บาลีวันละคำ

นิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ (บาลีวันละคำ 1,760)

นิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ

อ่านว่า นิ-ระ-โร-คัน-ตะ-ราย-ไช-ยะ-วัด-จะ-ตุ-ระ-ทิด

แยกศัพท์เป็น นิร + โรค + อันตราย + ชัย + วัฒน์ +จตุรทิศ

(๑) “นิร

เป็นศัพท์จำพวก “อุปสรรค” ในบาลีนิบาตตัวนี้เป็น “นิ” แปลว่า เข้า, ลง, ไม่มี, ออก เมื่อนำหน้าคำที่ขึ้นต้นด้วยสระ มักลง อาคมแทรกระหว่างคำที่มาเชื่อมกัน เช่น –

นิ + + อนฺตราย = นิรนฺตราย แปลว่า ไม่มีอันตราย

นิ + + อปราธ = นิรปราธ แปลว่า ไม่มีความผิด

อักษรจำพวกที่เรียกว่า “อาคม” นี้ยังมีอีกหลายตัว เหตุผลสำคัญที่ต้องลงอาคมก็เพื่อให้เกิดความสละสลวยหรือคล่องปากเมื่อออกเสียง

ในสันสกฤต อุปสรรคตัวนี้เป็น “นิร

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

นิรฺ : (นิบาต) นิบาตและอุปสรรคบอกอสังศยะหรือความเชื่อแน่; ความประติเษธ; ความปราศจาก; a particle and prefix implying certainty or assurance; negation or privation; – (กริยาวิเศษณ์ หรือ บุรพบท) ภายนอก, นอก, ออก, ปราศจากหรือไม่มี, พลัน; outside, out, without, forth.”

(๒) “โรค

บาลีอ่านว่า โร-คะ รากศัพท์มาจาก รุชฺ (ธาตุ = เสียดแทง, ทำลาย) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อุ ที่ รุ-(ชฺ) เป็น โอ (รุชฺ > โรช), แปลง ชฺ เป็น

: รุชฺ + = รุชณ > รุช > โรช > โรค แปลตามศัพท์ว่า (1) “อาการที่เสียดแทง” (2) “อาการที่ทำลายอวัยวะน้อยใหญ่” หมายถึง ความเจ็บป่วย, ความไข้ (illness, disease)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

โรค, โรค– : (คำนาม) ภาวะที่ร่างกายทํางานได้ไม่เป็นปรกติเนื่องจากเชื้อโรคเป็นต้น. (ป., ส.).”

(๓) “อันตราย

บาลีเป็น “อนฺตราย” (อัน-ตะ-รา-ยะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) “อนฺตร” ( = ระหว่าง) + อิ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + ปัจจัย, แปลง อิ เป็น อย ทีฆะ อะ เป็น อา (อิ > อย > อาย)

: อนฺตร + อิ > อย > อาย : อนฺตร + อาย = อนฺตราย + = อนฺตราย แปลตามศัพท์ว่า (1) “ภาวะที่ถึงในระหว่างจุติกับปฏิสนธิ” (2) “ภาวะเป็นเหตุให้ความสำเร็จแห่งการงานถึงความหยุดลงกลางคัน

(2) “อนฺตร” ( = ระหว่าง) + อายฺ (ธาตุ = เดือดร้อน) + ปัจจัย,

: อนฺตร + อายฺ = อนฺตราย + = อนฺตราย แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะเป็นเหตุให้เดือดร้อนในระหว่างจุติกับปฏิสนธิ

(3) “อนฺตร” ( = ระหว่าง) อา (คำอุปสรรค กลับความ) + อิ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + ปัจจัย, แปลง อิ ที่ อิ เป็น (อิ > อย)

: อนฺตร + อา = อนฺตรา + อิ > อย = อนฺตราย + = อนฺตราย แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่มาในระหว่าง” (พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปลตรงกันว่า “coming in between”)

อนฺตราย” หมายถึง อุปสรรค, การขัดขวาง, สิ่งกีดขวาง, การป้องกัน, เครื่องกีดขวาง, อันตราย, อุบัติเหตุ (obstacle, hindrance, impediment; prevention, bar; danger, accident)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อันตราย : (คำนาม) เหตุที่อาจทําให้ถึงแก่ความตายหรือพินาศ. (ป., ส. อนฺตราย ว่า อุปสรรคหรือภัยอันมาในระหว่าง).”

(๔) “ชัย

บาลีเป็น “ชย” (ชะ-ยะ) รากศัพท์มาจาก ชิ (ธาตุ = ชนะ) + ปัจจัย, แผลง อิ ที่ ชิ เป็น เอ, แปลง เอ เป็น อย (ชิ > เช > ชย)

: ชิ > เช > ชย + = ชย แปลตามศัพท์ว่า “ความชนะ” หมายถึง การปราบ, การพิชิต, ชัยชนะ (vanquishing, overcoming, victory)

(๕) “วัฒน์

บาลีเป็น “วฑฺฒน” (วัด-ทะ-นะ) รากศัพท์มาจาก วฑฺฒฺ (ธาตุ = เจริญ, เพิ่มขึ้น) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ)

: วฑฺฒฺ + ยุ > อน = วฑฺฒน แปลตามศัพท์ว่า “การเจริญ” หมายถึง การเพิ่มขึ้น, การยกให้สูง, การบำรุง, การเพิ่มเติม, การทำให้เจริญขึ้น, การทำให้ยาวออกไป (increasing, augmenting, fostering; increase, enlargement, prolongation) ความหมายที่เราคุ้นกันก็คือ “ความเจริญ

วฑฺฒน ในภาษาไทยตัดตัวสะกดออกตามหลักนิยม ใช้เป็น “วัฒน-” (วัด-ทะ-นะ-, มีคำอื่นสมาสท้าย) หรือ “วัฒน์” (วัด, อยู่ท้ายคำ)

(๖) “จตุรทิศ” แยกศัพท์เป็น จตุร + ทิศ

(ก) “จตุร” ศัพท์เดิมเป็น “จตุ” (จะ-ตุ) แปลว่า สี่ (จำนวนสี่) แปลงเป็น “จตุร” เมื่อเป็นส่วนหน้าของคำสมาส

(ข) “ทิศ” บาลีเป็น “ทิสา” รากศัพท์มาจาก ทิสฺ (ธาตุ = เห็น) + ปัจจัย + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: ทิสฺ + = ทิส + อา = ทิสา แปลตามศัพท์ว่า “ส่วนที่ปรากฏโดยการโคจรของดวงจันทร์เป็นต้นว่าทางนี้อยู่ข้างหน้า ทางนี้อยู่ข้างหลัง

จตุร + ทิสา = จตุรทิสา ในบาลีศัพท์นี้เป็น “จาตุทฺทิสา” ก็มี

จาตุทฺทิสา > จาตุรทิสา > จตุรทิศ แปลว่า “ทิศทั้งสี่” หรือ สี่ทิศ

การประสมคำ :

(1) “นิรโรคนฺตราย

(ก) โรค + อนฺตราย = โรคนฺตราย แปลว่า “โรคและอันตราย

(ข) นิร + โรคนฺตราย = นิรโรคนฺตราย (นิ-ระ-โร-คัน-ตะ-รา-ยะ) แปลว่า “ไม่มีโรคและอันตราย” (ไม่มีโรคและไม่มีอันตราย)

เขียนแบบไทยเป็น “นิรโรคันตราย” (นิ-ระ-โร-คัน-ตะ-ราย)

(2) “ชยวฑฺฒน

ชย + วฑฺฒน = ชยวฑฺฒน (ชะ-ยะ-วัด-ทะ-นะ) แปลว่า (1) “ชัยชนะและความเจริญ” (2) “เจริญด้วยชัยชนะ” (เจริญชัย)

เขียนแบบไทยเป็น “ชัยวัฒน์” (ไช-ยะ-วัด)

นิรโรคนฺตราย + ชยวฑฺฒน + จตุรทิส = นิรโรคนฺตรายชยวฑฺฒนจตุรทิส

เขียนแบบไทยเป็น “นิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ

นิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ” เป็นนามพระพุทธรูป เรียกว่า “พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ” แปลว่า “พระพุทธเจ้าผู้เป็นเหตุให้บำราศโรคปลอดอันตรายและเจริญด้วยชัยชนะทั่วทั้งสี่ทิศ

…………..

ความเป็นมา :

เมื่อปีพุทธศักราช 2511 กรมการรักษาดินแดนได้ดำเนินการจัดสร้างพระพุทธรูปขึ้น 4 องค์ โดยกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททอง ณ กรมการรักษาดินแดน เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พุทธศักราช 2511 พระราชทานนามพระพุทธรูปทั้ง 4 องค์ว่า “พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ” และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด 4 จังหวัดรับพระราชทานอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ 4 ทิศของประเทศ คือ –

ทิศเหนือ ประดิษฐาน ณ จังหวัดลำปาง (ศาลหลักเมือง)

ทิศใต้ ประดิษฐาน ณ จังหวัดพัทลุง (ศาลากลางจังหวัด)

ทิศตะวันออก ประดิษฐาน ณ จังหวัดสระบุรี (วัดศาลาแดง)

ทิศตะวันตก ประดิษฐาน ณ จังหวัดราชบุรี (เขาแก่นจันทน์)

พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ” นี้ เรียกกันเป็นสามัญว่า “พระสี่มุมเมือง”

…………..

ดูก่อนภราดา!

: รักษาเมืองให้พ้นอันตรายไว้ได้สิบทิศ

: ยังไม่ประเสริฐเท่ารักษาจิตไม่ให้คิดทำอันตราย

1-4-60