โพธิสตฺต (บาลีวันละคำ 79)
โพธิสตฺต
อ่านว่า โพ-ทิ-สัด-ตะ
ใช้ในภาษาไทยวา “โพธิสัตว์” (โพ-ทิ-สัด)
หมายถึงท่านผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า และกำลังบำเพ็ญบารมี 30 ทัศอยู่
การจะได้เป็น “โพธิสัตว์” ต้องตั้งความปรารถนา โดยมีคุณสมบัติ 8 ประการ ดังนี้ –
1. เมื่อตั้งความปรารถนา ต้องเป็นมนุษย์ (มนุสฺสตฺตํ)
2. เป็นเพศชาย (ลิงฺคสมฺปตฺติ)
3. สามารถจะบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ได้ในชาติที่ตั้งความปรารถนานั้น (เหตุ)
4. ได้พบพระพุทธเจ้าและได้รับพยากรณ์ว่าจะสำเร็จ (สตฺถารทสฺสนํ)
5. ในขณะที่ตั้งความปรารถนา กำลังอยู่ในเพศภิกษุ สามเณร หรือนักบวชที่เป็นสัมมาทิฐิ (ปพฺพชฺชา)
6. สำเร็จฌานสมาบัติและอภิญญามาแล้ว (คุณสมฺปตฺติ)
7. ประกอบกุศลกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งถึงขั้นสละชีวิต (อธิกาโร)
8. ปรารถนาพุทธภูมิ คือพอใจที่จะเป็นพระพุทธเจ้า (ฉนฺทตา)
อย่าเรียกใครว่า “พระโพธิสัตว์” ง่ายๆ ถ้ายังไม่รู้ว่าเขามีคุณสมบัติครบถ้วนหรือเปล่า
บาลีวันละคำ (79)
24-7-55
โพธิสตฺต = โพธิสัตว์ (ศัพท์วิเคราะห์)
– ยาถาวโต เญยฺยํ พุชฺฌตีติ โพธิ, โส เอว สตฺติโยคโต โพธิสตฺโต ผู้รู้เญยยธรรมอย่างแท้จริง เพราะประกอบด้วยความสามารถ (โพธิ + สตฺต)
– มหาภินีหารกตกาลโต ปฏฺฐาย เอกนฺตนินฺนตฺตา โพธิมฺหิ สตฺโต โพธิสตฺโต ผู้ติดข้องผูกพันอยู่ในพระโพธิญาณ โดยน้อมเข้าหาอย่างเด็ดเดี่ยว (โพธิ + สตฺต)
โพธิ (บาลี-อังกฤษ)
(อิต.) (จาก พุธฺ, เทียบ เวท. โพธินฺ-มนสฺ มีจิตที่ระวังระไว (ตั้งใจ) fr. budh, cp. Vedic bodhin-manas having an attentive mind; RV v.75, 5; viii.82, 18)
ความรู้ (อันยอดเยี่ยม), การตรัสรู้, ความรู้ที่พระพุทธเจ้าทรงมี (supreme) knowledge, enlightenment, the knowledge possessed by a Buddha (see also sambodhi & sammā — sambodhi) M i.356;
โพธิสตฺต
(๑) “โพธิสัตว์”, คือ สัตว์ผู้มีกำหนดไว้ว่าจะต้องตรัสรู้ หรือถึงซึ่งความเป็นพระพุทธเจ้า. พระโพธิสัตว์ต้องบำเพ็ญบารมีมามากมายหลายชาติก่อนถึงชาติสุดท้าย ซึ่งพระองค์สำเร็จตามชะตาชีวิตที่สำคัญ a “bodhi-being,” i. e. a being destined to attain fullest enlightenment or Buddhaship. A Bodhisatta passes through many existences & many stages of progress before the last birth in which he fulfils his great destiny.
(๒) ชื่อของแต่งบาลีไวยากรณ์ที่ใช้โดยกัจจายนะ (ไม่มีอยู่เสียแล้ว) N. of the author of a Pali grammar, used by Kaccāyana (not extant): see Windisch, Proceedings of XIVth Or. Congress, Vol. i.290.
โพธิสัตว์ (ประมวลศัพท์)
ท่านผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งกำลังบำเพ็ญบารมี ๑๐ คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา
โพธิสัตว์
น. ท่านผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า. (ส. โพธิสตฺตฺว; ป. โพธิสตฺต).
อธิบายหญิงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้นไม่ได้
ในข้อว่า ยํ อิตฺถี อรหํ อสฺส สมฺมาสมฺพุทฺโธ (แปลว่าหญิงจะ
พึงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า) นี้ อธิบายว่า ความเป็นพระพุทธเจ้าผู้
สามารถข้ามโลกเพราะยังคุณคือ สัพพัญญู ให้เกิดขึ้นนั้น จงยกไว้ก่อน แม้
เหตุสักว่าการตั้งปณิธาน (การตั้งความปรารถนา) ก็ย่อมไม่สำเร็จแก่หญิง.
มนุสฺสตฺตํ ลิงฺคสมฺปตฺติ เหตุ สตฺถารทสฺสนํ
ปพฺพชฺชา คุณสมฺปตฺตํ อธิกาโร จ ฉนฺทตา
อฏฺํธมฺมสโมธานา อภินีหาโร สมิชฺฌติ
แปลว่า
จริงอยู่ เหตุอันเป็นปณิธานสมบัติเหล่านี้ คือ อภินีหาร (ความ
ปรารถนาดังใจจริง) ย่อมสำเร็จพร้อมเพราะธรรมสโมธาน (การประชุมแห่ง
ธรรม) ๘ ประการ คือ
๑. มนุสฺสตฺตํ (เมื่อตั้งความปรารถนา ต้องเป็นมนุษย์)
๒. ลิงฺคสมฺปตฺติ (ลิงคสมบัติคือเป็นเพศชาย)
๓. เหตุ (มีเหตุคือสร้างกุศลมาก สมควรจะเป็นพระอรหันต์
ได้)
๔. สตฺถารทสฺสนํ (พบพระพุทธเจ้าและได้รับพยากรณ์)
๕. ปพฺพชฺชา (บวชเป็นภิกษุ สามเณร หรือฤาษีผู้เป็น
กัมมวาที)
๖. คุณสมปตฺติ (บริบูรณ์ด้วยคุณ คือ ฌานสมาบัติและ
อภิญญา)
๗. อธิกาโร (การกระทำกุศลอันยิ่งใหญ่)
๘. ฉนฺทตา (พอใจในโพธิญาณ)
ความตั้งปณิธานปรารถนาเพื่อให้ถึงความเป็นพระสัมพุทธเจ้าได้ด้วย
อาการอย่างนี้ ความเป็นพระพุทธเจ้าของหญิงผู้ไม่สามารถจักมีแต่ที่ไหน
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ข้อที่หญิงจะพึงเป็นพระ
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส ดังนี้. อีกอย่าง
หนึ่ง ธรรมเครื่องอาศัยคือบุญ ย่อมบริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ย่อมยังอัตภาพ
อันเต็มด้วยอาการทั้งปวงนั่นแหละให้เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น บุรุษเท่านั้น
ย่อมเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ มิใช่หญิง.
อรรถกถาวิภังค์
พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล เล่ม ๗๘ หน้า ๗๐๒