บาลีวันละคำ

สัมผัส (บาลีวันละคำ 1,649)

สัมผัส

อ่านว่า สำ-ผัด

ประกอบด้วย สัม + ผัส

(๑) “สัม” (สำ)

คำเดิมในบาลีคือ “สํ” (สัง) เป็นคำอุปสรรค ตำราบาลีไทยแปลว่า “พร้อม, กับ, ดี” หมายถึง พร้อมกัน, ร่วมกัน (together)

แปลงนิคหิตที่ สํ เป็น มฺ : สํ > สมฺ

(๒) “ผัส

บาลีเป็น “ผสฺส” อ่านว่า ผัด-สะ รากศัพท์มาจาก ผุสฺ (ธาตุ = กระทบ, แตะต้อง) + ปัจจัย, แปลง ผุสฺ เป็น ผสฺส

: ผุสฺ + = ผุสฺ > ผสฺส (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “อาการที่ถูกกระทบ” หมายถึง สัมผัส, การถูกต้อง (contact, touch)

สํ > สมฺ + ผสฺส = สมฺผสฺส แปลตามศัพท์ว่า “อาการที่กระทบพร้อมกัน” (คือสิ่งที่มากระทบกับสิ่งที่ถูกกระทบเกิดการปะทะพร้อมกัน) หมายถึง การสัมผัส, ปฏิกิริยา, การถูกต้อง (contact, reaction)

บาลี “สมฺผสฺส” ในสันสกฤตเป็น “สํสฺปรฺศ

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

สํสฺปรฺศ : (คำนาม) การแตะต้องหรือสัมผัส; touching.”

สมฺผสฺส” ในภาษาไทยใช้เป็น “สัมผัส” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้ดังนี้ –

(1) (คำกริยา) ถูกต้อง, แตะต้อง, กระทบกัน, เช่น มีใครมาสัมผัสไหล่ พยายามให้เท้าสัมผัสหญ้าเสียบ้าง จะได้มีสุขภาพดี สัมผัสมือกัน;

(2) (คำกริยา) คล้องจองกัน เช่น คําในกลอนบทนี้สัมผัสกันดี.

(3) (คำนาม) การถูกต้องที่ให้เกิดความรู้สึก เช่น ประสาทสัมผัส, การแตะต้อง, การกระทบกัน, เช่น พอออกไปข้างนอกก็สัมผัสอากาศเย็นเฉียบ;

(4) (คำนาม) ความคล้องจองของถ้อยคํา เช่น ในนํ้ามีปลาในนามีข้าว;

(5) (คำที่ใช้ในวรรณกรรม) ข้อบังคับที่ใช้ในฉันทลักษณ์เพื่อให้เสียงรับกัน.

ความหมายของ “สัมผัส” ในทางธรรม พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต บอกไว้ว่า –

สัมผัส : ความกระทบ, การถูกต้องที่ให้เกิดความรู้สึก, ความประจวบกันแห่งอายตนะภายใน อายตนะภายนอก และวิญญาณ มี 6 เริ่มแต่ จักขุสัมผัส สัมผัสทางตา เป็นต้น จนถึง มโนสัมผัส สัมผัสทางใจ (เรียงตามอายตนะภายใน 6); ผัสสะ ก็เรียก.”

…………..

ประดับความรู้ :

ในภาษาไทย ความหมายของ “สัมผัส” ที่น่าสนใจเป็นพิเศษก็คือ “ข้อบังคับที่ใช้ในฉันทลักษณ์เพื่อให้เสียงรับกัน” ที่ควรทราบเป็นพื้นฐานเบื้องต้นก็คือ “สัมผัส” นัยหนึ่งมี 2 อย่าง คือ สัมผัสอักษร กับ สัมผัสสระ

(1) “สัมผัสอักษร” คือใช้คำที่เป็นพยัญชนะตัวเดียวกันหรือเสียงพ้องกันเข้ามารับกัน เช่น –

“จําใจจําจากเจ้า จําจร” (ใช้อักษร สัมผัสกัน),

“คูนแคขิงข่าขึ้น เคียงคาง” (ใช้อักษร กับ และ สัมผัสกัน)

(2) “สัมผัสสระ” คือใช้คำที่ออกเสียงเป็นสระเสียงเดียวกันเข้ามารับกัน เช่น –

– “ในนํ้ามีปลา ในนามีข้าว” (“ปลา” สัมผัสกับ “นา”)

– “อลงกรณ” (อะ-ลง-กอน) + “บดินทร” (บอ-ดิน-ทอน) (“กอน” สัมผัสกับ “ทอน”)

…………..

: รู้ทันสัมผัสให้ครบ

: กระทบ แต่ไม่กระเทือน

9-12-59