บาลีวันละคำ

คมฺภีร (บาลีวันละคำ 119)

คมฺภีร

อ่านว่า คำ-พี-ระ

ในภาษาไทยใช้ว่า “คัมภีร์” อ่านว่า คำ-พี

คำนี้เป็นคุณนาม (คำวิเศษณ์) แปลว่า ลึก, ลึกซึ้ง, หยั่งไม่ถึง, มีหลักดี, สุขุม, สังเกตยาก, ยากยิ่ง

ในภาษาไทยมักหมายถึงหนังสือตําราที่สําคัญทางศาสนาหรือโหราศาสตร์เป็นต้น

คัมภีร์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท เฉพาะที่เป็นหลักคำสอน แบ่งระดับชั้นดังนี้ –

1 “พระไตรปิฎก” ประมวลคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธเจ้า เป็นหลักฐานชั้นที่หนึ่ง (ข้อมูลระดับปฐมภูมิ) รวบรวมขึ้นตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ 3 เดือน บางทีเรียกว่า “พระบาลี” หรือเรียกควบกันเป็น “พระบาลีพระไตรปิฎก” พิมพ์เป็นอักษรไทยแบ่งเป็น 45 เล่ม

2 “อรรถกถา” คัมภีร์อธิบายความในพระไตรปิฎก ฉบับที่พิมพ์แล้วมีประมาณ 60 เล่ม

3 “ฎีกา” คัมภีร์อธิบายความในอรรถกถา

4 “อนุฎีกา” คัมภีร์อธิบายความในฎีกา

คัมภีร์ฎีกาและอนุฎีกาฉบับที่พิมพ์แล้วมีประมาณ 30 เล่ม

คัมภีร์ทุกระดับต้นฉบับเป็นภาษาบาลี

เหตุที่ “คัมภีร์” มีความหมายไปถึง “หนังสือตําราที่สําคัญทางศาสนา” คงเป็นเพราะหนังสือเหล่านี้มีข้อความลึกซึ้งและเข้าใจยาก อันเป็นความหมายของคำว่า “คัมภีร์

ระวัง : “คัมภีร์” เขียน ไม้หันอากาศ คัม-  ไม่ใช่ อำ คำ

บาลีวันละคำ (119)

4-9-55

คัมภีร-, คัมภีร์

  [คําพีระ-, คําพี] น. หนังสือตําราที่สําคัญทางศาสนาหรือโหราศาสตร์เป็นต้น; ลักษณนามเรียกหนังสือตําราเหล่านี้ เช่น คัมภีร์หนึ่ง คัมภีร์โหราศาสตร์ ๒ คัมภีร์.ว. ลึกซึ้ง. (ป.).

คัมภีรภาพ

  น. ความลึกซึ้ง.

คมฺภีร (บาลี-อังกฤษ)

(คุณ.) (เวท. คมฺภีร และ คภีร Vedic gambhīra & gabhīra)

ลึก, ลึกซึ้ง, หยั่งไม่ถึง, มีหลักดี, สุขุม, สังเกตยาก, ยากยิ่ง deep, pro-found, unfathomable, well founded, hard to perceive, difficult.

(ก) ตามตัว. เกี่ยวกับทะเลสาบ (ลึก) lit. of lakes: Dh 83; Pv ii.119 (=agādha); เกี่ยวกับถนน (เต็มไปด้วยหล่ม) of a road (full of swamps) J i.196.

(ข) อุปมา. เกี่ยวกับความรู้และปัญญา fig. of knowledge & wisdom: dhammo g. duddaso . . . M i.487;

(นป.) ห้วงลึก, พื้นฐานลึก, คือ หลักฐานมั่นคง the deep; deep ground, i. e. secure foundation Sn 173;

คัมภีร์

1. ลึกซึ้ง

2. ตำราที่ยกย่อง เช่นตำราทางศาสนา ตำราโหราศาสตร์

ดูโพสในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย