บทความเรื่อง บอกบุญอุโบสถ
บอกบุญอุโบสถ (๑๓)
——————-
อุโบสถสูตร (๗)
ปาณํ น หญฺเญ น จาทินฺนมาทิเย
มุสา น ภาเส น จ มชฺชโป สิยา
อพฺรหฺมจารา วิรเมยฺย เมถุนา
รตฺตึ น ภุญฺเชยฺย วิกาลโภชนํ.
บุคคลไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงลักทรัพย์
ไม่พึงพูดเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา
พึงงดเว้นเมถุนอันมิใช่พรหมจรรย์
ไม่พึงบริโภคโภชนะในเวลาวิกาล
มาลํ น ธาเร น จ คนฺธมาจเร
มญฺเจ ฉมายํ ว สเยถ สนฺถเต
เอตญฺหิ อฏฺฐงฺคิกมาหุโปสถํ
พุทฺเธน ทุกฺขนฺตคุนา ปกาสิตํ.
ไม่พึงทัดทรงดอกไม้ ไม่พึงลูบไล้ของหอม
และพึงนอนบนเตียง บนพื้นที่ปูลาด
อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล ท่านว่า
พระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดทุกข์ทรงประกาศไว้
จนฺโท จ สูโร จ อุโภ สุทสฺสนา
โอภาสยนฺตา อนุยนฺติ ยาวตา
ตโมนุทา เต ปน อนฺตลิกฺขคา
นเภ ปภาสนฺติ ทิสาวิโรจนา.
พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสองดวงที่น่าดู
ส่องแสงโคจรกำจัดความมืดอยู่ในท้องฟ้า
เจิดจ้านภากาศ สาดส่องไปทั่วทิศาภาค
มีบริเวณกว้างไกลมากประมาณเท่าใด
เอตมฺหิ ยํ วิชฺชติ อนฺตเร ธนํ
มุตฺตา มณี เวฬุริยญฺจ ภทฺทกํ
สิงฺคีสุวณฺณํ อถวาปิ กาญฺจนํ
ยํ ชาตรูปํ หฏกนฺติ วุจฺจติ
อฏฺฐงฺคุเปตสฺส อุโปสถสฺส
กลฺลมฺปิ เต นานุภวนฺติ โสฬสึ
จนฺทปฺปภา ตารคณา ว สพฺเพ.
ทรัพย์ คือ แก้วมุกดา มณี ไพฑูรย์ อันมีค่า
ทองคำสิงคี กาญจนา และทองธรรมชาติ
บรรดาที่มีเกิดอยู่ในสถานที่ประมาณเท่านั้น
ยังมีค่าไม่ถึงเศษเสี้ยวของบุญอุโบสถ
ดุจหมู่ดาวทั้งหมดสว่างไม่เท่าแสงจันทร์ฉะนั้น
ตสฺมา หิ นารี จ นโร จ สีลวา
อฏฺฐงฺคุเปตํ อุปวสฺสุโปสถํ
ปุญฺญานิ กตฺวาน สุขุทฺรยานิ
อนินฺทิตา สคฺคมุเปนฺติ ญานนฺติ.
เพราะฉะนั้นแล บุรุษสตรีผู้มีศีล
เข้าจำอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ
ทำบุญสุนทร์ทานซึ่งมีสุขเป็นกำไร
ย่อมไม่มีใครจะค่อนว่า มีแต่จะบ่ายหน้าสู่สรวงสถานแล
ที่มา:
อุโบสถสูตร ติกนิบาต อังคุตรนิกาย
พระไตรปิฎกเล่ม ๒๐ ข้อ ๕๑๐
มโนรถปูรณี ภาค ๒ หน้า ๓๒๐-๓๓๑
(บอกบุญอุโบสถยังมีต่อ)
๒๔ มีนาคม ๒๕๖๔
๑๘:๕๗