บาลีวันละคำ

อ- (บาลีวันละคำ 150)

อ-

ไม่ได้แปลว่า “ไม่” เสมอไป

-” อ่านว่า “อะ”

มักมีผู้เข้าใจว่า คำว่า “” ในภาษาบาลีแปลว่า “ไม่” เช่น

– “มตะ” แปลว่า “ตาย”  ถ้าเป็น “อมตะ” ก็แปลว่า “ไม่ตาย

– “กตัญญู” แปลว่า “รู้คุณ” ถ้าเป็น “อกตัญญู” ก็แปลว่า “ไม่รู้คุณ

” ไม่ได้แปลว่า “ไม่” เสมอไป ขึ้นอยู่กับว่าศัพท์นั้นประกอบด้วยคำอะไร มี “” ที่แปลว่า “ไม่” อยู่ด้วยหรือเปล่า

” ที่แปลว่า “ไม่” รากเดิมมาจาก “” (นะ)

– ประสมกับคำที่ขึ้นต้นด้วยสระ แปลง “” เป็น “อน” (อะ-นะ) เช่น + อามย = อนามย (อนามัย)

– ประสมกับคำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ แปลง “” เป็น “” (อะ) เช่น + มนุสฺส = อมนุสฺส (อมนุษย์)

โปรดจำหลักสังเกตง่ายๆ แบบเรียนลัด :

คำที่ขึ้นต้นด้วย “” ต่อไปนี้ ไม่แปลว่า “ไม่” –

1- “อติ” = ยิ่ง, เกิน, ล่วง ในภาษาไทยมักแปลงเป็น “อดิ-“ เช่น อติเรก = อดิเรก, อติสย = อดิศัย, อติสกฺติ = อดิศักดิ์

2- “อธิ” = ยิ่ง, ใหญ่, ทับ เช่น อธิบดี, อธิกรณ์, อธิปไตย, อธิษฐาน

3- “อนุ” = น้อย, ภายหลัง, ตาม เช่น อนุเคราะห์, อนุชน, อนุบาล, อนุภรรยา, อนุโมทนา

4- “อภิ” = ยิ่ง, ใหญ่, เฉพาะ, ข้างหน้า เช่น อภิธรรม, อภินันทนาการ, อภิรมย์, อภิสิทธิ์

เจอ “” ที่ต่อด้วยพยัญชนะอื่นจากนี้ แปลว่า “ไม่” ไว้ก่อน มัก “ไม่พลาด” (จะผิดก็คงน้อยเต็มที)

บาลีวันละคำ (150)

5-10-55

อป ปราศ, หลีก

อป-

 [อะปะ-] คําประกอบหน้าศัพท์ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีความหมายว่า ไม่, ปราศจาก, เช่น อปมงคล = ไม่เป็นมงคล, ปราศจากมงคล. (ป., ส.).

อปิ, ปิ ใกล้ บน

อปิกจฺโฉ ใกล้รักแร้

อปิกณฺโณ ใกล้หู

อปิธานํ เครื่องปกปิด, ฝาปิด

(คำกริยา ปิทหติ)

ปิทหติ (บาลี-อังกฤษ)

[อปิ + ธา, เทียบ อปิทหติ และ ปรา. ปณิธตฺตเอ = สัน. อปินิธาตเว api+dhā, cp. apidahati & Prk. piṇidhattae= Sk. apinidhātave]

ครอบคลุม, ปกปิด, ปิดบัง, ปิดกั้น to cover, to close, conceal, shut ม.1/117,380 (ทฺวารํ dvāraŋ); ชา.1/292; 3/26; 5/389; มิลินฺ.139 (วชฺชํ vajjaŋ); ธ.อ.1/396; 2/4,85; 4/197 (อูรุํ ūruŋ); สทฺ.ปา.321; อัช. ปิทหิ aor. pidahi ชา.4/308 (กณฺเณ kaṇṇe); ตูนาทิ ปัจจัย ปิทหิตฺวา ger. pidahitvā เปต.2/76 (ทฺวารํ dvāraŋ); วิ.ม.182 (นาสํ nāsaŋ); ที.อ.1/136, ปิธตฺวา pidhatvā เถรี.480, และ ปิธาย & pidhāya ชา.1/150 (ทฺวารํ dvāraŋ), 243 (เหมือนกัน id.); เถร.อ.286; ธ.อ.2/199 (ทฺวารานิ dvārāni). — กัม. ปิถียติ Pass. pithīyati; ต ปัจจัย ปิหิต (ดูคำเหล่านี้) pp. pihita (q. v.). — คำตรงกันข้าม คือ วิวรติ The opp. of p. is vivarati.

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย