บทความเกี่ยวกับศาสนา-ภาษา-สังคม

รู้ทันภาษาเพื่อรักษาพระศาสนา

รู้ทันภาษาเพื่อรักษาพระศาสนา

——————————-

อ่านหนังสือเก่าๆ เราจะพบเห็นข้อความสำนวนหนึ่งว่า –

……………………………………..

บำเพ็ญทานศีลภาวนาไปจนกราบเท้าเข้าสู่พระนิพพาน — 

……………………………………..

ถ้าอ่านตามที่ตาเห็น คนสมัยนี้จะนึกภาพออกมาเป็น-ใครคนหนึ่งกำลังก้มกราบลงไปแทบเท้าของผู้ที่ตนเคารพนับถือเพื่ออำลาไปสู่นิพพาน-ซึ่งอาจจะตีความว่า-คือลาตาย 

แล้วอาจจินตนาการต่อไปว่า-ก็คงแบบเดียวกับกรณีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่หรือผู้มีฐานันดรศักดิ์ใหญ่ เมื่อสิ้นชีวิตลง ญาติจะต้องทำหนังสือกราบถวายบังคมลาถึงแก่ … (ตามฐานะของผู้ตาย เช่นถึงแก่อสัญกรรมเป็นต้น) ไปถึงพระมหากษัตริย์

พูดภาษาชาวบ้านก็ว่า แม้จะตายก็ต้องทำหนังสือขอลาตาย

กราบเท้าเข้าสู่พระนิพพาน” มีความหมายเช่นว่านี้ ใช่หรือไม่?

ตอบว่า มิใช่เช่นนั้นเลย 

ถ้ารู้หลักที่ไปที่มา ก็จะเข้าใจภาษาเดิมได้ถูกต้อง 

ภาษาเดิมคำนี้มาจากสำนวนบาลีว่า “ยาว นิพฺพานํ” (ยา-วะ นิบ-พา-นัง) แปลตามศัพท์ว่า “ตราบเท่าพระนิพพาน” หมายถึง จนกว่าจะบรรลุพระนิพพาน 

หมายความว่า ผู้นับถือพระพุทธศาสนาได้ตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรมตลอดไปทุกภพทุกชาติจนกว่าจะบรรลุพระนิพพานอันเป็นเป้าหมายในพระพุทธศาสนา 

เมื่อบรรลุพระนิพพานแล้วก็เป็นอันว่าจบ สำนวนบาลีว่า “จบพรหมจรรย์” (วุสิตํ พฺรหฺมจริยํ) หรือ “เสร็จกิจ” (กตํ กรณียํ) ไม่ต้องปฏิบัติธรรมเพื่อจะบรรลุอะไรอีก ทำสิ่งที่ควรทำไปตามควรตามหน้าที่จนกว่าจะหมดอายุ

คำว่า “ตราบ..” โบราณออกเสียงเป็น “กราบ..” ทำนองเดียวกับคำ เต่า อื่นๆ อีกหลายคำ เช่น – 

ผ้าไตร = ผ้าไกร 

ไตรปิฎก = ไกรปิฎก 

รอก = รอก 

จำตรวน = จำกรวน 

รมรอม = รมรอม 

ดังนั้น “ราบเท่า” จึงเป็น “ราบเท่า”

ตราบเท่าพระนิพพาน” จึงเป็น “กราบเท่าพระนิพพาน

ต่อจาก “กราบเท่า” คำไทยคำนี้ก็งอกออกไปอีกตามวิสัยคนไทยที่ชอบต่อเติมดัดแปลง “กราบเท่าพระนิพพาน” แปลงและขยายออกเป็น “กราบเท้าเข้าสู่พระนิพพาน”

ภาษาเดิมบอกแค่ “ตราบเท่าพระนิพพาน” คือ “ยาว นิพฺพานํ” = จนกว่าจะบรรลุพระนิพพาน

ไม่ได้บอกว่าไป “กราบเท้า” ใครใดทั้งสิ้น

……………………………………

เรื่องนี้จึงเป็นคติเตือนใจว่า คำเก่า ภาษาเก่า ถ้าไม่ศึกษาสอบสวนให้ถ้วนทั่ว เอาแต่ความเข้าใจแบบสมัยใหม่เข้าไปจับท่าเดียว ก็จะเป็นเหตุให้เข้าใจคลาดเคลื่อนไปได้มาก 

แล้วถ้าเอาความเข้าใจคลาดเคลื่อนนั้นไปบอกกล่าวเผยแพร่ต่อไปอีก-ดังที่สมัยนี้มีช่องทางทำได้ง่ายและแพร่หลายได้มากได้เร็ว-ความคลาดเคลื่อนนั้นก็จะระบาดออกไปจนถึงขั้น-ทำลายความหมายเดิม และก่อความหมายใหม่ขึ้นมาแทน 

……………………………………

ตัวอย่างเช่นคำว่า “แกง” ในภาษาไทย เดิมแท้ๆ นั้นหมายถึง “กับข้าว” ทุกชนิดบรรดาที่กินพร้อมกับ “ข้าว” เราเรียกว่า “แกง” ทั้งหมด ดังคำว่า “ข้าวหม้อแกงหม้อ” ซึ่งหมายถึง ข้าวหม้อหนึ่งและกับข้าวอีกหม้อหนึ่งหรือกับข้าวอีกอย่างหนึ่งซึ่งจะเป็นอะไรก็ได้ (นิยมพูดในกรณีบอกบุญขอให้ชาวบ้านนำอาหารบ้านละอย่างสองอย่างไปเลี้ยงคนที่มาชุมมุมช่วยงานกันในวัดเนื่องจากวัดไม่ได้ตั้งโรงครัว)

กรณีเช่นว่านี้ ใครอายุมากหน่อยคงยืนยันได้ เราเคยพูดกันว่า “ขอข้าวหม้อแกงหม้อ”

แต่ตกมาถึงวันนี้ เพราะไม่ศึกษาและรักษาความหมายเดิมไว้ให้มั่นคง คำว่า “แกง” เป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่าหมายถึง “กับข้าวประเภทที่เป็นนํ้า มีชื่อต่าง ๆ ตามวิธีปรุงและเครื่องปรุง เช่น แกงจืด แกงเผ็ด แกงส้ม” (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยฯ) เท่านั้น 

ถ้าไม่ใช่ “กับข้าวประเภทที่เป็นนํ้า” จะเรียกว่า “แกง” ไม่ได้ ใครไปเรียกเข้าถือว่าไม่รู้เรื่อง กลายเป็นผิดไป

คำว่า “กราบเท้าเข้าสู่พระนิพพาน” นี่ก็เช่นเดียวกัน ถ้าไม่ศึกษา สืบสวน สืบทอดกันให้ดี คนรุ่นใหม่จะเข้าใจความหมายแบบเข้ารกเข้าพงไปคนละเรื่องได้แน่ๆ 

อนึ่ง ขออนุญาตดักคอไว้ก่อนว่า เรื่องแบบนี้ขอกรุณาอย่ามาชวนให้คิดว่า-ทุกอย่างเป็นอนิจจัง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น 

แต่ควรชวนกันให้รู้เท่าและรู้ทัน โดยเฉพาะคือรู้ว่าควรทำอะไรอย่างไร 

มิเช่นนั้นเราจะถูกแนวคิด “ทุกอย่างเป็นอนิจจัง” ครอบงำจนไม่คิดจะทำอะไร ไม่คิดจะแก้ปัญหาอะไร ในที่สุดก็เลยทำอะไรไม่เป็น นอกจากท่องคาถา “ทุกอย่างเป็นอนิจจัง” ลอยตามน้ำไปวันๆ จนไม่เหลืออะไรที่เป็นสมบัติของตัวเอง-รวมทั้งพระศาสนาที่ตนนับถือนั่นเองด้วย 

พลเรือตรี ทองย้อย แสงสินชัย

๒๐ มกราคม ๒๕๖๕

๑๗:๔๔

……………………………………….

รู้ทันภาษาเพื่อรักษาพระศาสนา

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *