บาลีวันละคำ

ปฏิรูป+เทส ไม่ใช่ ปฏิรู+ปเทส (บาลีวันละคำ 3,239)

ปฏิรูป+เทส ไม่ใช่ ปฏิรู+ปเทส

และไม่ใช่ ปฏิรูป+ปเทส

นักเรียนบาลีตลอดจนคนทั่วไป เมื่อพูดคำนี้มักจะลงน้ำหนักของคำผิดที่ คือมักแยกเสียงเป็น ปะติรู + ปฺระเทด ทำให้รู้สึกว่าในคำนี้มีคำว่า “ประเทศ” อยู่ด้วย

ควรเข้าใจให้ถูกว่า คำที่ออกเสียงว่า ปะ-ติ-รู-ปะ-เทด นี้ ไม่มีคำว่า “ปเทส” หรือ “ประเทศ” อยู่ด้วยเลย

คำที่มีอยู่คือ “เทส” หรือ “เทศ” ไม่ใช่ “ปเทส” หรือ “ประเทศ

ขยายความ :

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ปฏิรูป, ปฏิรูป– : (คำวิเศษณ์) สมควร, เหมาะสม, เช่น ปฏิรูปเทส คือ ถิ่นที่สมควร หรือ ถิ่นที่เหมาะสม; เทียม, ไม่แท้, เช่น มิตรปฏิรูป. (คำกริยา) ปรับปรุงให้สมควร เช่น ปฏิรูปบ้านเมือง. (ป.).”

โปรดสังเกตคำที่พจนานุกรมฯ ยกเป็นตัวอย่าง คือ “เช่น ปฏิรูปเทส

ปฏิรูปเทส” เป็นรูปคำบาลี คำที่นิยมยกไปพูดกันคือคำบาลีในมงคลสูตรว่า “ปฏิรูปเทสวาโส ” (ปะ-ติ-รู-ปะ-เท-สะ-วา-โส จะ)

และคำนี้แหละที่มักแปลกันว่า “การอยู่ในประเทศที่สมควร” จึงเท่ากับเป็นการย้ำบอกว่าในที่นี้มีคำว่า “ประเทศ” อยู่ด้วย ทั้งๆ ที่ข้อเท็จจริงก็คือ ในที่นี้มีคำว่า ปฏิรูป + เทส

ในที่นี้ท่านใช้คำว่า “เทส” ไม่ใช่ “ปเทส” ที่เอาไปแปลทับศัพท์ว่า “ประเทศ

เทส” แปลว่า “ถิ่น

ปเทส” แปลทับศัพท์ว่า “ประเทศ

เทส” กับ “ปเทส” เป็นคนละคำกัน

ปฏิรูปเทสวาโส ” จึงต้องแปลว่า “การอยู่ในถิ่นที่สมควร

ไม่ใช่ “การอยู่ในประเทศที่สมควร

ที่แปลว่า “การอยู่ในประเทศที่สมควร” นั้น ถ้าถามว่า เอาคำว่า “ประเทศ” มาจากไหน จะตอบอย่างไร

ถ้าตอบว่าเอามาจากคำว่า “ปเทส” ก็ถามต่อไปว่า “ปฏิรูปเทสวาโส ” คำว่า “ปเทส” อยู่ตรงไหน

ถ้าเผลอลึกเข้าไป ก็จะตอบว่า ก็อยู่ตรงคำว่า “ปฏิรูปเทส-” นั่นไง “-ปเทส” มองเห็นอยู่ชัดๆ

แล้วคำหน้าคือศัพท์ว่าอะไร

ก็ “ปฏิรูป” นั่นไง คำหน้าคือ “ปฏิรูป-”

คำว่า “ปฏิรูปเทส-” มี ปลา กี่ตัว

ตัวเดียว

ตัวเดียว ไปอยู่ในคำว่า “-ปเทส” แล้ว เอา ที่ไหนมาอยู่กับ “ปฏิรูป-”

แล้วถ้าเอา มาอยู่กับ “ปฏิรูป-” แล้ว เอา ที่ไหนไปอยู่ในคำว่า “-ปเทส

คำหน้าต้องเป็น “ปฏิรูป-” คือต้องมี แน่นอน ขาด ก็จะเป็น “ปฏิรู-” ซึ่งบาลีไม่มีศัพท์แบบนี้ แต่คำหลังคือ “-เทส” ไม่ต้องมี ก็ได้ เพราะ “เทส” ในบาลีแปลว่า ถิ่น หรือท้องถิ่น อย่างที่เราเอามาใช้ในภาษาไทย เช่น “เทศบาล” ก็คือ หน่วยปกครองท้องถิ่น

และในคำว่า “ปฏิรูปเทสวาโส ” นี้ ท่านใช้คำว่า “เทส” ไม่ใช่ “ปเทส” ที่แปลทับศัพท์ว่า “ประเทศ

แล้วทำไมจึงไปแปล “ปฏิรูปเทสวาโส ” ว่า “การอยู่ในประเทศที่สมควร” เอาคำว่า “ประเทศ” มาจากไหน

…………..

ที่ต้อง “ไล่” กันอย่างละเอียดให้จนมุมแบบนี้ก็เพื่อที่ว่า เวลาแปลคำนี้หรือพูดถึงเรื่องนี้เราจะได้ฉุกคิด ไม่ใช่พูดผิดอย่างคล่องปาก แล้วก็ยังเข้าใจว่าพูดถูกอยู่นั่นแหละ

อันที่จริง คำว่า “เทส” กับ “ปเทส” มีความหมายใกล้เคียงกันจนอาจจะบอกว่าใช้แทนกันได้ ดังรากศัพท์ที่ขอนำมาแสดงดังนี้ –

(๑) “เทส

บาลีอ่านว่า เท-สะ รากศัพท์มาจาก ทิส (ธาตุ = แสดง, ชี้แจง, ประกาศ) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อิ ที่ ทิ-(สฺ) เป็น เอ (ทิสฺ > เทส)

: ทิสฺ + = ทิสณ > ทิส > เทส แปลตามศัพท์ว่า “ที่แสดงให้รู้” “ที่ประกาศให้ปรากฏ” หมายถึง จุด, หัวข้อ, ส่วน, สถานที่, ภาค, ถิ่น, ประเทศ (point, part, place, region, spot, country)

เทส” ในภาษาไทยใช้ตามรูปสันสกฤตเป็น “เทศ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

เทศ, เทศ-, เทศะ : (คำวิเศษณ์) ต่างประเทศ เช่น เครื่องเทศ ม้าเทศ. (คำนาม) ถิ่นที่, ท้องถิ่น, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส.”

(๒) “ปเทส

บาลีอ่านว่า ปะ-เท-สะ รากศัพท์มาจาก (คำอุปสรรค = ทั่ว, ข้างหน้า, ก่อน, ออก) + ทิส (ธาตุ = แสดง, ชี้แจง) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อิ ที่ ทิ-(สฺ) เป็น เอ (ทิสฺ > เทส)

: + ทิสฺ = ปทิสฺ + = ปทิสณ > ปทิส > ปเทส แปลตามศัพท์ว่า “ส่วนเป็นเหตุปรากฏแห่งหมู่” หมายถึง เครื่องแสดง, ที่ตั้ง, ขอบเขต, แถบ; แดน, จุด, สถานที่ (indication, location, range, district; region, spot, place)

บาลี “ปเทส” สันสกฤตเป็น “ปฺรเทศ” ภาษาไทยใช้อิงสันสกฤตเป็น “ประเทศ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ประเทศ : (คำนาม) บ้านเมือง, แว่นแคว้น, ถิ่นที่อยู่; คำเพิ่มข้างหลังของคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้วความหมายคงเดิม เช่น อุรประเทศ หทัยประเทศ. (ส. ปฺรเทศ; ป. ปเทส).”

แถม :

การที่มักแปล “ปฏิรูปเทสวาโส ” ว่า “การอยู่ในประเทศที่สมควร” น่าจะเป็นเพราะเสียงที่อ่านว่า ปะ-ติ-รู-ปะ-เทด นั้นหลอกความรู้สึกหรือที่กล่าวข้างต้นว่า ลงน้ำหนักของคำผิดที่ คือเสียงอ่านนั้นชวนให้ไปนึกว่ามีคำว่า “ปเทส” อยู่ในคำนี้ เวลาแปลจึงเอาคำนั้นมาทับศัพท์ว่า “ประเทศ” โดยไม่ทันระวัง

ถ้าไม่ระวังสังเกตกันให้ดี ต่อไปผิดก็จะกลายเป็นถูกไปอีกคำหนึ่ง

อาจจะมีคนออกมาอิบายแก้ต่างให้ว่า “เทส” กับ “ปเทส” ก็หมายถึงสิ่งเดียวกันนั่นแหละ ใช้แทนกันได้ จะมาคิดเล็กคิดน้อยอะไรกันนักหนา

ถ้าอ้างเหตุผลกันอย่างนี้ แล้วยอมรับกันว่าเป็นเหตุผลที่ถูกต้อง ต่อไปหลักพระธรรมวินัยก็เพี้ยนหมด

พึงระลึกว่า บาลีเป็นภาษาที่ละเอียด เรียนบาลีจึงเป็นโอกาสที่จะฝึกฝนตนเองให้เป็นคนละเอียด

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ใช้คำพูดผิดเป็นเรื่องธรรมดา อาจเป็นกันได้ทุกคน

: พยายามแก้ไขที่ผิดให้ถูกก็เป็นเรื่องธรรมดา อาจทำกันได้ทุกคน

#บาลีวันละคำ (3,239)

25-4-64

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *