บทความเกี่ยวกับศาสนา-ภาษา-สังคม

บทความเรื่อง นิพพานกถา

นิพพานกถา ๐๗ : นิพพาน-ธรรมอย่างยิ่งในพระพุทธศาสนา

—————————–

นิพฺพานกถา

พระธรรมปาโมกข์ (วิน ป.๙)

วัดราชผาติการาม พระนคร เรียบเรียง

พ.ศ.๒๕๐๖

…………………………..

(ปรับบรรทัด จัดวรรคตอนใหม่เพื่อให้อ่านง่าย

คงสำนวนไว้ตามต้นฉบับ)

…………………………..

รวมความว่า พระนิพพาน

ว่างจากกิเลส ฯ

ออกจากเครื่องร้อยรัดใจคือกิเลสตัณหา ฯ

ดับไฟคือรัก โกรธ หลง ฯ

เย็นกาย เย็นใจเพราะไฟ ๓ กองนั้นไม่เผาใจ ฯ

หยุดทำความชั่วทุกอย่างทุกประการ ฯ

ปฏิบัติได้ประการใดประการหนึ่ง ก็เป็นอันได้ประสบพระนิพพาน

เช่น ใจว่างจากกิเลส ไม่มีกิเลส ก็ชื่อว่าออก ดับ เย็น หยุด

เมื่อใจออกจากเครื่องร้อยรัดใจได้ ก็ชื่อว่าว่าง ดับ เย็น หยุด

หรือเมื่อดับไฟ ๓ กองได้ ก็ชื่อว่า ว่าง ออก เย็น หยุด

เมื่อเย็นกายเย็นใจ ก็ชื่อว่า ว่าง ออก ดับ หยุด

เมื่อหยุดทำความชั่วโดยประการทั้งปวงได้แล้ว ก็เป็นอันได้ชื่อว่าว่าง ออก ดับ เย็น

เป็นอันถึงพระนิพพาน

สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์จึงตรัสว่า

นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา

พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่าพระนิพพานเป็นธรรมอย่างยิ่ง

เมื่อว่างก็ว่างอย่างยิ่ง

เมื่อดับก็ดับอย่างยิ่ง ดับแล้วไม่เกิดอีก

เมื่อเย็นก็เย็นอย่างยิ่ง ไม่กลับร้อนอีก

เมื่อหยุดก็หยุดอย่างยิ่ง ไม่กลับทำความชั่วอีก

พระนิพพานจึงเป็นธรรมอย่างยิ่งในพระพุทธศาสนา ฯ

(ยังมีต่อ)

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย

๑๔ ตุลาคม ๒๕๖๒

๑๑:

———–

ภาพประกอบ หมายเลข 32-35

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *