บาลีวันละคำ

ธมฺม (บาลีวันละคำ 115)

ธมฺม

อ่านว่า ทำ-มะ

ในภาษาไทยใช้ว่า “ธรรม” อ่านว่า “ทำ” ถ้ามีศัพท์อื่นมาสมาส (= ต่อเข้าเป็นคำเดียวกัน) อ่านว่า “ทำ-มะ–” เช่น ธรรมคุณ (ทำ-มะ-คุน) ธรรมบท (ทำ-มะ-บด)

ธมฺม” มาจากรากศัพท์ว่า ธรฺ (ธาตุ = ทรงไว้) + รมฺม (ปัจจัย) ลบ รฺ ที่สุดธาตุ และ ต้นปัจจัย = ธมฺม แปลว่า “สภาพที่ทรงไว้

ธมฺมธรรม” มีความหมายหลายหลาก ดังต่อไปนี้ –

สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ, สภาวธรรม, สัจธรรม, ความจริง; เหตุ, ต้นเหตุ; สิ่ง, ปรากฏการณ์, ธรรมารมณ์, สิ่งที่ใจคิด; คุณธรรม, ความดี, ความถูกต้อง, ความประพฤติชอบ; หลักการ, แบบแผน, ธรรมเนียม, หน้าที่; ความชอบ, ความยุติธรรม; พระธรรม, คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงธรรมให้เปิดเผยปรากฏขึ้น

ธรรม” คำง่ายๆ เหมือนหญ้าปากคอก แต่แปลทับศัพท์กันจนแทบจะไม่ได้นึกถึงความหมายที่แท้จริง

ธรรมะคือคุณากร” ถ้านึกถึงความหมายของคำว่า “ธรรม” ไม่ออก ก็ขอให้คิดถึงคำนี้

แม้แต่จะพูดเล่นๆ ก็ยังเป็นความจริง เพราะ “ธรรมะคือบ่อเกิดแห่งความดี

บาลีวันละคำ (115)

31-8-55

ธรรม

สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ, สภาวธรรม, สัจจธรรม, ความจริง; เหตุ, ต้นเหตุ; สิ่ง, ปรากฏการณ์, ธรรมารมณ์, สิ่งที่ใจคิด; คุณธรรม, ความดี, ความถูกต้อง, ความประพฤติชอบ; หลักการ, แบบแผน, ธรรมเนียม, หน้าที่; ความชอบ, ความยุติธรรม; พระธรรม, คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงธรรมให้เปิดเผยปรากฏขึ้น

(ประมวลศัพท์)

ดูโพสในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย