พวกเธอปฏิบัติอยู่ตามที่เราสั่งสอนแล้ว    ไม่ช้าสักเท่าไร

จักทำให้แจ้งซึ่งคุณอันยอดเยี่ยม    อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์    ที่กุลบุตรทั้ง

หลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยถูกต้องต้องการนั้น      ด้วยปัญญาอันยิ่ง

ด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่      พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสามารถให้พระปัญจ-

วัคคีย์ยินยอมได้แล้ว    ลำดับนั้นพระปัญจวัคคีย์    ได้ยอมเชื่อฟังพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า   เงี่ยโสตสดับ   ตั้งจิตเพื่อรู้ยิ่ง.

                              ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

                                      ปฐมเทศนา

           [๑๓]  ลำดับนั้น    พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะพระปัญจวัคดีย์ว่า   ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย  ที่สุด  ๒  อย่างนี้อันบรรพชิตไม่ควรเสพคือ.

           การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย เป็นธรรมอันเลว

เป็นของชาวบ้าน     เป็นของปุถุชน     ไม่ใช่ของพระอริยะ     ไม่ประกอบด้วย

ประโยชน์ ๑.

           การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตน    เป็นความลำบาก    ไม่ใช่ของ

พระอริยะ  ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑.

           ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    ปฏิปทาสายกลาง    ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่าง

นั้นนั่นตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว  ด้วยปัญญาอันยิ่ง   ทำดวงตาให้เกิด   ทำญาณให้เกิด

ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ   เพื่อความรู้ยิ่ง   เพื่อความตรัสรู้  เพื่อนิพพาน.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 45

           ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ก็ปฏิปทาสายกลายที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วย

ปัญญาอันยิ่ง  ทำดวงตาให้เกิด  ทำญาณให้เกิด  ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ

เพื่อความรู้ยิ่ง  เพื่อความตรัสรู้  เพื่อนิพพานนั้น  เป็นไฉน ?

           ปฏิปทาสายกลางนั้น  ได้แก่อริยมรรคมีองค์  ๘  นี้แหละ  คือปัญญาอัน

เห็นถูกต้อง  ๑  ความดำริถูกต้อง  ๑  เจรจาถูกต้อง   ๑  การงานถูกต้อง  ๑  เลี้ยงชีวิตถูกต้อง ๐

พยายามถูกต้อง  ๑  ระลึกถูกต้อง  ๑  ตั้งจิตถูกต้อง  ๑.

           ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  นี้แลคือปฏิปทาสายกลายนั้น  ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว

ด้วยปัญญาอันยิ่ง  ทำดวงตาให้เกิด  ทำญาณได้เกิด  ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ

เพื่อความรู้ยิ่ง  เพื่อความตรัสรู้  เพื่อนิพพาน.

           [๑๔]  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ข้อนี้แลเป็นทุกขอริยสัจ  คือ  ความเกิดก็

เป็นทุกข์  ความแก่ก็เป็นทุกข์  ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์  ความตายก็เป็นทุกข์

ความประจวบด้วยสิ่งที่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์  ความพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รัก

ก็เป็นทุกข์  ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์  โดยย่นย่อ  อุปาทานขันธ์  ๕

เป็นทุกข์

           ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ข้อนี้แลเป็นทุกขสมุทยอริยสัจ  คือตัณหาอันทำ

ให้เกิดอีก  ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน  มีปรกติเพลิดเพลิน

ในอารมณ์นั้น ๆ  คือ  กามตัณหา  ภวตัณหา  วิภวตัณหา.

           ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธอริยสัจ   คือ  ตัณหานั่นแล

ดับ  โดไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ  สละ  สละคืน  ปล่อยไป  ไม่พัวพัน.

           ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ  คือ

อริยมรรคมีองค์  ๘  นี้แหละ  คือ  ปัญญาเห็นถูกต้อง ๑. . .  ตั้งจิตถูกต้อง  ๑.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 46

           [๑๕]   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา  ญาณ  ปัญญา   วิชชา  แสงสว่างได้

เกิดขึ้นแล้ว แก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า   นี้ทุกขอริยสัจ.

           ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ดวงตา   ญาณ   ปัญญา  วิชชา  แสงสว่าง  ได้เกิด

ขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า      ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล

ควรกำหนดรู้.

           ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ดวงตา   ญาณ   ปัญญา   วิชชา   แสงสว่าง   ได้เกิด

เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า     ทุกขอริยสัจนี้นั้น

แล   เราก็ได้กำหนดรู้แล้ว.

           ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ดวงตา  ญาณ  ปัญญา  วิชชา  แสงสว่าง  ได้เกิด

ขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า   นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ.

           ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ดวงตา  ญาณ  ปัญญา  วิชชา      แสงสว่าง  ได้เกิด

ขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า  ทุกขสมุทยอริยสัจนี้นั้น

แล   ควรละเสีย.

           ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ดวงตา  ญาณ  ปัญญา  วิชชา  แสงสว่าง  ได้เกิด

ขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า  ทุกขสมุทยอริยสัจนี้นั้น

แล    เราได้ละแล้ว.

           ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ดวงตา  ญาณ  ปัญญา  วิชชา  แสงสว่าง  ได้เกิด

ขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า   นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ.

           ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา  วิชชา  แสงสว่างได้เกิดขึ้น

แล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า  ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล

ควรทำให้แจ้ง.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 47

           ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ดวงตา  ญาณ  ปัญญา  วิชชา  แสงสว่าง  ได้เกิด

ขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า  ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้น

แล    เราทำให้แจ้งแล้ว.

           ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ดวงตา  ญาณ  ปัญญา  วิชชา  แสงสว่าง  ได้เกิด

ขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า     นี้ทุกขนิโรธคามินี-

ปฏิปทาอริยสัจ.                                                                         

           ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ดวงตา  ญาณ  ปัญญา  วิชชา  แสงสว่าง  ได้เกิด

ขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า     ทุกขนิโรธคามินีปฏิ

ปทาอริยสัจนี้นั้นแล   ควรให้เจริญ.                                                     

           ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ดวงตา  ญาณ  ปัญญา  วิชชา  แสงสว่าง  ได้เกิด

ขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า     ทุกขนิโรธคามินีปฏิ

ปทาอริยสัจนี้นั้นแล   เราให้เจริญแล้ว.                                               

                       ญาณทัสสนะมีรอบ  ๓  มีอาการ  ๑๒

           [๑๖]  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเราใน

อริยสัจ ๔ นี้   มีรอบ  ๓  มีอาการ  ๑๒  อย่างนี้   ยังไม่หมดจดดีแล้ว    เพียงใด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   เรายังยืนยันไม่ได้ว่า   เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ   อัน

ยอดเยี่ยมในโลก  พร้อมทั้งเทวโลก  มารโลก  พรหมโลก  ในหมู่สัตว์  พร้อมทั้ง

สมณะพราหมณ์  เทวดาและมนุษย์   เพียงนั้น.

           ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ก็เมื่อใดแล  ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเรา

ในอริยสัจ ๔ นี้    มีรอบ  ๓  มีอาการ  ๑๒   อย่างนี้    หมดจดดีแล้ว    ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลายเมื่อนั้น   เราจึงยืนยันได้ว่า   เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ   อันยอด

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 48

เยี่ยมในโลก  พร้อมทั้งเทวโลก  มารโลก  พรหมโลก  ในหมู่สัตว์  พร้อมทั้ง

สมณะ  พรามหณ์  เทวดา  และมนุษย์.

           อนึ่ง   ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า    ความพันวิเศษของเรา

ไม่กลับกำเริบ  ชาตินี้เป็นที่สุด  ภพใหม่ไม่มีต่อไป.

           ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่  ดวงตาเห็นธรรม

ปราศจากธุลี    ปราศจากมลทิน  ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า   สิ่งใดสิ่ง

หนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา   สิ่งนั้นทั้งมวล    มีความคับเป็นธรรมดา.

           [๑๗]   ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว

เหล่าภุมมเทวดาได้บันลือเสียงว่า  นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม   พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว    ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน    เขตพระนคร-

พาราณสี   อันสมณะ  พราหมณ์   เทวดา   มาร   พรหม   หรือใคร ๆ  ในโลก

จะปฏิวัติไม่ได้.

           เทวดาชั้นจาตุมหาราช   ได้ยินเสียงของพวกภุมมเทวดาแล้ว   ก็บันลือ

เสียงต่อไป.

           เทวดาชั้นดาวดึงส์   ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชแล้ว   ก็

บันลือเสียงต่อไป.

           เทวดาชั้นยามา . . .

           เทวดาชั้นดุสิต. . .

           เทวดาชั้นนิมมานรดี . . .

           เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี . . .

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 49

           เทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหมได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นปรนิมมิต-

วสวัตดีแล้ว  ก็บันลือเสียงต่อไปว่า   นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม    พระผู้มี

พระภาคเจ้า   ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว  ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน  เขตพระ

นครพาราณสี  อันสมณะ  พราหมณ์  เทวดา  มาร   พรหม   หรือใคร ๆ ใน

โลก   จะปฏิวัติไม่ได้.

           ชั่วขณะกาลครู่หนึ่งนั้น    เสียงกระฉ่อนขึ้นไปจนถึงพรหมโลกด้วย

ประการฉะนั้นแล.

           ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้ได้หวั่นไหวสะเทือนสะท้าน  ทั้งแสงสว่างอันยิ่งใหญ่

หาประมาณมิได้   ปรากฏแล้วในโลกล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย.

           ลำดับนั้น     พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งพระอุทานว่า     ท่านผู้เจริญ

โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ  ท่านผู้เจริญ  โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ   เพราะเหตุ

นั้น  คำว่า  อัญญาโกณฑัญญะนี้  จึงได้เป็นชื่อของท่านพระโกณฑัญญะ   ด้วย

ประการฉะนี้.

                                 ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร  จบ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *