บาลีวันละคำ

สิริธมฺม (บาลีวันละคำ 105)

สิริธมฺม

อ่านว่า สิ-ริ-ทำ-มะ

สิริ” ในภาษาไทยนิยมออกเสียงว่า สิ-หฺริ ใช้ในรูปสันสกฤตเป็น “ศรี” (สี)

สิริ” แปลตามรากศัพท์ว่า “สิ่งอันผู้ทำความดีไว้ได้สัมผัส” หรือ “สิ่งที่อาศัยอยู่ในบุคคลผู้ทำความดีไว้

สิริศรี” ตรงกับภาษาอังกฤษว่า glory, glorious มีความหมายว่า มิ่ง, สิริมงคล, ความรุ่งเรือง, ความสว่างสุกใส, ความงาม, ความเจริญ, โชค, ความมีเดช, และเป็นนามของเทพธิดาแห่งโชคลาภ

จังหวัดนครศรีธรรมราชนั้น เอกสารเก่าเรียกเป็นคำบาลี “สิริธมฺมนคร” มีตำนานว่าพระเจ้า “ศรีธรรมาโศกราช” ทรงสร้างเป็นอาณาจักรขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 17 นครศรีธรรมราชจึงมีความหมายว่า “เมืองของพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช”

สิริ + ธมฺม = สิริธมฺม

ในคัมภีร์ไขความคำ “สิริธรรม” ว่าคือ “โลกุตรธรรม” ซึ่งหมายถึงมรรคผลนิพพาน

คำว่า “สิริธมฺมศรีธรรม” จึงไม่ใช่คำธรรมดา

นครศรีธรรมราช” จึงเป็นชื่อเมืองที่มีความหมายไม่ธรรมดา

บาลีวันละคำ (105)

21-8-55

นอกเฟรม

นคร + ศรี + ธรรม + ราช = นครศรีธรรมราช

นคร = เมือง

ศรี = มิ่ง, สิริมงคล, ความรุ่งเรือง, ความสว่างสุกใส, ความงาม, ความเจริญ

ธรรม = คุณความดี

ศรีธรรม = สิริธรรม = โลกุตรธรรม, มรรคผลนิพพาน

ราช = พระราชา

นครศรีธรรมราช = เมืองแห่งพระราชาผู้ทรงธรรมอันเป็นมิ่งขวัญ

สิริธมฺมปฺปกาสโนติ  โลกุตฺตรธมฺมปฺปกาสโน

(มธุรัตถวิลาสินี หน้า 472)

สิริ = ศรี, โชค (ศัพท์วิเคราะห์)

กตปุญฺเญหิ เสวียเตติ สิริ สิ่งอันผู้ทำความดีไว้ได้ซ่องเสพ

สิ ธาตุ ในความหมายว่าเสพ คบหา, ร ปัจจัย, อิ อิตถีลิงค์

กตปุญฺญปุคฺคเล  นิสฺสิยตีติ สิริ สิ่งที่อาศัยอยู่ในบุคคลผู้ทำความดีไว้

สิ ธาตุ ในความหมายว่าอาศัย, ร ปัจจัย, อิ อิตถีลิงค์

สิรี (สิริ) (บาลี-อังกฤษ)

๑ ความสวยสดงดงาม, ความสวยงาม

๒ โชค,ศรี, ความมีเดช, ความรุ่งเรือง Glorious

๓ เทพธิดาแห่งโชคลาภ

ห้องบรรทม (สิริคพฺภ สิริสยน)

สิริ ๑

  ก. ผสม เช่น สามีภรรยาสิริอายุเข้าด้วยกัน ๑๕๐ ปี, รวม เช่น สิริอายุได้ ๗๒ ปี.

สิริ ๒, สิรี

  น. ศรี, มิ่งขวัญ, มงคล, เช่น สิริราชสมบัติ, มักใช้เข้าคู่กับคำ มงคล เป็น สิริมงคล; สวย, งาม, เช่น ทรงมีพระสิริโฉม. (ป.; ส. ศฺรี).

ศรี ๑

  [สี] น. มิ่ง, สิริมงคล, ความรุ่งเรือง, ความสว่างสุกใส, ความงาม, ความเจริญ, เช่น ศรีบ้าน ศรีเรือน ศรีเมือง, ใช้นำหน้าคำบางคำเป็นการยกย่อง เช่น พระศรีรัตนตรัย วัดพระศรีรัตนศาสดาราม. (ส. ศฺรี; ป. สิริ, สิรี).

ศรี ๒

  [สี] น. พลู. (ม.); (ราชา) หมากพลู เรียกว่า พระศรี.

ศรี ๓

  [สี] น. ผู้หญิง. (ข. สี).

ศรี ๔

  [สี] (กลอน) น. ลักษณนามใช้แก่คน เช่น พระปิตุราชมาตุรงค์ทรงพระสรวล เห็นสมควรคู่ครองกันสองศรี. (อภัย).

ตำนาน

ตามตำนานกล่าวว่า พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชทรงสร้างอาณาจักรขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ปรากฏชื่อในศิลาจารึกว่า ตามพรลิงค์ อาณาจักรนี้เจริญรุ่งเรืองมาก ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ ได้แผ่อำนาจออกไปปกครองหัวเมืองต่าง ๆ ใช้ตรารูปสัตว์เป็นตราของเมืองนั้น ๆ ทำนอง ๑๒ นักษัตร คือ ๑. เมืองสาย (บุรี) ถือตราหนู (ชวด) ๒. เมืองปัต (ตานี) ถือตราวัว (ฉลู) ๓. เมืองกลันตัน ถือตราเสือ (ขาล) ๔. เมืองปะหัง ถือตรากระต่าย (เถาะ) ๕. เมืองไทร (บุรี) ถือตรางูใหญ่ (มะโรง) ๖. เมืองพัทลุง ถือตรางูเล็ก (มะเส็ง) ๗. เมืองตรัง ถือตราม้า (มะเมีย) ๘. เมืองชุมพร ถือตราแพะ (มะแม) ๙. เมืองบัน-ทายสมอ ถือตราลิง (วอก) ๑๐. เมืองสอุเลา ถือตราไก่ (ระกา) ๑๑. เมืองตะกั่วป่า ถือตราหมา (จอ) ๑๒. เมืองกระ (บุรี) ถือตราหมู (กุน) ในสมัยสุโขทัย ปรากฏตามศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชว่าเมืองนครศรีธรรมราชเป็นเมืองประเทศราชขึ้นกรุงสุโขทัย ถึงสมัยอยุธยา เมืองนครศรีธรรมราชมีฐานะเป็นเมืองเอก ปกครองดูแลดินแดนส่วนต่าง ๆ ทางใต้

คำว่า สิริ + ธมฺม ในคัมภีร์

โกนาคมนพุทฺธวโส

[๒๔] …

        ธมฺมเจติย ๒ สมุสฺสิตฺวา      ธมฺมทุสฺสวิภูสิต  ๒ ม. ธมฺมเจตึ สมุสฺเสตฺวา ฯ

        ธมฺมปุปฺผคุฬ กตฺวา           นิพฺพุโต โส สสาวโก ฯ 

        มหาวิลาโส ตสฺส ชโน        สิริธมฺมปฺปกาสโน 

        สพฺพ สมนฺตรหิต             นนุ ริตฺตา สพฺพสงฺขาราติ ฯ 

        โกนาคมโน สมฺพุทฺโธ         ปพฺพตารามมฺหิ นิพฺพุโต 

        ธาตุวิตฺถาริก อาสิ           เตสุ เตสุ ปเทสโตติ ฯ 

                  โกนาคมนพุทฺธวโส เตวีสติโม ฯ 

     ทรงยกธรรมเจดีย์อันประดับด้วยผ้าคือธรรม

ขึ้นแล้ว ทรงร้อยพวงดอกไม้คือธรรมเสร็จแล้ว เสด็จนิพพานพร้อม

ด้วยพระสาวก พระองค์มีพระลีลาอันใหญ่มีธรรมอันเป็นสิริเป็นเครื่อง

ปรากฏ สิ่งทั้งปวงหายไปหมดแล้ว สังขารทั้งปวงว่างเปล่าหนอ พระ

โคนาคมนสัมพุทธเจ้า เสด็จนิพพาน ณ ปัพพตาราม พระธาตุของ

พระองค์แผ่กว้างไปในประเทศนั้นๆ ฉะนี้แล.

จบโกนาคมนพุทธวงศ์ที่ ๒๓

   พระองค์ทั้งพระสาวก  ทรงยกธรรมเจดีย์ที่ประดับ

         ด้วยธงผ้าคือธรรม    ทรงทำพวงมาลัยดอกไม้คือธรรม

        แล้วดับขันธปรินิพพาน.

                พระสงฆ์สาวกของพระองค์พิลาสด้วยฤทธิ์ยิ่ง

         ใหญ่  พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมอันเป็น

         สิริ  ทั้งนั้น    ก็อันตรธานไปสิ้น  สังขารทั้งปวงก็ว่าง

          เปล่า   แน่แท้

                พระโกนาคมนสัมพุทธเจ้า  ปรินิพพาน  ณ พระ-  

         วิหารปัพพตาราม.   พระบรมสารีริกธาตุ  แผ่กระจาย

        ไปเป็นส่วน  ๆ  ณ ที่นั้น ๆ แล.

                จบวงศ์พระโกนาคมนพุทธเจ้าที่  ๒๓

พุทฺธวโส

พระไตรปิฎกเล่ม ๓๓ หน้า ๕๓๗

ธมฺมเจตึ สมุสฺเสตฺวาติ  สตฺตตฺตึสโพธิปกฺขิยธมฺมมย 

เจติย  ปติฏฺาเปตฺวา ฯ  ธมฺมทุสฺสวิภูสิตนฺติ  จตุสจฺจธมฺมปฏาก- 

วิภูสิต ฯ  ธมฺมปุปฺผคุล  กตฺวาติ  ธมฺมมยปุปฺผมาลาคุล  กตฺวา ฯ 

มหาชนสฺส  วิปสฺสนาเจติยงฺคเณ  ิตสฺส  นมสฺสนตฺถาย  ธมฺมเจติย 

ปติฏฺาเปตฺวา  สสาวกสงฺโฆ  สตฺถา  ปรินิพฺพายีติ  อตฺโถ ฯ 

มหาวิลาโสติ  มหาอิทฺธิวิลาสปฺปตฺโต ฯ  ตสฺสาติ  ตสฺส  ภควโต ฯ 

ชโนติ  สาวกชโน ฯ  สิริธมฺมปฺปกาสโนติ  โลกุตฺตรธมฺมปฺปกาสโน

โส ภควา จ สพฺพ ตมนฺตรหิตนฺติ อตฺโถ ฯ 

บทว่า    ธมฺมเจติย   สมุสฺเสตฺวา  ได้แก่  ประดิษฐานพระเจดีย์สำเร็จด้วยโพธิ-

ปักขิยธรรม  ๓๗.   บทว่า   ธมฺมทุสฺสวิภูสิต   ได้แก่    ประดับด้วยธงธรรมคือ

สัจจะ ๔.   บทว่า   ธมฺมปุปฺผคุฬ   กตฺวา   ได้แก่  ทำให้เป็นพวงมาลัยดอกไม้

สำเร็จด้วยธรรม.      อธิบายว่า    พระศาสดาพร้อมทั้งพระสงฆ์สาวก   โปรดให้

ประดิษฐานพระธรรมเจดีย์   เพื่อมหาชนที่อยู่  ณ  ลานพระเจดีย์สำหรับบำเพ็ญ

วิปัสสนา  จะได้นมัสการ แล้วก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน.   บทว่า   มหาวิลาโส

ได้แก่     ผู้ถึงความพิลาสแห่งฤทธิ์ยิ่งใหญ่.      บทว่า    ตสฺส     ได้แก่    ของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.   บทว่า   ชโน   ได้แก่   ชน  คือ   พระสาวก.

บทว่า    สิริธมฺมปฺปกาสโน   ความว่า      และพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประกาศ

โลกุตรธรรม  พระองค์นั้น     ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น.

        ในคาถาที่เหลือทุกแห่ง   คำชัดแล้วทั้งนั้นแล.

                สุเขน  โกนาคมโน  คตาสโว

                วิกามปาณาคมโน  มเหสี

                วเน   วิเวเก   สิรินามเธยฺเย

                วิสุทฺธวสาคมโน  วสิตฺถ.

                พระโกนาคมนพุทธเจ้า  ทรงมีอาสวะไปแล้วโดย

        สะดวก  ผู้เป็นที่มาแห่งสัตว์ผู้ปราศจากกาม   ผู้แสวงคุณ

        ยิ่งใหญ่   ผู้เป็นที่มาแห่งวงศ์ของพระผู้บริสุทธิ์  ประทับ

        อยู่ ณ  ป่าอันมีนามเป็นสิริ  อันสงัด.

                จบพรรณนาวงศ์พระโกนาคมนพุทธเจ้า

มธุรตฺถวิลาสินี (พุทฺธวสวณฺณนา) – หน้า 472

พระไตรปิฎกแอรรถกถาแปล เล่ม ๗๓ หน้า ๖๖๖

ดูโพสในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย