บาลีวันละคำ

ชาติสิ้นแล้ว – สิ้นชาติแล้ว (บาลีวันละคำ 3,963)

ชาติสิ้นแล้วสิ้นชาติแล้ว

บาลีวันละคำก็มีคำขำๆ ให้คิด

ชาติสิ้นแล้ว” และ “สิ้นชาติแล้ว” เป็นคำไทย แต่มีนัยประหวัดไปถึงคำบาลี

ถ้าอ่านพระไตรปิฎกแปล จะพบวลีหรือประโยคที่แปลไว้ว่า “ชาติสิ้นแล้ว” มากมายหลายแห่ง 

ชาติสิ้นแล้ว” ในพระไตรปิฎกแปลมาจากคำบาลีว่า “ขีณา ชาติ” 

ขีณา ชาติ” อ่านว่า ขี-นา ชา-ติ เป็นคำบาลี 2 คำ คือ “ขีณา” คำหนึ่ง “ชาติ” คำหนึ่ง 

(๑) “ขีณา” 

รูปคำเดิมเป็น “ขีณ” อ่านว่า ขี-นะ รากศัพท์มาจาก ขี (ธาตุ = สิ้นไป) + ปัจจัย, แปลง เป็น แล้วแปลง เป็น

: ขี + = ขีต > ขีน > ขีณ แปลตามศัพท์ว่า “สิ้นแล้ว” หมายถึง ทำลาย, ทำให้หมด, เคลื่อนย้าย, ทำให้เสียเปล่า, สิ้นไป (destroyed, exhausted, removed, wasted, gone)

ขีณ” ใช้เป็นคำขยาย (วิเสสนะ) ของ “ชาติ” ซึ่งเป็นอิตถีลิงค์ จึงเปลี่ยนรูปเป็น “ขีณา

(๒) “ชาติ” 

บาลีอ่านว่า ชา-ติ รากศัพท์มาจาก ชนฺ (ธาตุ = เกิด) + ติ ปัจจัย

กระบวนการทางไวยากรณ์ :

แบบที่ 1 แปลง ชนฺ เป็น ชา : ชน > ชา + ติ = ชาติ

แบบที่ 2 แปลง “” ที่ (ช-)นฺ เป็น อา : (ช) > อา (> + อา) = ชา + ติ = ชาติ

ชาติ” (อิตถีลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “การเกิด” ในภาษาบาลีใช้ในความหมายดังต่อไปนี้ –

(1) การเกิด, การเกิดใหม่, กำเนิด (birth, rebirth, possibility of rebirth)

(2) ชาติกำเนิด, เชื้อชาติ, ชั้น, วงศ์วาน (descent, race, rank, genealogy)

(3) จำพวก, ชนิด (a sort of, kind of)

(4) ตามธรรมชาติ (ตรงข้ามกับของที่ตกแต่งขึ้น); แท้จริง, บริสุทธิ์, วิเศษ (ตรงกันขามกับปนเจือ เลว) (by birth or nature, natural [opp. artificial]; genuine, pure, excellent [opp. adulterated, inferior])

ในภาษาไทย “ชาติ” อ่านว่า ชาด พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้ดังนี้ –

(1) การเกิด, กำเนิด, มักใช้ว่า ชาติเกิด หรือ ชาติกำเนิด เช่น ถ้าทำไม่ดีก็เสียชาติเกิด,

(2) ความมีชีวิตอยู่ตั้งแต่เกิดจนตาย เช่น สบายทั้งชาติ.

(3) เหล่ากอ, เทือกเถา, เผ่าพันธุ์, เช่น ชาตินักรบ ชาติไพร่.

(4) ประเทศ เช่น รู้คุณชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์.

(5) ประชาชนที่เป็นพลเมืองของประเทศ; ประชาชาติ ก็ว่า.

(6) กลุ่มชนที่มีความรู้สึกในเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ประวัติศาสตร์ ความเป็นมา ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมอย่างเดียวกัน หรืออยู่ในปกครองรัฐบาลเดียวกัน.

(7) ชนิด, จําพวก, ชั้น, หมู่.

(8 ) คำเพิ่มข้างหลังของคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้วความหมายคงเดิม เช่น รสชาติ หรือหมายถึงพวกหรือหมู่ เช่น คชาชาติ มนุษยชาติ.

ในที่นี้ “ชาติ” ใช้ในความหมายตามข้อ (1) คือ การเกิด (birth, rebirth) 

ขีณา ชาติ” (ขี-นา ชา-ติ) แปลว่า “ชาติสิ้นแล้ว” หมายถึง ไม่ต้องเวียนตายเวียนเกิดอีกต่อไป (destroyed is the possibility of rebirth = การเกิดใหม่ได้ถูกทำลายแล้ว)

ขยายความ :

ข้อความที่สมบูรณ์ของ “ขีณา ชาติ” ปรากฏในพระสูตรหลายแห่ง นักสวดมนต์ทั้งหลายน่าจะพอระลึกได้

ข้อความที่สมบูรณ์เป็นดังนี้ –

…………..

วิมุตฺตสฺมึ  วิมุตฺตมิติ  ญาณํ  โหติ  ขีณา  ชาติ  วุสิตํ  พฺรหฺมจริยํ  กตํ  กรณียํ  นาปรํ  อิตฺถตฺตายาติ  ปชานาตีติ  ฯ  

…………..

วิมุตฺตสฺมึ  วิมุตฺตมิติ  ญาณํ  โหติ  

เมื่อจิตพ้นแล้วก็รู้ว่าพ้นแล้ว 

ขีณา  ชาติ  

อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว 

วุสิตํ  พฺรหฺมจริยํ  

พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว 

กตํ  กรณียํ  

กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว 

นาปรํ  อิตฺถตฺตายาติ  ปชานาตีติ  ฯ  

ไม่มีกิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้

(ไม่ต้องปฏิบัติอะไรอีกเพื่อให้บรรลุธรรมอย่างนี้ เพราะได้ปฏิบัติจนบรรลุไปเรียบร้อยแล้ว)

ที่มา: อาทิตตปริยายสูตร วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค 1 พระไตรปิฎกเล่ม 4 ข้อ 23

…………..

ส่วนคำว่า “สิ้นชาติแล้ว” ที่เข้าใจและหมายถึงในภาษาไทย มีความหมายว่า บ้านเมืองล่มจมฉิบหายหมดแล้ว ถ้าวาดเป็นภาพสมัยก่อนก็คือ ถูกข้าศึกมาโจมตี ต้องพ่ายแพ้เสียบ้านเสียเมืองเสียเอกราชให้ข้าศึกไปแล้ว 

ความหมายดังกล่าวนี้ ถ้าเป็นสำนวนในข้อสอบบาลีวิชาแต่งไทยเป็นมคธชั้น ป.ธ.9 และถ้านักเรียนบาลีแต่งเป็นคำบาลีว่า “ขีณา  ชาติ” ก็คงต้องสอบใหม่ในปีต่อไป เพราะ “ขีณา  ชาติ” ในบาลีไม่ได้มีความหมายเช่นนี้

สิ้นชาติแล้ว” ตามความหมายที่ว่านี้ ถ้าจะพูดเป็นคำบาลี ควรจะต้องพูดว่า “นฏฺฐํ  รฏฺฐํ” อ่านว่า นัด-ถัง รัด-ถัง

นฏฺฐํ” แปลว่า “ฉิบหายแล้ว

คำกริยาสามัญเป็น “นสฺสติ” อ่านว่า นัด-สะ-ติ แปลว่า ตาย, ฉิบหายหรือถูกทำลาย, หายสูญ, สุดสิ้น (to perish, to be lost or destroyed, to disappear, come to an end)

รฏฺฐํ” แปลว่า “บ้านเมือง” คือที่เราเอามาใช้ว่า “รัฐ” 

ในภาษาบาลี “ชาติ” ไม่ได้หมายถึง “บ้านเมือง” 

คำที่หมายถึง “บ้านเมือง” ในภาษาบาลี คือ “รฏฺฐ

นักเรียนบาลีไม่พึงหลงทาง

นฏฺฐํ  รฏฺฐํ” แปลตรงตัวว่า “บ้านเมืองฉิบหายแล้ว” หรือแปลล้อคำบาลีว่า “สิ้นชาติแล้ว” 

…………..

ดูก่อนภราดา!

: จงเข้าไปรับใช้ชาติ

: อย่าเข้าไปทำให้สิ้นชาติ

#บาลีวันละคำ (3,963)

19-4-66 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *