วิวาท (บาลีวันละคำ 149)
วิวาท
อ่านว่า วิ-วา-ทะ
ประกอบด้วย วิ (= ต่าง) + วาท (= คำพูด การพูด, ลัทธิ, ความเห็น)
“วิวาท” แปลตามศัพท์ว่า “การพูดที่ทำให้แย้งกัน” หรือ “ภาวะเป็นเหตุพูดแย้งกัน” = พูดต่างกัน, กล่าวต่าง คือว่าไปคนละทาง ไม่ลงกันได้
แปลตามความว่า การทะเลาะ, การโต้แย้งกัน, การกล่าวเกี่ยงแย่งกัน, ทุ่มเถียงกัน, โต้เถียงกัน, เป็นปากเป็นเสียงกัน
พระพุทธเจ้าตรัสว่า รากเหง้าของการวิวาทมี 6 คือ –
1. โกธ ความโกรธ (anger)
2. มกฺข ความลบหลู่คุณท่าน (ข้อนี้ฝรั่งแปลว่า selfishness)
3. อิสฺสา ความริษยา (envy)
4. สาเถยฺย ความโอ้อวด (fraudulence)
5. ปาปิจฺฉตา ความอยากได้ในทางที่ผิด (evil intention)
6. สนฺทิฏฺฐิปรามาส ความยึดถือแต่ความเห็นของตน (ข้อนี้ฝรั่งแปลว่า worldliness)
ตามศัพท์จะเห็นได้ว่า “วิวาท” เป็นการทะเลาะกันด้วยคำพูด ไม่ใช่ทะเลาะกันโดยใช้กำลัง เพราะฉะนั้น :
วิวาทแบบอารยชน คือเสนอเหตุผลขึ้นตาชั่ง
แต่วิวาทที่น่าชัง คือใช้กำลังเข้าชน
บาลีวันละคำ (149)
4-10-55
วิวาท = วิวาท, การทะเลาะกัน, การถกเถียงกัน (ภณฑน กลห วิคฺคห เมธคา) (ศัพท์วิเคราะห์)
– วิรุทฺธํ กตฺวา วทตีติ วิวาโท อาการที่พูดทำให้แย้งกัน
วิ บทหน้า วท ธาตุ ในความหมายว่าพูด ณ ปัจจัย, พฤทธิ์ อ เป็น อา
– วิรุทฺธํ วทนฺติ เอเตนาติ วิวาโท ภาวะเป็นเหตุพูดแย้งกัน (เหมือน วิ. ต้น)
วิรุทฺธ (บาลี-อังกฤษ)
ขัดขวาง, กีดขวาง, รบกวน hindered, obstructed, disturbed
อ+วิรุทฺธ ไม่ถูกขัดขวาง, เป็นอิสระ unobstructed, free
อวิรุทฺธ
ไม่เป็นปฏิปักษ์, ไม่ผิด, ไม่กีดขวาง, อิสระ, ไม่มีความยุ่งยาก not contrary, unobstructed, free, without difficulties
วิวาท
การวิวาท, การทะเลาะ, การทุ่มเถียง dispute, quarrel, contention
วิวาทมูล (roots of contention)
รากเหง้าของการขัดกัน ๖ อย่าง คือ โกรธ, มักขะ, อิสสา, สาเถยยะ, ปาปิจฉตา, สันทิฏฐิปรามาส (ความโกรธ, ความเห็นแก่ตัว, ความริษยา, ความโอ้อวด, ความปรารถนาทางที่ผิด, ความหมกมุ่นอยู่ในโลกีย์ anger, selfishness, envy, fraudulence, evil intention, worldliness)
รากเหง้าการขัดแย้งกัน ๑๐ อย่าง ใน อัง.ทสก. ประกอบด้วยการแสดงที่ผิดเกี่ยวกับธรรมและวินัย consisting in wrong representations regarding dhamma & vinaya.
วิวาทมูล รากเหง้าของการขัดกัน 6 อย่าง
โกธ ความโกรธ anger
มกฺข ความเห็นแก่ตัว selfishness
อิสฺสา ความริษยา envy
สาเถยฺย ความโอ้อวด fraudulence
ปาปิจฺฉตา ความปรารถนาชั่ว evil intention
สนฺทิฏฺฐิปรามาส ความหมกมุ่นอยู่ในโลกีย์ worldliness
[๙๙๑] ตตฺถ กตมานิ ฉ วิวาทมูลานิ โกโธ มกฺโข อิสฺสา
สาเถยฺย ปาปิจฺฉตา สนฺทิฏฺิปรามาสิตา อิมานิ ฉ วิวาทมูลานิ ฯ
อภิ. วิภงฺโค – หน้าที่ 513
ฉักกนิทเทส
[๙๙๑] ในฉักกมาติกาเหล่านั้น วิวาทมูล ๖ เป็นไฉน ?
ความโกรธ ความลบหลู่คุณท่าน ความริษยา ความโอ้อวด ความ
ปรารถนาลามก ความยึดถือแต่ความเห็นของตน
เหล่านี้เรียกว่า วิวาทมูล ๖.
วิวาทมูล รากเหง้าขอการขัดกัน 6 อย่าง
โกธ ความโกรธ ความโกรธ anger
มกฺข ความลบหลู่คุณท่าน ความเห็นแก่ตัว selfishness
อิสฺสา ความริษยา ความริษยา envy
สาเถยฺย ความโอ้อวด ความโอ้อวด fraudulence
ปาปิจฺฉตา ความปรารถนาชั่ว ความปรารถนาชั่ว evil intention
สนฺทิฏฺฐิปรามาส ความยึดถือแต่ความเห็นของตน ความหมกมุ่นอยู่ในโลกีย์ worldliness
—————-
ดูรายละเอียด วิวาทมูล ใน องฺ.ฉก. ๒๒/๓๐๗
วิวาท ป.(พจนานุกรมศัพท์บาลี)
การกล่าวต่างกัน, การโต้เถียง, การทะเลาะ.
วิวาท (ประมวลศัพท์)
การทะเลาะ, การโต้แย้งกัน, การกล่าวเกี่ยงแย่งกัน, กล่าวต่าง คือว่าไปคนละทาง ไม่ลงกันได้
วิวาท
ก. ทะเลาะ เช่น เด็กวิวาทกัน, มักใช้เข้าคู่กับคำ ทะเลาะ เป็น ทะเลาะวิวาท. (ป., ส.).
ทะเลาะ
ก. ทุ่มเถียงกันด้วยความโกรธ, โต้เถียงกัน, เป็นปากเป็นเสียงกัน.
ทะเลาะเบาะแว้ง
ก. ทะเลาะกันด้วยเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ หยุม ๆ หยิม ๆ.