บาลีวันละคำ

ฏีกา (บาลีวันละคำ 131)

ฏีกา

อ่านว่า ตี-กา ( ปฎัก)

ภาษาไทยใช้ว่า ฏีกา ( ชฎา)

ฏีกา” มีรากศัพท์มาจาก “ฏิก” (ติ-กะ) ธาตุ แปลว่า “รู้” หรือ “บรรลุ” ลง ปัจจัย และ อา อิตถีลิงค์ = ฏิก + + อา = ฏิกา

ยืดเสียง ฏิ เป็น ฏี (ภาษาไวยากรณ์ว่า “พฤทธิ์ อิ เป็น อี”) = ฏีกา แปลตามศัพท์ว่า “ถ้อยคำเป็นเครื่องรู้ข้อความ

ความหมายเดิมในภาษาบาลี “ฏีกาฎีกา” หมายถึงคัมภีร์ที่พระอาจารย์ทั้งหลายในภายหลัง แต่งแก้หรืออธิบายเพิ่มเติมอรรถกถา

ลำดับชั้นคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา คือ –

1 พระบาลีพระไตรปิฎก เป็นหลักฐานชั้นแรกสุด เรียกว่า “พระไตรปิฎก” หรือ “พระบาลี

2 คำอธิบายพระไตรปิฎก เรียกว่า “อรรถกถา

3 คำอธิบายอรรถกถา เรียกว่า “ฎีกา

4 คำอธิบายฎีกา เรียกว่า “อนุฎีกา

5 ถ้ามีความคิดเห็นใดๆ ต่อจากอนุฎีกาอีก ก็เรียกว่า “อาจริยมติ” (อา-จะ-ริ-ยะ-มะ-ติ) แปลว่า “ความเห็นของอาจารย์” (ถึงขั้นนี้ก็คือสุดแต่ว่าอาจารย์สำนักไหนจะสอนว่าอย่างไร)

ในภาษาไทย เอาคำว่า “ฎีกา” มาใช้ในความหมายอื่นๆ ด้วย คือ

1 หนังสือที่เขียนนิมนต์พระสงฆ์

2 ใบแจ้งการขอเบิกเงินจากคลัง

3 ใบบอกบุญเรี่ยไร

4 คําร้องทุกข์ที่ราษฎรทูลเกล้าฯ ถวายต่อพระมหากษัตริย์

5 ชื่อศาลยุติธรรมสูงสุดของประเทศไทย ซึ่งเรียกว่า ศาลฎีกา

6 การคัดค้านคําพิพากษาหรือคําสั่งศาลอุทธรณ์ที่คู่ความยื่นต่อศาลชั้นต้น เพื่อเสนอให้ศาลฎีกาพิจารณาพิพากษาหรือวินิจฉัยชี้ขาด

ในทางคดีโลก ศาลฎีกาถือว่าสูงสุดเด็ดขาด

แต่ในทางคดีธรรม พระไตรปิฎกถือว่าสูงสุดเด็ดขาด

(คำสอนของอาจารย์ ก็ยังต้องสอบทานกับพระไตรปิฎก)

บาลีวันละคำ (131)

16-9-55

ฏีกา (ศัพท์วิเคราะห์)

ฏิกียติ ชานิยติ อตฺโถ เอตายาติ ฏีกา ถ้อยคำเป็นเครื่องรู้ข้อความ

ฏิก ธาตุ ในความหมายว่ารู้, บรรลุ อ ปัจจัย อา อิตฺ. พฤทธิ์ อิ เป็น อี

ฏีกา อิต.(พจนานุกรมศัพท์บาลี)

ฎีกา, หนังสือที่แก้หรืออธิบายอรรถกถา.

ฏีกาจริย ป.

พระฎีกาจารย์, อาจารย์ผู้แต่งหนังสืออธิบายอรรถกถา.

ฎีกา (ประมวลศัพท์)

1. ปกรณ์ที่พระอาจารย์ทั้งหลายในภายหลัง แต่งแก้หรืออธิบายเพิ่มเติมอรรถกถา 2. หนังสือนิมนต์พระสงฆ์ 3. ใบบอกบุญเรี่ยไร

ฎีกา

  น. คําอธิบายขยายความ เช่น ฎีกาพาหุง; ชื่อคัมภีร์หนังสือที่แก้หรืออธิบายคัมภีร์อรรถกถา; หนังสือที่เขียนนิมนต์พระสงฆ์; ใบแจ้งการขอเบิกเงินจากคลัง; ใบบอกบุญเรี่ยไร; (กฎ) คําร้องทุกข์ที่ราษฎรทูลเกล้าฯ ถวายต่อพระมหากษัตริย์; ชื่อศาลยุติธรรมสูงสุดของประเทศไทย ซึ่งเรียกว่าศาลฎีกา; การคัดค้านคําพิพากษาหรือคําสั่งศาลอุทธรณ์ที่คู่ความยื่นต่อศาลชั้นต้น เพื่อเสนอให้ศาลฎีกาพิจารณาพิพากษาหรือวินิจฉัยชี้ขาด; (โบ) ใบเรียกเก็บเงิน.(ปาก) ก. ยื่นคําร้องขอหรือคําคัดค้านต่อศาลฎีกา เช่น คดีนี้จะฎีกาหรือไม่. (ป. ฏีกา).

ดูโพสในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย