บาลีวันละคำ

กาย (บาลีวันละคำ 116)

กาย

อ่านว่า กา-ยะ

ในภาษาไทยใช้อย่างเดียวกับบาลี อ่านว่า กาย

คำว่า “กาย” มีรากศัพท์มาจาก กุ (สิ่งที่น่าเกลียด) + อาย (อา-ยะ = ที่มา, ที่เกิดขึ้น) ลบสระ อุ ที่ กุ = กาย แปลว่า “ที่เกิดขึ้นของสิ่งที่น่ารังเกียจทั้งหลาย

กาย” ในความหมายทั่วไป คือ กอง, หมวดหมู่, ที่รวม, ชุมนุม, การรวมเข้าด้วยกัน, จำนวนที่รวมกัน

กาย” มีความหมายพื้นฐาน ดังนี้ –

1 ที่รวมแห่งอวัยวะทั้งหลาย หรือชุมนุมแห่งรูปธรรม คือ ร่างกาย บางทีเรียกเต็มว่า “รูปกาย”

2 ประชุมแห่งนามธรรม หรือกองแห่งเจตสิก เช่น ในคำว่า “กายปัสสัทธิ” (กา-ยะ-ปัด-สัด-ทิ = ความสงบเย็นแห่งกองเจตสิก) บางทีเรียกเต็มว่า “นามกาย” (แต่ในบางกรณี นามกาย หมายถึงนามขันธ์หมดทั้ง 4 คือ ทั้งเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ หรือทั้งจิตและเจตสิก)

นอกจากความหมายพื้นฐาน 2 อย่างนี้แล้ว ยังมีความหมายปลีกย่อย และความหมายเฉพาะ ตามข้อความแวดล้อมอีกหลายอย่าง เช่น

– “กายสัมผัส” (กา-ยะ-สำ-ผัด = สัมผัสทางกาย) หมายถึงกายประสาทที่รับกระทบเย็น-ร้อน อ่อน-แข็ง ตึง-ไหว

– “กายทุจริต” (ทุจริตด้วยกาย) หมายถึงการใช้ร่างกายกระทำกรรม คือเคลื่อนไหวแสดงออกและทำการต่างๆ

– “กายสุข” (สุขทางกาย) หมายถึงสุขทางทวารทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย ซึ่งคู่กับเจโตสุขหรือสุขทางใจ

– “กายภาวนา” (การพัฒนากาย) หมายถึงการรู้จักปฏิบัติให้ได้ผลเป็นความดีความเจริญ ด้วยการใช้ตา หู จมูก ลิ้น และกาย

กาย” เป็นบาลีอีกคำหนึ่งที่เราใช้ทับศัพท์จนแทบไม่ได้นึกถึงความหมายในภาษาเดิม

บาลีวันละคำ (116)

1-9-55

กาย ๑ = กาย, ร่างกาย, ตัว, ตน (ศัพท์วิเคราะห์)

– กุจฺฉิตานํ เกสาทีนํ อาโย อุปฺปตฺติฏฺฐานนฺติ กาโย ที่มาคือที่เกิดขึ้น ของสิ่งที่น่ารังเกียจทั้งหลาย

กุ + อาย ลบสระหน้า

– เอเกกาเปกฺขาย อปฺปฏฺเฐน กสงฺขาตา อวยวา อายนฺติ เอตฺถาติ กาโย ที่เป็นที่เป็นไปแห่งอวัยวะทั้งหลายที่ชื่อว่า กะ เพราะมีน้อย โดยเพ่งแต่ละอย่าง

ก บทหน้า อายฺ ธาตุ ในความหมายว่าไป เป็นไป อ ปัจจัย

กาย ๒ = หมู่, กอง, คณะ, หมวด (ศัพท์วิเคราะห์)

กาโย วิยาวยวานํ อุปฺปตฺติฏฺฐานนฺติ ที่เกิดขึ้นแห่งส่วนย่อยทั้งหลายเหมือนร่างกาย

กาย (บาลี-อังกฤษ)

[บางทีมาจาก จิ, จิโนติ สะสม, เทียบ นิกาย สะสม, รวบรวม, เก็บ; สัน. กาย der. probably fr. ci, cinoti to heap up, cp. nikāya heaping up, accumulation or collection; Sk. kāya]

กลุ่ม, กอง, จำนวนที่รวมกัน, การรวมเข้าด้วยกัน, ร่างกาย group, heap, collection, aggregate, body.

—- การนิยามและไวพจน์ Definitions and synonyms. —- สุตฺ.นิ.อ.31 ให้ไวพจน์และอุปมาของ “กาย” ไว้ดังต่อไปนี้: กุฏี, คุหา (สุตฺ.นิ.772), เทห, สนฺเทห (ธ.148 = เถร.20), นาวา (ธ.369), รถ (สํ.4/292), ธช, วมฺมีก (ม.1/144), กุฏิกา (เถร.1); และใน ขุ.อ.38 มีนิยามดังต่อไปนี้: กาเย ติ สรีเร, สรีรํ หิ อสุจิสญฺจยโต กุจฺฉิตานํ วา เกสาทีนํ อายภูตโต กาโย ติ วุจฺจติ.ซึ่งมีค่าเท่ากับ เทห: สํ.1/27; เปต.อ.10; มีค่าเท่ากับ สรีร ขุ.อ.38; เปต.อ.63; มีค่าเท่ากับ นิกาย (เทว-) ที.3/264; และเทียบสูตรของคำว่า ชาติ: สตฺตานํ ตมฺหิ ตมฺหิ สตฺตนิกาเย ชาติ.จุลฺ.นิ.257. ความหมายตามตัว.

—-1. มหาชน-กาย ประชุมชน; หมู่ชน สํ.4/191; 5/170; วิมาน.อ.78; พล- ฝูงชนที่มีพลัง สุตฺ.นิ.105; ธ.อ.1/193,398.

—-2. กลุ่มหรือหมวดหมู่: สตฺต กายา อกฏา, ฯลฯ (กลุ่มหรือหลักธรรมที่ดำรงอยู่ตลอดกาล 7 ประการ) ที.1/56 = ม.1/517 = สํ.3/211 (ในทฤษฎีของ ปกุทธกัจจายนะ); เกี่ยวกับกลุ่มแห่งความรู้สึกหรืออายตนะ, เช่นเวทนา-กาย, สญฺญา-,  วิญฺญาณ-, ผสฺส-, ฯลฯ สํ.3/60,61; ที.3/243,244; ตณฺหา- ที.3/244; ใช้กับ หตฺถิ-, รถ-, ปตฺติ-, กลุ่มช้าง, กลุ่มรถ, หรือกลุ่มพลเดินเท้า สํ.1/72.

—- จะทราบความหมายอันกว้างของ กาย ได้ โดยดูจากการแบ่งชั้นของกาย 7 อย่างใน ชา.2/91, กล่าวคือ จมฺม-, ทารุ-, โลห-, อโย-, วาลุก-, อุทก-, ผลก-, หรือ “ส่วน” (มวลใหญ่, กองใหญ่)ของผิวหนัง, ไม้, ทองแดง, เหล็ก, ทราย, น้ำ, และแผ่นกระดาน. —-  คำรวมอื่น ๆ ก็มี: อสุร- องฺ.1/143; ที.3/7; อาภสฺสร- ที.1/17 = 3/29,84; เทว- สํ.1/27,30; ที.3/264 (-นิกาย); ทิพฺพา กายา องฺ.1/143: ตาวตึส ที.3/15.

ความหมายตามที่ใช้.

—- I. ภายในตัวตน คือ การรวมเข้ากันของธาตุต่าง ๆ มากมายหลายหลาก ซึ่งในที่สุดก็ย่นลงเป็น 4 ซึ่งเรียกว่า “มหาภูตรูป”, กล่าวคือ ดิน, น้ำ, ไฟ และลม (ที.1/55). “กอง” นี้ปราชญ์ถือว่ามีลักษณะต่าง ๆ ของธาตุเหล่านั้น เหมือนดังวัตถุอื่น ๆ ทั้งหลายทั้งปวง ฉะนั้นจึงถือว่าเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ เป็นสิ่งที่ควรจะกำจัดเสีย, เป็นบ่อเกิดแห่งความไม่บริสุทธิ์, ร่างกายนั้นขึ้นอยู่กับเวลาและความเปลี่ยนแปลง ถูกสร้างขึ้นมาและทำให้คงชีวิตอยู่ได้ด้วยอำนาจตัณหา และเมื่อตายไปก็แตกสลายลงเป็นธาตุต่าง ๆ. แต่กรรมที่กำหนดให้ร่างกายนี้ปรากฏขึ้นนั้น โดยธรรมชาติแล้วก็ย่อมเกิดมีขึ้นใหม่และเข้าสู่รูปใหม่.

—- II. กาย ในแง่จิตวิทยาเป็นฐานที่ตั้งของความรู้สึก (ธ.ส.613-16), และเป็นองค์ที่รับการสัมผัสเป็นเบื้องต้นอันเป็นต้นเหตุแห่งความรู้สึกอื่น ๆ. นี้ก็เป็นความคิดที่เกิดขึ้นในตอนหลังเท่านั้น ธ.ส.อ.311 เทียบ Mrs. Rhys Davids, Bud. Psy. Ethics lvi. ff.; Bud. Psy 143,185.

I. (ทางรูปกาย).

—- (ก) การเข้าใจถึงร่างกายอันอาจบรรลุได้ด้วยสติ หรือการไตร่ตรองสำรวจความคิดและความรู้สึกของตนเอง(สติ). ในหมวดสติปัฏฐาน คือ ที่ตั้งแห่งสติ 4, การรู้จักลักษณะที่แท้จริงของร่างกาย ถือว่ามาเป็นอันดับแรก (ดู วิภงฺค.193) สูตรที่ใช้ประจำในการนี้ก็คือ กาเย กายานุปสฺสี. พิจารณาเห็นกายว่าเป็นที่หมักหมมสะสม และบรรยายสิ่งที่รวมเข้าด้วยกันนี้ว่า: “เขาเห็นว่า ร่างกายนี้หุ้มห่อด้วยหนังอันเต็มไปด้วยสิ่งสกปรกนานาชนิด, และเห็นว่าในร่างกายนี้มีผม, เล็บ, ฟัน” ฯลฯ (ระบุอาการ 32 อย่างที่กล่าวไว้ใน ขุ.III). ข้อยุติที่ได้จากกรรมฐานนี้ยังให้ผู้บำเพ็ญเพียรมีจุดยืนที่ถูกต้อง. สูตรดังกล่าวข้างต้นนี้มีทั้งแบบเต็มและแบบย่อ, อุ. ที.2/293,294; 3/104,141; องฺ.3/323 = 5/109; สํ.4/111 = 5/278; วิภงฺค.193,194; เน.ป.83,123; โดยการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย: กาเย อสุภานุปสฺสี.องฺ.3/142; 5/109 (ดูที่ อสุภสญฺญา); อิติ.81; เทียบ กาเย อนิจฺจานุปสฺสี สํ.4/211; และ กายคตา สติ. —- การสะสมนี้ได้บรรยายไว้ในสูตรอีกสูตรหนึ่งดังนี้: อยํ…กาโย รูปี จาตุ(มฺ)มหาภูติโก มาตา-เปตฺติก-สมฺภโว โอทน-กุมฺมาสุปจโย, ฯลฯ “ร่างกายนี้มีรู(คือเป็นวัตถุ, พึงเห็นได้), เกิดจากมารดาและบิดา, เป็นที่สั่งสมแห่งข้าวสุกและขนมกุมมาส เป็นสิ่งที่จะต้องใช้ผ้าปกปิด และคอยรักษาไว้เป็นนิตย์ มีการแตกสลายและเน่าเปื่อย”, ฯลฯ, พร้อมด้วยมีการอนุมาน ที.1/55 = สํ.3/207; สํ.2/94; 4/194; 2/282,370; ที.1/76,209; ม.1/144,500; 2/17; องฺ.4/386 = สํ.4/83.

—- (ข) คุณสมบัติและหน้าที่ต่าง ๆ ของกายอันเป็นอวัยวะ. ในฐานเป็นลำตัว (ตรงกันข้ามกับ ปกฺขา และ สีส) สํ.2/231; และ เปต.1/8 3; ในฐานต้องอาศัยอาหาร (อาหาร-ฏฺฐิติก, ฯลฯ) สํ.5/64; องฺ.2/145 (กับ ตณฺหา, มาน, เมถุน); ในฐานต้องการความสนใจ: ดู ปริหาริก. ในฐาน  สวิญฺญาณก, มีวิญญาณ องฺ.4/53 = สํ.2/252 = สํ.3/80,103,136,169; เทียบ อายุ อุสฺมา จ วิญฺญาณํ ยทา กายํ ชหนฺติมํ สํ.3/143. ในฐานต้องการลมหายใจเข้าออก สํ.5/330,336; ในฐานเป็นร่างกายที่เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า (กิลนฺต-กาย) กิลนฺต-กายา กิลนฺต-จิตฺตา เต เทวา ตมฺหา กายา จวนฺติ  “เหนื่อยกายเหนื่อยใจ เทพเหล่านี้ก็ออกไปจากกายนั้น” (ที.1/20;

3/32 ); ในข้ออื่นๆ เปต.อ.43; ดู กิลนฺต ด้วย. กาโย กิลนฺโต ที.3/255; = องฺ.4/332; สํ.4/332; สํ.5/317; ม.1/116; ชิณฺณสฺส เม.กาโย น ปเลติ สุตฺ.นิ.1144; อาตุรกาโย สํ.3/1 (จิตฺตํ อนาตุรํ); ปริปุณฺณ-ก- สุรุจิ สุชาโต, ฯลฯ, ด้วยกายที่เป็นเลิศ (พูดถึงพระพุทธเจ้า) สุตฺ.นิ.548 = เถร.818; เทียบ มหา-ก- (พูดถึงพวกพราหมณ์) สุตฺ.นิ.298. พระวรกายของพระพุทธเจ้ากล่าวกันว่าประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ 32 ประการ: ภควโต กาเย ทฺวตฺตึส มหาปุริสลกฺขณานิ… สุตฺ.นิ.107, เทียบ 549. กล่าวกันว่า พระตถาคตเป็น ธมฺม-กาโย “ธรรมกาย คือผู้บัญญัติและแสดงธรรม”, ในความหมายเหมือนกับ พฺรหฺม-กาโย “พรหมกายหรือพระกายที่ดีที่สุด” (คือพระธรรม) ที.3/84 (Dial. III, 81).

—- (ค) คุณค่าของร่างกาย: มีปกติตามพิจารณาเห็นกาย (กายานุปสฺสี) อย่างพินิจพิเคราะห์ว่า กายนี้เป็นของไม่ยั่งยืน, เน่าเปื่อย, และน่าขยะแขยง. —- กาเย อนิจฺจานุปสฺสี สํ.4/211 (และ วยานุปสฺสี, นิโรธานุปสฺสี), และ อสุภานุปสฺสี ด้วย  อิติ.81; กายญฺจ ภินฺทนฺตํ ญตฺวา อิติ.69; เอวํธมฺโม (คือ กองแห่งวัตถุธาตุที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ) องฺ.3/324: อจิรํ วต’อยํ กาโย ปฐวึ อธิเสสฺสติ ฉุฑฺโฑ อเปตวิญฺญาโณ นิรตฺถํ ว กลิงฺครํ ธ.41. ปิตฺตํ เสมฺหญฺ จ วมติ กายมฺหา สุตฺ.นิ.198. เช่น พหุ-ทุกฺโข พหุ-อาทีนโว องฺ.5/109; อนิจฺจ ทุกฺข, ฯลฯ ม.1/500; 2/17; กาเยน อฏฺฏิยมานา หรายมานา สํ.4/62; 5/320; ทิสฺสติ อิมสฺส กายสฺส อาจโย ปิ อปจโย ปิ อาทานมฺ ปิ นิกฺเขปนมฺ ปิ สํ.2/94. —- ร่างกายนี้ถูกกาและแร้งจิกกินหลังจากตายไปแล้ว: สํ.5/370. บรรยายว่า เน่าเหม็น (ปูติ-) สํ.1/131; 3/120. —- พุทธโฆษนิยาม กาย ใน วิ.ม.240 เป็น “จตุ-มหาภูติก ปูติ-กาย” (เทียบข้อความที่เหมือนกัน น.367: ปตฺถทฺโธ ภวติ กาโย, ปูติโก ภวติ กาโย).

—- (ง) อุปมา: —- จากคำเรียก (อธิวจนานิ) และคำเปรียบเทียบมากมาย อาจยกมา 2-3 ตัวอย่าง (เทียบข้างต้น ใต้คำนิยามและไวพจน์): ร่างกายเปรียบด้วยฝี (คณฺฑ) สํ.4/83 = องฺ.4/386; เมือง (นคร)  สํ.4/194; รถ (รถ) สํ.4/292; จอมปลวก (วมฺมีก) ม.1/144; ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่า กายประกอบด้วยธาตุที่เป็นมูลฐาน 4 อย่าง, เทียบ เผณูปมํ กายํ อิมํ วิทิตฺวา “ทราบว่ากายนี้เปรียบเหมือนฟองน้ำ” ธ.46; กุมฺภูปมํ กายํ อิมํ วิทิตฺวา นครูปมํ จิตฺตํ อิทํ ฐเปตฺวา ธ.40: ร่างกายนี้แตกง่ายเหมือนหม้อน้ำ.

—- (จ) ความแตกดับของกายนี้ได้อธิบายไว้ในวลีมาตรฐาน กายสฺส เภทา ปรมฺมรณา…คือ หลังจากตายไปแล้ว ก็มักจะกล่าวถึงกายไปสู่คติใดคติหนึ่งในบรรดาคติทั้งหลาย คือโชคชะตาที่กายใหม่นี้จะต้องประสบ, อุ. ที.1/82,107,143,162,245,247,252; 3/96,97,146,181,235; ม.1/22; สํ.1/94; 3/241; ธ.140; อิติ.12,14; ชา.1/152; เปต.อ.27, ฯลฯ, ฯลฯ. เทียบ ข้อ IV ด้วย.

II. (ในทางจิตวิทยา).

—-  ในฐานเป็นที่รองรับความรู้สึก, กายอยู่ในลำดับที่ 5 ในการระบุนี้ อายตนะภายใน 6 นับเป็น อัชฌัตติกะ ในฐานเป็นเครื่องรับความรู้สึก (คืออายตนะภายนอก) และอารมณ์คือสิ่งที่พึงถูกต้อง (โผฏฺฐพฺพ). การติดต่อระหว่างอายตนะภายนอกและอายตนะภายใน ประกอบด้วยการถูกต้อง (ผุสิตฺวา) หรือความรู้สึก (วิญฺเญยฺย). สูตรต่าง ๆ ย่อมแตกต่างกัน แต่โดยเนื้อแท้แล้วก็เหมือนกันทั้งหมด, อุ. กาย-วิญฺเญยฺยา โผฏฺฐพฺพา ที.1/245; กาเยน โผฏฺฐพฺพํ ผุสิตฺวา ที.3/226,250,269; ม.1/33; 2/42; สํ.4/104,112; กาเยน ผุสิตฺวา องฺ.5/11; กาโย เจว โผฏฺฐพฺพา จ ที.3/102. ที่เหมาะที่สุดที่จะเอามารวบรวมไว้ในที่นี้ก็คือ การใช้ กาย ในความหมายของตัวมันเองที่ได้รับความเพลิดเพลินอย่างใหญ่หลวง; กายทั่วทั้งสรรพางค์, “ความรู้สึกภายใน”, หรือการได้รับความสุขอย่างแรงกล้านี้ (ตลอดเวลาที่เป็นเช่นนั้น), ปีติ-สุข เป็นผลขั้นที่ 4 ของฌาน, และก็ได้กล่าวไว้ตามหลังฌานในสูตรต่อไปนี้: โส อิมํ เอว กายํ วิเวกเชน ปีติ-สุเขน อภิสนฺเทติ… “พระโยคาวจรนั้นย่อมมีกายนี้ให้ซาบซ่านไปด้วยปีติและความสุขอันเกิดแต่ความสงัด” ที.1/73 = ม.1/277; องฺ.2/41, ฯลฯ. —- ข้อความที่คล้ายคลึงกันก็คือ ข้อความที่แสดงว่า กาย ที่สงบลง (ปสฺสทฺธ), คืออยู่ในสถานะที่ปลอดจากความผูกพันทางโลกีย์ (วิเวกช). “ความสงบ” ของกายนี้เกิดจากความสงบแห่งจิต และความสงบแห่งจิตนี้ก็เกิดจากความบันเทิง (ปมุทิตา) ในการบรรลุจุดหมายปลายทางตามที่ได้ปรารถนาไว้. มีสูตรดังต่อไปนี้คือ ปมุทิตสฺส ปีติ ชายติ ปีติมนสฺส กาโย ปสฺสมฺภติ, ปสฺสทฺธกาโย สุขํ เวเทติ, สุขิโน จิตฺตํ สมาธิยติ ที.3/241,288; สํ.4/351; ม.1/37; องฺ.3/21,285; 4/176; 5/3,333; วิภงฺค.227. —- ในทำนองเดียวกัน: ปมุทิตาย ปีติ ชายติ, ปีติมนาย กาโย ป-, ปสฺสทฺธกายา สุขํ เวท- วิ.1/294 (เทียบ Vin. Texts  2/224: “ร่างกายของข้าฯ ทั้งหมดจะอยู่ในความสงบระงับ”, หรือ “ความโดดเดี่ยว”; ดูหมายเหตุ) ปสฺสทฺธกาย-สงฺขาร ที่กล่าวไว้ใน องฺ.5/29 เป็นหนึ่งในอริยวาส คือสภาวะแห่งพระอริยะ 10 อย่าง. กึ่งอุปมาระหว่าง กาย กับ กาม ปรากฏจากข้อความอื่น ๆ หลายแห่ง: กาย-ฉนฺโท – เสฺนโห- อนฺวยตา ปหียติ ม.1/500; อชฺฌตฺตญฺ จ พหิทฺธา จ กาเย ฉนฺทํ วิราชเย สุตฺ.นิ.203; กาเย อวิคต-ราโค โหติ (กาเม, รูเป) ที.3/238 = องฺ.3/249; มธุรกชาโต วิย กาโย สํ.3/106; องฺ.3/69.

III. (ตามหลังจริยศาสตร์).

—- กายเป็นหนึ่งใน 3 ทางที่บุคลิกภาพของมนุษย์มีความเกี่ยวพันกับสิ่งแวดล้อมของเขา และที่เราจะวินิจฉัยอุปนิสัยของเขาได้, ทางทั้ง 3 นั้นก็คือ การกระทำ มีด้วยกัน 3 อย่าง คือ ทางกาย, วาจา และใจ. กมฺมนฺต คือการกระทำ หรือตัวกระทำทั้ง 3 อย่างนี้ เป็นส่วนแบ่งย่อย ๆ 3 ส่วนของศีล หรือหลักความประพฤติ. กายเป็นทวารแรกและเป็นตัวแสดงการกระทำที่เด่นที่สุด หรือเป็นหลักในการกระทำ kar’ เป็นพฤติกรรมที่เห็นได้ชัดเจน. กาย ในฐานเป็นหนึ่งในบรรดาทวาร 3. —- ตามปกติแล้ว การรวมหมวดก็เป็นไปดังกล่าวข้างต้น ซึ่งจะพบเห็นอยู่ทั่วไปในพระบาลี. แต่ก็มีหมวดอื่น ๆ อีกที่พบเฉพาะในคัมภีร์เก่า ๆ, กล่าวคือ กาเยน วาจาย อุท เจตสา: ยญฺจ กโรติ กาเยน วาจาย อุท เจตสา ตํ หิ ตสฺส สกํ โหติ ตญฺจ อาทาย คจฺฉติ สํ.1/93 โย ธมฺมจารี กาเยน วาจาย อุท เจตสา อิเธว นํ ปสํสนฺติ เปจฺจ สคฺเค ปโมทติ สํ.1/102. —- และมีอยู่ใน องฺ.1/63; สุตฺ.นิ.232 ด้วย. นอกจากนี้ก็มีในสูตร อรกฺขิเตน กาเยน อ- วาจาย อ- จิตฺเตน สํ.2/231 = 271; 4/112. —- กับ สุ- และ ทุจฺจริต จะพบบ่อยมาก, อุ. สํ.1/71,72; ม.1/22 ฯลฯ. ในคำเชื่อมอื่น ๆ เราก็มี กาย- (ว-, ม-) กมฺม, โมเนยฺย, โสเจยฺย, ฯลฯ. —-  ก- ว- ม- หึสติ สํ.1/165; สํสปฺปติ องฺ.5/289; กาเย  (ว- ม-) สติ กาย-สญฺเจตนา-เหตุ อุปฺปชฺชติ สํ.2/39; ความแตกต่างของ กาย ในคำว่า ก-, ว-, ม- ที่ปรากฏในอภิธรรมนั้นมีด้วยกันหลายอย่าง, ทั้งหมดขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่างกุศลมูลและอกุศลมูล, ทั้งหมดเป็นผลของการกระทำ: ยํ..เอตรหิ กมฺมํ กโรติ กาเยน ว- ม- อิทํ วุจฺจติ นวกมฺมํ สํ.4/132. —- ข้อความที่อ้างถึงการกระทำ อุ. ที.3/245; องฺ.1/151; 5/302; (ดู กมฺม II. 2 ข.ค. ด้วย). —- ที่อ้างถึงการกระทำชั่ว: สํ.3/241,247; องฺ.1/201; กินฺ นุ กาเยน วาจาย มนสา  ทุกฺกฏํ กตํ เปต.2/13 และทุก ๆ แห่ง. อสฺสุตวา ปุถุชฺชโน ตีหิ ฐาเนหิ มิจฺฉาปฏิปชฺชติ กาเยน ว- ม- สํ.2/151; ปาปํ น กยิรา วจสา มนสา กาเยน วา กิญฺจน สพฺพโลเก สํ.1/12 = 31; ยสฺส กาเยน วาจาย มนสา นตฺถิ ทุกฺกฏํ สํวุตํ ตีหิ ฐาเนหิ, ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ธ.391 = เน.ป.183. กาเยน สํวโร สาธุ สาธุ วาจาย สํวโร มนสา สํวโร สาธุ สาธุ สพฺพตฺถ สํวโร ธ.361 = สํ.1/73 = มิลินฺ.399; เย จ กาเยน ว- ม- จ สุสํวุตา น เต มารวสานุคา, น เต มารสฺส ปจฺจคู สํ.1/104; วาจานุรกฺขี มนสา สุสํวุโต กาเยน จ อกุสลํ น กยิรา ธ.281 = เน.ป.183. กาย ในฐานเป็นหนึ่งในหมวด 2: วาจา กับ กาย สํ.1/172 (-คุตฺต) ม.1/461 ( รกฺขิต และ อ-); เปต.1/2  2 (สญฺญตา และ อ-); วิ.ม.28 (ก-  -วจี-กมฺม); เปต.98. กาย คำเดียวเท่านั้น ในฐานะเป็นคำรวมแทนทั้ง 3 อย่าง: องฺ.1/54; ธ.259,391; สุตฺ.นิ.206,407; กาเย อวีตราโค ม.1/101; องฺ.3/249; 4/461; – สมาจาร สํ.5/354; กายํ ปณิธาย ปฏิ.ส.1/175; วิภงฺค.244 = 252; ภาวิต- และ อ- ม.1/239; องฺ.1/250; 3/106, เทียบ: กาย-ปฺปโกปํ รกฺเขยฺย, กาเยน สํวุโต สิยา กายทุจฺจริตํ หิตฺวา, กาเยน สุจริตํ จเร ธ.231. อหึสกา เย มุนโย นิจฺจํ กาเยน สํวุตา ธ.225. กาย ในกรณีรวมกับ จิตฺต: ฐิโต ว กาโย โหติ ฐิตํ จิตฺตํ…สํ.5/74; อนิกฏฺฐ-กาโย นิกฏฺฐ-จิตฺโต องฺ.2/137; สารทฺธ-กาโย สงฺกิลิฏฺฐ-จิตฺโต องฺ.5/93 = 95 = 97; ภาวิต-กาโย, สีโล, จิตฺโต, ปญฺโญ สํ4/111; องฺ.4/111; 5/42. อปกสฺส กายํ อปกสฺส จิตฺตํ สํ.2/198. กาย-จิตฺต-ปสฺสทฺธิ, ฯลฯ ธ.ส.29-51. ใน 6 คู่ (หรือยุคล) เหล่านี้ อภิธรรมรุ่นต่อมาแยกแยะกายในฐาน = เจตสิก (ธรรมชาติที่เกิดร่วมกับจิต, หรือเวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์) โดยเอากายออกไปเสีย. Cpd. 96. และดูที่รวมกับคำอื่นเป็น กิลนฺต-กาย, กิลนฺต-จิตฺต ที่ กิลมติ ด้วย.

IV. (หลายอย่าง).

—- กาเยน (คือ “อย่างเห็นได้”) อญฺญมญฺญํ ปสฺสิตุํ องฺ.2/61; เช่น นานตฺต และ เอกตฺต ใน องฺ.4/39 = จุลฺ.นิ.570. ความสัมพันธ์ระหว่าง รูป-กาย (= จาตุมหาภูติก), และ นาม-กาย, คำควบเกี่ยวกับใจ (= เวทนา-สญฺญา, ฯลฯ) ได้บรรยายไว้ใน เน.ป.77,78 และ ปฏิ.ส.1/183, ดู สํ.2/24 ด้วย. กาย เป็น อนตฺตา, คือกายไม่มีวิญญาณ องฺ.5/109; สํ.4/166. นายํ กาโย ตุมฺหากํ นาปิ ปเรสํ ปุราณํ อิทํ กมฺมํ… “กายนี้ไม่ใช่ของท่าน และไม่ใช่ของคนอื่น: มันเป็น (รูปร่างของ) กรรมแต่ปางก่อน” สํ.2/64,65 = จุลฺ.นิ.680. ทิสฺสมาเนน กาเยน และ อุปฑฺฒ- ทิสฺสมาเนน สํ.1/156.

—- มโนมย-กาย กายที่ทำด้วยใจ (เทียบ วิมาน.อ.10 และ ที.อ.1/110,120,222) ตามมติพุทธโฆษ เฉพาะในขณะที่เข้าฌานเท่านั้น สํ.5/282; มโนมยปีติ-ภกฺข สยมฺปภ ที.1/17 = วิมาน.อ.10; มโนมยํ กายํ อภินิมฺมินาย… ที.1/77; ม- สพฺพงฺค-ปจฺจงฺคี ที.1/34,77,186,195.

—- ด้วยอาศัยอำนาจอิทธิฤทธิ์ (อิทฺธิ): กาเยน ว สํวตฺเตติ เขาทำตามใจชอบกับกายของเขา, คือ เขาเดินบนน้ำ, ปรากฏตัวทั่วไป ฯลฯ (ยาว พฺรหฺมโลกา ปิ: แม้จนถึงพรหมโลก) สํ.5/265 = ที.1/78 = องฺ.1/170: ดู สํ.5/283,284 ด้วย.

—- ในขั้นต่าง ๆ แห่งสังสาระ: กายํ นิกฺขิปติ เขาทอดกายลง สํ.4/60,400; เทียบ สํ.3/241 (โอสฺสฏฺฐ-กาย); หมายถึงความเปลี่ยนแปลงของร่างกายระหว่างกลางวันและกลางคืน (พูดถึงนางเปรต) เปต.2/12 11.

กาย+องฺค ส่วนแห่งร่างกาย, กาย’ องฺคํ วาจ’ องฺคํ วา น โกเปนฺติ: ย่อมไม่ยังส่วนแห่งร่างกาย และส่วนแห่งวาจาให้กำเริบ คือสำรวมกายและวาจา (อ้างถึงภิกษุเที่ยวบิณฑบาต) ชา.3/354; ธ.ส.อ.93,240;

กาย+อานุปสฺสินฺ ในกรณีรวมกันกับ กาเย กายานุปสฺสี “พิจารณาเห็นว่า กายเป็นมวลที่รวมเข้าด้วยกัน” ที.2/94,100,291; ที.3/58,77,141,221,276; ม.1/56; องฺ.1/39,296; 2/256; 3/449; 4/300,457; สํ.4/211; 5/9,75,298,329; วิภงฺค.193; 236; ดูข้างต้นด้วย.  อนุปสฺสนา ปฏิ.ส.1/178,184; 2/152,163,232; ปสฺสิต เน.ป.123;

กาย+อายตน ความรู้สึกจากการสัมผัส ที.3/243,280,290;  ธ.ส.585,613,653,783;

กาย+อินฺทฺริย อินทรีย์คือกาย ที.3/239;  ธ.ส.585,613,972; 

กาย+อุชฺชุกตา ความตรงของกาย (จิตฺต-, พูดถึงจิต) ธ.ส.53,277,330; วิ.ม.466; พุ.ท.16,20. 

กาย+อูปค อันเข้าไปสู่ร่าง(ใหม่) สํ.2/24;

กาย+กมฺม “การกระทำทางกาย”, การกระทำด้วยร่างกายในทางตรงข้ามกับการกระทำด้วยวาจาและใจ (ดูข้างต้น) ที.1/250; 3/191,245,279; ม.1/415; 3/206; องฺ.1/104; 3/6,9,141; 5/289; เถรี.277; ปฏิ.ส.2/195; ธ.ส.981.1006; วิภงฺค.208,321,366; ปุ.41; พุ.ท.69; ธ.ส.อ.68,77,344. 

กาย+กมฺมญฺญตา ความคล่องแคล่วแห่งร่างกาย, ความว่องไวแห่งความรู้สึกทางกาย รวมถึงนามกายด้วย ธ.ส.46,277,326. 

กาย+กมฺมนฺต = กมฺม, ในคำเชื่อม สมฺปตฺติ และ สนฺโทส องฺ.5/292,294,297; ม.1/17.

กาย+กลิ “สิ่งชั่วร้ายซึ่งมีอยู่ในกาย” = กายโทษ เถรี.458,501; เถร.อ.282,291;

กาย+กสาว ความไม่บริสุทธิ์ หรือความเลวทรามในร่างกาย องฺ.1/112;

กาย+คต “ที่เนื่องด้วยกาย” มักรวมกันกับ สติ ในความหมายอย่างเดียวกัน เป็น อนุปสฺสินฺ (ดู ข้างต้น) สํ.1/188; ม.3/92; องฺ.1/44;  สุตฺ.นิ.340 (เทียบ สุตฺ.นิ.อ.343); เถร.468,1225  ชา.1/394; ธ.293 = เน.ป.39; ธ.299; มิลินฺ.248,336,393; วิ.ม.111,197,240.

กาย+คนฺถ เครื่องร้อยรัด หรือกิเลสเครื่องรัดทางกาย (ผูกมัดกับ สังสาระ), ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 4 อย่าง คือ: อภิชฺฌา, พฺยาปาท, สีลพฺพต-ปรามาส, อิทํ-สจฺจาภินิเวส ที.3/230 = 5/59 = ธ.ส.1135 = วิภงฺค.374; เทียบ Mrs. Rh. D., Dhs.trst.P.304;

กาย+คนฺธ สะกดแทน คนฺถ ใน เน.ป.115-119;

กาย+คุตฺต ผู้ระวังรักษากายของเขา, คือ ควบคุมการกระทำของเขาได้ (+วจี-คุตฺต) สํ.1/172 = สุตฺ.นิ.74;

กาย+คุตฺติ การรักษาหรือการคุ้มครองกาย วิ.1/295; ชา.2/162;

กาย+จิตฺต กายและใจ: อาพาธ โรคทางกายและโรคทางใจ ชา.4/166; ดูบทสมาสอื่น ๆ ข้างต้น; 

กาย+ฑาห ความไข้ วิ.1/214;

กาย+ตปน การทำกายให้เร่าร้อน, การข่มกิเลสด้วยวิธีทรมานกาย, การบำเพ็ญทุกรกิริยา เปต.อ.98. 

กาย+ถาม พลังทางกาย ชา.3/114; 

ทรถ ความกระวนกระวายหรือทุกข์ร้อนทางกาย ชา.5/397; 6/295.

กาย+ทฬฺห ความแข็งแรงทางกาย วิ.2/76,313; 

กาย+ทุกฺข ความทุกข์ทางกาย (+เจโต ) ม.3/288;

กาย+ทุจฺจริต การประพฤติผิดทางกาย, กรรมชั่วที่ทำด้วยกาย (เทียบ กมฺม-) ที.3/52,96,111,214; องฺ.1/48; ธ.231; อิติ.54,58; ธ.ส.300,1305; พุ.ท.16,20; 

กาย+ทุฏฺฐุลฺล ความประพฤติชั่วหยาบทางกาย เถร.114; 

กาย+ทฺวาร ช่องทางกายหรือกายทวาร ชา.1/276; 4/14; วิมาน.อ.73; ธ.อ.4/85; พุ.ท.69; 

กาย+ธาตุ “ธาตุ” พูดถึงร่างกายคือสมรรถพลทางการสัมผัส หรือทางความรู้สึก ธ.ส.613; กถา.12; 

กาย+ปโกป ความกำเริบทางกาย, ความประพฤติผิดทางกาย (+วจี, มโน ) ธ.231 = ธ.อ.330; 

กาย+ปจาลก (นปุํ.) การทำกายให้ไหวหรือการคะนองกาย, “การวางท่าโอ่อวด” วิ.2/213; 

กาย+ปฏิพทฺธ 1. คุณ. (พูดถึงลมหายใจ), อันขึ้นอยู่กับกาย, หรืออันเกี่ยวเนื่องด้วยกาย สํ.4/293; อันติดพันหรือผูกพันกับกาย ชา.3/377; 5/254; 2. ปุ. สิ่งที่เนื่องด้วยกาย วิ.3/123; 4/214; 

กาย+ปโยค การประกอบทางกาย หรือกายประโยค ที.อ.1/72 = ธ.ส.อ.98;

กาย+ปริยนฺติก ซึ่งมีกายเป็นที่สุด, พูดถึง เวทนา = ความรู้สึก สํ.5/320 = องฺ.2/198;

กาย+ปริหาริก ผู้ดูแลหรือรักษากาย ที.1/71 = องฺ.2/209 = ปุ.58; วิ.ม.65 (จีวร); ที.อ.1/207; 

กาย+ปสาท ความแจ่มใสแห่งความรู้สึกทางกาย หรือกายประสาท ธ.ส.อ.306; พุ.ท.62,66,74; เทียบ Dhs. trsl. 173,198;

กาย+ปสฺสทฺธิ กายปัสสัทธิ หรือความสงบระงับทางกาย สํ.4/125 (เทียบ 4/351 และข้างต้น); 5/66,104; ธ.ส.40,277,320; ธ.ส.อ.130; พุ.ท.16,19,29; 

กาย+ปาคพฺภิย “ความคะนองกาย” ความไม่อาย, ความโลภ, โดยทั่ว ๆ ไป พูดถึงสตรี ชา.2/32; 5/449;

กาย+ปาคพฺภินิย เหมือนกัน ชา.1/288; 

กาย+ปาคฺญฺญตา ความคล่องแคล่วแห่งกาย, ความเหมาะสมแห่งกาย, ตรงข้ามกับ กายเคลญฺญ ความเฉื่อยชา ธ.ส.46,277,326; วิ.ม.466; พุ.ท.16,20,157; 

กาย+ผนฺทิต (นปุํ.) ความดิ้นรนทางกาย ชา.3/25; 

พทฺธ ผูกพันทางกาย, เกี่ยวเนื่องด้วยกาย, ใช้กับ จีวร ที.อ.1/207; 

กาย+พนฺธน ผ้าหรือเชือกรัดเอว, เข็มขัด, ประคตเอว วิ.1/46,51; 2/118,135,177,213,266; ม.1/237; 

กาย+พล กำลังกาย เปต.อ.30; 

ภาวนา การอบรมหรือการฝึกหัดทางกาย ที.3/219; ม.1/237; เทียบ มิลินฺ.85;

กาย+มจฺเฉร “ความตระหนี่ทางกาย”, ความเห็นแก่ตัว เถร.1033;

กาย+มุทุตา ความอ่อนของกาย = กมฺมญฺญตา ธ.ส.44,277,324; พุ.ท.16,20,157; 

กาย+มุนิ นักพรตผู้บำเพ็ญตบะทางกาย อิติ.56; 

กาย+โมเนยฺย ความเป็นปราชญ์ด้วยการบำเพ็ญตบะทางกาย อิติ.56;67; ที.3/220; องฺ.1/273; จุลฺ.นิ.514; 

กาย+รถ รถที่มีลักษณะดุจกาย ชา.6/253; 

กาย+ลหุตา ความเบาของร่างกาย = มุทุตา, ในข้อความที่กล่าวถึงอย่างเดียวกัน;

กาย+วงฺก ความคดแห่งการกระทำ องฺ.1/112; 

กาย+วิการ การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของร่างกาย ชา.3/354; 

กาย+วิชมฺภน ความว่องไวหรือความพร้อมอยู่เสมอของร่างกาย ธ.อ.4/113;

กาย+วิญฺญตฺติ กายวิญญัติ, คือการแสดงออกทางกาย, ใช้สำหรับภิกษุผู้เที่ยวขอบิณฑบาต ธ.ส.585,636,654,844; ธ.ส.อ.82,301; มิลินฺ.229,230; วิ.ม.448; พุ.ท.69,70; 

กาย+วิญฺญาณ ความรู้สึกทางสัมผัส, กายวิญญาณ ที.3/243; ธ.ส.556,585,651,685,790; มิลินฺ.59; วิภงฺค.180;

กาย+ธาตุ กายธาตุ, ธาตุของความรู้สึกด้วยการสัมผัส ธ.ส.560; วิภงฺค.88; กถา. 12;

กาย+วิญฺเญยฺย พึงทราบได้ด้วยสัมผัสทางกาย (+โผฏฺฐพฺพ, ดูข้างต้น) ที.1/245; 2/281; 3/234; ม.1/85,144; ธ.ส.589,967,1095; วิภงฺค.14; กถา.210; มิลินฺ.270;

กาย+วิปฺผนฺทน ความไหวทางกาย, ความดิ้นรนทางกาย, ใช้สำหรับ วิญฺญตฺติ พุ.ท.69,70; ธ.ส.อ.323; 

กาย+วิเวก ความสงัดกาย, กายวิเวก, การอยู่อย่างโดดเดี่ยว ชา.1/289; ธ.ส.อ.165;

กาย+วูปกาส = วิเวก ที.3/285 (+จิตฺต “ความเป็นหนึ่ง” พูดถึงจิต); เวยฺยาวจฺจ การรับใช้ด้วยกาย ชา.1/12; -กร คนรับใช้ ชา.2/334; 

กาย+เวยฺยาวฏิก ผู้รับใช้ ชา.6/418; สุตฺ.นิ.104; ธ.อ.1/27; -กมฺม การกระทำทางกาย ชา.5/317 (= เวยฺยาวจฺจ) ธ.ส.อ.160; 

กาย+สํสคฺค ความคลุกคลีทางกาย, การร่วมประเวณี วิ.3/121,190; ชา.6/566;

กาย+สกฺขินฺ ผู้หยั่งทราบและถึงซึ่งสัจธรรมที่ว่าด้วยร่างกาย (เทียบ อนุปสฺสินฺ) ที.3/105,254; ม.1/478 = ปุ.14,29; ม.2/113; 3/45; องฺ.1/74; 118; 4/10,451; 5/23; ปฏิ.ส.2/52,62; เน.ป.190; กถา. 58; วิ.ม.93,387. 

กาย+สงฺขาร กองแห่งกาย, กายสังขาร วิ.3/71; สํ.2/40; 3/125; 4/293; องฺ.1/122; 2/158,231; ปฏิ.ส.1/184,186; วิ.ม.530. 

กาย+สงฺคห การควบคุมกาย, กายสงเคราะห์ (+จิตฺต ) เน.ป.91; 

กาย+สญฺเจตนา (-เหตุ) กายสัญเจตนา, ความจงใจทำด้วยกาย, คือ ความคิดอันไม่บริสุทธิ์ องฺ.2/157; วิ.ม.530 (+วจี, มโน).

กาย+สมาจาร ความประพฤติ (ชอบ) ที่เกี่ยวกับทางกาย ที.2/279 (+วจี ) ม.1/272; 2/113; 3/45; สํ.5/354; องฺ.3/186.

กาย+สมฺปีฬน การบีบบังคับทางกาย, ความบีบคั้นทางกาย (พูดถึงความทุกข์) เน.ป.29;

กาย+สมฺผสฺส ความรู้สึกทางสัมผัส (ดู อายตน) ที.3/243; สํ.5/351; ธ.ส.585,616,651,684; -ช อันเกิดจากสัมผัสหรือความรู้สึก ที.3/244; ธ.ส.445,558;

กาย+สุจริต กายสุจริต, เป็นหนึ่งในกรรม 3 อย่าง (วจี-,  มโน-) ที.3/52,96,111,169,215; อิติ.55,59,99, ธ.ส.1306;

กาย+สุจิ ความสะอาดทางกาย, คือความบริสุทธิ์แห่งการกระทำ (+วจี, เจโต) องฺ.1/273; อิติ.55;

กาย+โสเจยฺย ความบริสุทธิ์ทางกาย, การทำกายให้บริสุทธิ์, (+วจี, มโน) ที.3/219; องฺ.1/271; 5/264,266; อิติ.55.

กาย  (ประมวลศัพท์)

กอง, หมวดหมู่, ที่รวม, ชุมนุม เช่น สัตวกาย (มวลสัตว์) พลกาย (กองกำลังทหาร) รถกาย (กองทหารรถ) ธรรมกาย (ที่รวมหรือที่ชุมนุมแห่งธรรม)

1. ที่รวมแห่งอวัยวะทั้งหลาย หรือชุมนุมแห่งรูปธรรม คือ ร่างกาย บางทีเรียกเต็มว่า รูปกาย

2. ประชุมแห่งนามธรรม หรือกองแห่งเจตสิก เช่น ในคำว่า “กายปัสสัทธิ” (ความสงบเย็นแห่งกองเจตสิก) บางทีเรียกเต็มว่า นามกาย (แต่ในบางกรณี นามกาย หมายถึงนามขันธ์หมดทั้ง ๔ คือ ทั้ง เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ หรือ ทั้งจิต และเจตสิก);

        นอกจากความหมายพื้นฐาน ๒ อย่างนี้แล้ว ยังมีความหมายปลีกย่อย และความหมายเฉพาะ ตามข้อความแวดล้อมอีกหลายอย่าง เช่น

        ในคำว่า “กายสัมผัส” (สัมผัสทางกาย) หมายถึงกายอินทรีย์ที่รับรู้โผฏฐัพพะคือสิ่งต้องกาย, ในคำว่า “กายทุจริต” (ทุจริตด้วยกาย) หมายถึงกายทวารที่ใช้ทำกรรมคือเคลื่อนไหวแสดงออกและทำการต่างๆ,

        ในคำว่า “กายสุข” (สุขทางกาย) หมายถึงทางทวารทั้ง ๕ คือตา หู จมูก ลิ้น และกาย ซึ่งคู่กับเจโตสุขหรือสุขทางใจ,

        ในคำว่า “กายภาวนา” (การพัฒนากาย) หมายถึงอินทรียสังวรคือความรู้จักปฏิบัติให้ได้ผลดีในการใช้ตา หู จมูก ลิ้น และกาย ดังนี้ เป็นต้น

ดูโพสในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย