บาลีวันละคำ

ปาราชิก [1] (บาลีวันละคำ 109)

ปาราชิก [1]

อ่านว่า ปา-รา-ชิ-กะ

ภาษาไทยใช้เหมือนบาลี แต่อ่านว่า ปา-รา-ชิก

ปาราชิก” ประกอบขึ้นจากคำว่า ปรา + ชิ + ณฺวุ

ปรา” (ปะ-รา) เป็นศัพท์จำพวกอุปสรรค ใช้ประสมเข้าข้างหน้าคำอื่น ทำให้คำที่ไปประสมมีความหมายตรงกันข้ามจากความหมายเดิม

ชิ” เป็นธาตุ (รากศัพท์) มีความหมายว่า “ชนะ

ณฺวุ” เป็นศัพท์จำพวกปัจจัย (“บาลีเป็นภาษาที่มีวิภัตติปัจจัย” – ตามหลักที่รู้กัน) แปลว่า “ผู้-” ใช้ประสมเข้าข้างท้ายคำอื่น แล้วแปลง “ณฺวุ” เป็น “อก” (อะ-กะ) ถ้าพยางค์แรกของคำที่ไปประสมเป็นเสียงสั้น มีอำนาจทำให้พยางค์นั้นยืดเสียงเป็นเสียงยาว เช่น อะ เป็น อา, อิ เป็น อี, อุ เป็น อู

ในที่นี้ พยางค์แรกของคำคือ – (ปรา) จึงยืดเสียงเป็น ปา– (ปรา > ปารา)

ตามกฎไวยากรณ์ที่กล่าวมา : ปรา + ชิ + ณฺวุ > อก จึงสำเร็จรูปเป็น “ปาราชิก” แปลว่า “ผู้พ่ายแพ้

ปาราชิก” เป็นชื่ออาบัติที่มีโทษร้ายแรงที่สุด ทำให้ภิกษุผู้ล่วงละเมิดต้องพ่ายแพ้จากสมณเพศ (ไม่นับว่าเป็นภิกษุอีกต่อไป) มี 4 กรณี คือ –

(1) เสพเมถุน (ร่วมเพศกับคนหรือสัตว์)

(2) ลักทรัพย์

(3) ฆ่ามนุษย์

(4) อวดอุตริมนุสธรรม

ปรา + ชิ + ณฺวุ > อก = ปาราชิก

ระวัง : อย่าเขียนหรือพูดผิดเป็น “ปราชิก” (ปา- ไม่ใช่ ป-)

บาลีวันละคำ (109)

25-8-55

ปาราชิก

เป็นชื่ออาบัติหนักที่ภิกษุต้องเข้าแล้วขาดจากความเป็นภิกษุ, เป็นชื่อบุคคลผู้ที่พ่ายแพ้ คือ ต้องอาบัติปาราชิกที่ทำให้ขาดจากความเป็นภิกษุ, เป็นชื่อสิกขาบท ที่ปรับอาบัติหนักขั้นขาดจากความเป็นภิกษุมี ๔ อย่างคือ เสพเมถุน ลักของเขา ฆ่ามนุษย์ อวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีในตน (ประมวลศัพท์)

ปาราชิก

  น. ชื่ออาบัติหนักที่สุดในพระวินัย เมื่อภิกษุล่วงละเมิดแม้เพียงข้อใดข้อหนึ่งต้องขาดจากความเป็นภิกษุทันที บวชเป็นภิกษุอีกไม่ได้ มี ๔ ข้อ คือ ๑. เสพเมถุน ๒. ลักทรัพย์ ๓. ฆ่ามนุษย์ ๔. อวดอุตริมนุสธรรม. ว. ผู้ละเมิดอาบัติปาราชิก เช่น พระปาราชิก. (ป.).

เมถุน

“การกระทำของคนที่เป็นคู่ๆ”, การร่วมสังวาส, การร่วมประเวณี

เมถุน ๑

  น. การร่วมสังวาส. (ป.).

เมถุน ๒

  น. คนคู่; ชื่อกลุ่มดาวรูปคนคู่ เรียกว่า ราศีเมถุน เป็นราศีที่ ๒ ในจักรราศี.

อุตริมนุสธรรม

ธรรมยวดยิ่งของมนุษย์, ธรรมของมนุษย์ผู้ยอดยิ่ง, ธรรมล้ำมนุษย์ ได้แก่ ฌาน วิโมกข์ สมาบัติ มรรคผล, บางทีเรียกให้ง่ายว่า ธรรมวิเศษ บ้าง คุณวิเศษ หรือ คุณพิเศษ บ้าง (พจนานุกรมเขียน อุตริมนุสสธรรม) (ประมวลศัพท์)

อุตริมนุสธรรม

  [-มะนุดสะทํา] น. คุณอย่างยวดยิ่งของมนุษย์ ได้แก่ธรรมวิเศษมีการสําเร็จฌาน สําเร็จมรรคผลเป็นต้น. (ป. อุตฺตริ + มนุสฺส + ธมฺม; ส. อุตฺตริ + มนุษฺย + ธรฺม).

๑ โย  ภิกฺขุ  เมถุนํ  ธมฺมํ  ปฏิเสวติ,  อสฺสมโณ  โหติ  อสกฺยปุตฺติโย.  เสยฺยถาปิ  นาม  ปุริโส  สีสจฺฉินฺโน  อภพฺโพ  เตน  สรีรพนฺธเนน  ชีวิตุํ, 

๒ โย  ภิกฺขุ  ปาทํ วา  ปาทารห็  วา   อติเรกปาทํ  วา  อทินฺนํ  เถยฺยสงฺขาตํ  อาทิยติ  อสฺสมโณ  โหติ  อสกฺยปุตฺติโย.  เสยฺยถาปิ  นาม  ปณฺฑุปลาโส  พนฺธนา  ปมุตฺโต

อภพฺโพ  หริตตฺตาย,

๓ โย  ภิกฺขุ  สญฺจิจฺจ  มนุสฺสวิคฺคห็  ชีวิตา โวโรเปติ, อนฺตมโส  คพฺภปาตนํ

อุปาทาย,  อสฺสมโณ  โหติ  อสกฺยปุตฺติโย.  เสยฺยถาปิ  นาม  ปุถุสิลา  ทฺวิธา  ภินฺนา  อปฏิสนฺธิกา  โหติ,

๔ โย  ภิกฺขุ  ปาปิจฺโฉ  อิจฺฉาปกโต  อสนฺตํ  อภูตํ  อุตฺตริมนุสฺสธมฺมํ  อุลฺลปติ, ฌานํ  วา  วิโมกขํ  วา  สมาธึ  วา  สามปตฺตึ  วา  มคฺคํ  วา  ผลํ  วา,  อสฺสมโณ  โหติ

อสกฺยปุตฺติโย.  เสยฺยถาปิ  นาม  ตาโล  มตฺถกจฺฉินฺโน  อภพฺโพ  ปุน  วิรุฬฺหิยา,

พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล เล่ม ๑ หน้า ๘๑๗

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 817

        [ปาราชิกศัพท์เป็นไปในสิกขาบทเป็นต้น]

         สมันตปาสาทิกา ภาค ๑ หน้า ๓๐๙

ปาราชิโกติ  ปราชิโต  ปราชยํ  อาปนฺโน  ฯ  อยํ  หิ  ปาราชิกสทฺโท  สิกฺขา-

ปทาปตฺติปุคฺคเลสุ  วตฺตติ  ฯ  ตตฺถ  อฏฺฐานเมตํ อานนฺท อนวกาโส 

ยํ   ตถาคโต   วชฺชีนํ   วา   วชฺชิปุตฺตกานํ   วา  การณา  สาวกานํ   

ปาราชิกสิกฺขาปทํ   ปญฺญตฺตํ  สมูหเนยฺยาติ  เอวํ  สิกฺขาปเท  วตฺตมาโน 

เวทิตพฺโพ  ฯ   อาปตฺตึ   ตฺวํ   ภิกฺขุ   อาปนฺโน  ปาราชิกนฺติ  เอวํ 

อาปตฺติยา  ฯ   น   มยํ  ปาราชิกา  โย  อวหโฏ  โส  ปาราชิโกติ 

เอวํ   ปุคฺคเล   วตฺตมาโน   เวทิตพฺโพ  ฯ   ปาราชิเกน   ธมฺเมน 

อนุทฺธํเสยฺยาติอาทีสุ   ปน   ธมฺเม   วตฺตตีติ   วทนฺติ  ฯ  ยสฺมา  ปน 

ตตฺถ   ธมฺโมติ   กตฺถจิ   อาปตฺติ   กตฺถจิ   สิกฺขาปทเมว   อธิปฺเปตํ 

ตสฺมา   โส   วิสุํ   น   วตฺตพฺโพ  ฯ   ตตฺถ   สิกฺขาปทํ   โย  ตํ 

อติกฺกมติ   ตํ   ปราเชติ   ตสฺมา   ปาราชิกนฺติ   วุจฺจติ  ฯ  อาปตฺติ 

ปน   โย   ตํ   อชฺฌาปชฺชติ   ตํ   ปราเชติ   ตสฺมา   ปาราชิกาติ 

วุจฺจติ  ฯ   ปุคฺคโล   ยสฺมา   ปราชิโต   ปราชยมาปนฺโน   ตสฺมา 

ปาราชิโกติ วุจฺจติ ฯ เอตเมว หิ อตฺถํ สนฺธาย ปริวาเรปิ 

                ปาราชิกนฺติ ยํ วุตฺตํ   ตํ สุณาหิ ยถากถํ 

                จุโต ปรทฺโธ ภฏฺโฐ จ   สทฺธมฺมา หิ นิรงฺกโต 

                สํวาโสปิ   ตหึ   นตฺถิ   เตเนตํ   อิติ   วุจฺจตีติ 

วุตฺตํ  ฯ   อยํ  เหตฺถ  อตฺโถ  ตํ  สิกฺขาปทํ  วีติกฺกมนฺโต  อาปตฺติญฺจ 

อาปนฺโน   ปุคฺคโล   จุโต   โหตีติ   สพฺพํ   โยเชตพฺพํ  ฯ   เตน 

วุจฺจตีติ   เยน   การเณน   อสฺสมโณ   โหติ  อสกฺยปุตฺติโย  ปริภฏฺโฐ 

ฉินฺโน   ปราชิโต   สาสนโต   เตน  วุจฺจติ  ฯ  กินฺติ  ฯ  ปาราชิโก 

โหตีติ  ฯ 

        บทว่า  ปาราชิโก  แปลว่า  พ่ายแพ้แล้ว  คือ  ถึงแล้วซึ่งความพ่ายแพ้.

จริงอยู่  ปาราชิก  ศัพท์นี้  ย่อมเป็นไปทั้งในสิกขาบท  อาบัติและบุคคล.  ใน

๓  อย่างนั้น  ปาราชิกศัพท์  ที่เป็นไปในสิกขาบท  พึงทราบ (ในที่มา) อย่างนี้ว่า

ดูก่อนอานนท์!  มิใช่ฐานะ  มิใช่โอกาส  มีตถาคตจะพึงถอนปาราชิกสิกขาบท

ที่ได้บัญญัติไว้แล้ว  เพื่อสาวกทั้งหลาย  เพราะเหตุแห่งพวกภิกษุชาววัชชี หรือ

พวกวัชชีบุตรเลย.

        ที่เป็นไปในอาบัติพึงทราบ (ในที่มา) อย่างนี้ว่า  ภิกษุ! เธอต้อง

อาบัติปาราชิกแล้ว  ที่เป็นไปในบุคคล  พึงทราบ  (ในที่มา)  อย่างนี้ว่า  พวกเรา

มิได้เป็นปาราชิก,  ผู้ใดลัก,  ผู้นั้น  เป็นปาราชิก.  แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า

ปาราชิกศัพท์นี้  ยังเป็นไปในธรรมได้อีก  เช่นในที่มามีคำว่า (ภิกษุ) ตามกำจัด 

(ภิกษุ) ด้วยธรรมมีโทษถึงปาราชิก  ดังนี้เป็นต้น.

        แต่เพราะเหตุที่ในอาบัติและสิกขาบททั้ง ๒  นั้น  ในที่บางแห่งพระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงพระประสงค์อาบัติว่า ธรรม  บางแห่งก็ทรงพระประสงค์

สิกขาบททีเดียว  เพราะฉะนั้น จึงไม่ควรจะกล่าวธรรมนั้นไว้อีกแผนกหนึ่ง.

        บรรดาสิกขาบท  อาบัติและบุคคลนั้น, สิกขาบท  พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า  ปาราชิก  เพราะเหตุที่ยังบุคคลผู้ละเมิดให้พ่าย, ส่วนอาบัติตรัสว่า

ปาราชิก  เพราะเหตุที่ยังบุคคลผู้ต้องให้พ่าย,  บุคคลตรัสว่า  เป็นการปาราชิก

เพราะเหตุที่เป็นผู้พ่าย  คือ  ถึงความแพ้.  จริงอยู่  แม้ในคัมภีร์บริวาร  พระผู้มี

พระภาคเจ้า  ก็หมายเฉพาะเนื้อความนี้  ตรัสว่า

                                อาบัติใด  เราเรียกว่าปาราชิก,  ท่าน

                        จงฟังอาบัตินั้นตามที่กล่าว,  บุคคลผู้ต้อง        

                        ปาราชิก  ย่อมเป็นผู้เคลื่อน ผิด  ตกไป

                        และเหินห่างจากสัทธรรมแล,  แม้ธรรมเป็น

                        ที่อยู่ร่วมกันในบุคคลนั้น  ย่อมไม่มี,  ด้วย

                        เหตุนั้น  อาบัตินั้น  เราจึงเรียกอย่างนั้น.

๑. วิ. มหา. ๑/๔๑.  ๒. วิ. มหา. ๑/๖๒.  ๓. วิ  มหา.  ๑/๓๗๖.  ๔. วิ  ปริวาร.  ๘/๓๖๘.

                     [อรรถาธิบายความในพระคาถา]

        ก็ในปริวารคาถานี้  มีเนื้อความดังต่อไปนี้ :-  บุคคลผู้ละเมิดสิกขาบท

นั้น  และต้องอาบัตินั้น  ย่อมเป็นผู้เคลื่อน (จากสัทธรรม),  คำทั้งปวงอัน

บัณฑิตพึงประกอบอย่างนี้.

พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล เล่ม ๑๐ หน้า ๖๑๙

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ – หน้าที่ 619

                                   [วิเคราะห์ปาราชิก]  

         สมันตปาสาทิกา ภาค ๓ หน้า ๕๓๘

 เอวํ  ปุจฺฉานุกฺกเมน  สพฺพปญฺเห  วิสฺสชฺเชตฺวา

อิทานิ   อาปตฺติกฺขนฺธา   จ  ภวนฺติ  สตฺตาติ  เอตฺถ  สงฺคหิตอาปตฺติกฺ-

ขนฺธานํ   ปจฺเจกํ   นิพฺพจนมตฺตํ   ทสฺเสนฺโต   ปาราชิกนฺติอาทิมาห ฯ

ตตฺถ   ปาราชิกนฺติ   ปฐมคาถาย   อยมตฺโถ ฯ  ยทิทํ  ปุคฺคลาปตฺติ-

สิกฺขาปทปาราชิเกสุ   อาปตฺติปาราชิกํ   นาม   วุตฺตํ   ตํ  อาปชฺชนฺโต

ปุคฺคโล   ยสฺมา   ปาราชิโก   ปราชยมาปนฺโน  สทฺธมฺมา  จุโตปรทฺโธ

ภฏฺโฐ  นิรงฺกโต  จ  โหติ ฯ  อนีหเฏ  ตสฺมึ  ปุคฺคเล  ปุน  อุโปสถ-

ปวารณาทิเภโท  สํวาโส  นตฺถิ ฯ  เตเนตํ  อิติวุจฺจตีติ  เตน การเณน

เอตํ  อาปตฺติปาราชิกํ  ปาราชิกนฺติ  วุจฺจติ ฯ  อยํ  เหตฺถ สงฺเขปตฺโถ

ยสฺมา  ปาราชิโก  โหติ  เอเตน  ตสฺมา  เอตํ  ปาราชิกนฺติ  วุจฺจติ ฯ

ทุติยคาถายปิ   พฺยญฺชนํ   อนาทิยิตฺวา   อตฺถมตฺตเมว  ทสฺเสตุํ  สงฺโฆว

เทติ  ปริวาสนฺติอาทิ  วุตฺตํ ฯ 

พระอุบาลี     ครั้นแก้ปัญหาทั้งปวงตามลำดับแห่งคำถามอย่างนี้แล้ว

บัดนี้    จะแสดงเพียงคำอธิบายเฉพาะอย่าง   แห่งกองอาบัติที่ประมวลไว้ในคำว่า

อาปตฺติกฺขนฺธา  จ ภวนฺติ  สตฺต  จึงกล่าวคำว่า  ปาราชิกํ  เป็นอาทิ.

           บรรดาคาถาเหล่านั้น  คาถาที่  ๑  ว่า  ปาราชิกํ  เป็นต้น    มีเนื้อความ

ดังต่อไปนี้:-

           บรรดาบุคคลปาราชิก  อาบัติปาราชิก  และสิกขาบทปาราชิก  ชื่ออาบัติ

ปาราชิกนี้ใด   อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว,   บุคคลผู้ต้องอาบัติปาราชิกนั้น

ย่อมเป็นผู้พ่าย  คือ  ถึงความแพ้   เป็นผู้เคลื่อน  ผิด  ตก  อันความละเมิดทำ

ให้ห่างจากสัทธรรม.    เมื่อบุคคลนั้นไม่ถูกขับออก    (จากหมู่)    ก็ไม่มีสังวาส

ต่างโดยอุโบสถและปวารณาเป็นต้นอีก.    ด้วยเหตุนั้น   ปาราชิกนั่น   พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนั้น   คือ   เพราะเหตุนั้น   อาบัติปาราชิกนั่น     พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า   ปาราชิก.                                                         

           ก็ในบทว่า  ปาราชิกํ  นี้    มีความสังเขปดังนี้:-

           บุคคลย่อมเป็นผู้พ่ายด้วยอาบัติปาราชิกนั้น    เพราะเหตุนั้น      อาบัติ

ปาราชิกนั่น  ท่านจึงกล่าวว่า  ปาราชิก. 

       ดูโพสในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย