บาลีวันละคำ

เตปิฏก (บาลีวันละคำ 122)

เตปิฏก

อ่านว่า เต-ปิ-ตะ-กะ

ประกอบด้วยคำว่า ติ (แปลงเป็น เต) + ปิฏก = เตปิฏก

ติ” แปลว่า “สาม” (จำนวนสาม)

ปิฏก” ความหมายแรก แปลว่า ตะกร้า, กระจาด, กระบุง, ปุ้งกี๋

อีกความหมายหนึ่ง แปลว่า คัมภีร์, ตำรา

ในที่นี้ “ปิฏก” หมายถึงคัมภีร์, ตำรา

เตปิฏก” ในภาษาไทยใช้ว่า “ไตรปิฎก” แปลว่า “คัมภีร์ที่บรรจุพุทธพจน์ (และเรื่องราวชั้นเดิมของพระพุทธศาสนา) 3 ชุด” หรือ “ประมวลแห่งคัมภีร์ที่รวบรวมพระธรรมวินัย 3 หมวด” กล่าวคือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก และ อภิธรรมปิฎก

ต้นฉบับพระไตรปิฎกเป็นภาษาบาลี ในประเทศไทยเรานี้แต่เดิมนิยมจาร (เขียน) บนใบลานเป็นอักษรขอม ได้รับการตีพิมพ์เป็นเล่มหนังสือด้วยอักษรไทยครั้งแรกในรัชกาลที่ 5 เริ่มเมื่อ พ.ศ.2431 เสร็จและฉลองพร้อมกับงานรัชดาภิเษกใน พ.ศ.2436 แต่ยังมีเพียง 39 เล่ม (ขาดคัมภีร์ปัฏฐาน) ต่อมา พ.ศ.2468 ในรัชกาลที่ 7 ได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดพิมพ์ใหม่เป็นฉบับที่สมบูรณ์ เพื่ออุทิศถวายพระราชกุศลแด่รัชกาลที่ 6 เรียกว่า สฺยามรฏฺฐสฺส เตปิฏกํ (พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ) มีจำนวนจบละ 45 เล่ม เป็นวินัยปิฎก 8 เล่ม พระสุตตันตปิฎก 25 เล่ม และพระอภิธรรมปิฎก 12 เล่ม

: อ่าน “บาลีวันละคำ” ยังแปลภาษาบาลีไม่ออกก็ไม่เป็นไร

: พระไตรปิฎกภาษาไทยมีครบแล้วทุกเล่ม

บาลีวันละคำ (122)

7-9-55

ปิฏก นป.

ปิฎก, ตามศัพท์แปลว่า กระจาด หรือตระกร้าอันเป็นภาชนะสำหรับใส่ของต่างๆ เอามาใช้ในความหมาย เป็นที่รวบรวมคำสอนในพระพุทธศาสนาที่จัดเป็นหมวดหมู่แล้ว มี ๓ คือ ๑. วินัยปิฏก รวบรวมพระวินัย ๒. สุตตันตปิฏก รวบรวมพระสูตร ๓. อภิธรรมปิฏก รวบรวมพระอภิธรรม เรียกรวมกันว่าพระไตรปิฎก (ปิฎก ๓) ดู ไตรปิฏก

(พจนานุกรมศัพท์บาลี)

เตปิฏก นป.

ไตรปิฏก; พระวินัยปิฏก = หมวดพระวินัย, พระสุตตันตปิฏก = หมวดพระสูตร, พระอภิธรรมปิฏก = หมวดพระอภิธรรม.

(พจนานุกรมศัพท์บาลี)

ติเปฏก, ติเปฏกี ผู้ทรงพระไตรปิฎก

(พจนานุกรมศัพท์บาลี)

ไตรปิฎก

“ปิฎกสาม”; ปิฎก แปลตามศัพท์อย่างพื้นๆ ว่า กระจาดหรือตะกร้า อันเป็นภาชนะสำหรับใส่รวมของต่างๆ เข้าไว้ นำมาใช้ในความหมายว่า เป็นที่รวบรวมคำสอนในพระพุทธศาสนาที่จัดเป็นหมวดหมู่แล้ว โดยนัยนี้ ไตรปิฎกจึงแปลว่า “คัมภีร์ที่บรรจุพุทธพจน์ (และเรื่องราวชั้นเดิมของพระพุทธศาสนา) ๓ ชุด” หรือ “ประมวลแห่งคัมภีร์ที่รวบรวมพระธรรมวินัย ๓ หมวด” กล่าวคือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก และ อภิธรรมปิฎก

        พระไตรปิฎกบาลีได้รับการตีพิมพ์เป็นเล่มหนังสือด้วยอักษรไทยครั้งแรกในรัชกาลที่ ๕ เริ่มเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๑ เสร็จและฉลองพร้อมกับงานรัชดาภิเษกใน พ.ศ.๒๔๓๖ แต่ยังมีเพียง ๓๙ เล่ม (ขาดคัมภีร์ปัฏฐาน) ต่อมา พ.ศ.๒๔๖๘ ในรัชกาลที่ ๗ ได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดพิมพ์ใหม่เป็นฉบับที่สมบูรณ์ เพื่ออุทิศถวายพระราชกุศลแด่รัชกาลที่ ๖ เรียกว่า สฺยามรฏฺฐสฺส เตปิฏกํ (พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ) มีจำนวนจบละ ๔๕ เล่ม

(ประมวลศัพท์)

ปิฎก

 น. ตะกร้า; หมวดแห่งคําสอนในพระพุทธศาสนา. (ป., ส. ปิฏก). (ดู ไตรปิฎก)

ปิฎก

 น. ตะกร้า; หมวดแห่งคำสอนในพระพุทธศาสนา. (ป., ส. ปิฏก).

ไตรปิฎก

 [-ปิดก] น. พระธรรมคําสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามี ๓ ปิฎก คือ พระวินัย เรียก วินัยปิฎก พระสูตร เรียก สุตตันตปิฎก พระอภิธรรม เรียก อภิธรรมปิฎก, ตรีปิฎก ก็ว่า.

ไตรปิฎก

 [-ปิดก] น. พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มี ๓ ปิฎก คือ พระวินัย เรียก วินัยปิฎก พระสูตร เรียก สุตตันตปิฎก พระอภิธรรม เรียก อภิธรรมปิฎก, ใช้ว่า ตรีปิฎก ก็ได้.

ดูโพสในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย