บาลีวันละคำ

เสล (บาลีวันละคำ 156)

เสล

อ่านว่า เส-ละ

“เสล” ผันรูปมาจาก “สิลา” (ภาษาไทยนิยมตามรูปสันสกฤต คือ “ศิลา”) ซึ่งแปลว่า หิน

“สิลา-ศิลา” ที่ผันเป็น “เสล” (อิ เป็น เอ, อา เป็น อ) ใช้เป็นคำคุณศัพท์ของภูเขา

ภูเขามีหลายชนิด เช่นภูเขาดิน, ดินปนหิน และภูเขาหินล้วน “เสล” หมายถึงภูเขาหินล้วน

มีพุทธวจนะในพระธรรมบทกล่าวไว้ว่า :

เสโล ยถา เอกฆโน     วาเตน น สมีรติ 

เอวํ นินฺทาปสํสาสุ       น สมฺมิญฺชนฺติ ปณฺฑิตา. 

ภูเขาหินล้วน เป็นแท่งทึบ

ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะแรงลม ฉันใด

บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่หวั่นไหว

เพราะนินทาและสรรเสริญ ฉันนั้น

“เสล” เขียนตามรูปสันสกฤตเป็น “ไศล” (เอ เป็น ไอ)

เมื่อเขียนอย่างนี้ก็เลย “เป็นเรื่อง” คือมีคนอ่านว่า สะ-ไหฺล (เสียงเดียวกับ สลบไสล) แล้วก็เลย สะ-ไหฺล กันมาตลอด ดังคำว่า โขดเขินเนินไศล …

“ไศล” ต้องอ่านว่า ไส-ละ  เพราะ เสล แผลงตามสันสกฤตเป็น ไสล = ไศล

และ เสล (ที่ไปเป็น ไสล) ไม่ได้อ่าน สะ-เหฺล

เช่นเดียวกับ ชิน เป็น เชน แล้ว เชน ก็เป็น ไชน

ไชน อ่านว่า ไช-นะ ไม่ใช่ ชะ-ไน ฉันใด

ไศล ก็อ่านว่า ไส-ละ ไม่ใช่ สะ-ไหล ฉันนั้น

แต่เวลานี้ ใครพูดว่า -โขดเขินเนินไส-ละ  ถือว่าพูดผิด

ต้อง -โขดเขินเนินสะไหล จึงจะถูก

“ไศล” อ่านกันว่า สะ-ไหล จึงไม่ใช่เพียงแค่ “ผิดกลายเป็นถูก”

แต่คือ “ผิดจนถูก”

เป็นตัวอย่างแห่งสัจธรรมที่ว่า “ถ้าผิดกันจนถูกแล้ว ถูกก็กลายเป็นผิด”

บาลีวันละคำ (156)

11-10-55

สิลา อิต.

ศิลา, หิน (พจนานุกรมศัพท์บาลี)

วินย. มหาวคฺโค (๒) – หน้าที่ 11

(๔)        

เสโล ยถา เอกฆโน        วาเตน น สมีรติ 

            เอวํ รูปา รสา สทฺทา       คนฺธา ผสฺสา จ เกวลา 

            อิฏฺฐา ธมฺมา อนิฏฺฐา จ      นปฺปเวเธนฺติ ตาทิโน  

            ฐิต จิตฺตํ วิปฺปมุตฺตํ          วยญฺจสฺสานุปสฺสตีติ ฯ 

ภูเขาหินล้วน เป็นแท่งทึบ

ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะแรงลม ฉันใด

รูป เสียง กลิ่น รส ผัสสะ ธัมมารมณ์ ทุกอย่าง

ทั้งที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา

ทำจิตที่ตั้งมั่น หลุดพ้นแล้ว ของท่านผู้มั่นคง –

ให้หวั่นไหวไม่ได้ฉันนั้น

เพราะท่านผู้เช่นนั้นย่อมพิจารณาเห็นแต่ความดับไปแห่งอารมณ์นั้นๆ

คุณสมบัติของภูเขาชนิดนี้

เสโล เป็นหินล้วน

อจฺฉิทฺโท ไม่มีช่อง ไม่เป็นรู

อสฺสิโร ไม่มีโพรง

เอกฆโน เป็นแท่งทึบ

ลักษณะของภูเขาชนิดนี้ คือ

– เสโล (เสละ) = เป็นหินล้วน

– อจฺฉิทฺโท (อัจฉิททะ) = ไม่มีช่อง ไม่เป็นรู

– อสฺสิโร (อัสสิระ) = ไม่มีโพรง

– เอกฆโน (เอกฆนะ) = เป็นแท่งทึบ

เสโล ยถา เอกฆโน     วาเตน น สมีรติ 

เอว นินฺทาปสสาสุ       น สมฺมิฺชนฺติ  ปณฺฑิตา. 

ภูเขาหินล้วน เป็นแท่งทึบ

ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะแรงลม ฉันใด

บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่หวั่นไหว

เพราะนินทาและสรรเสริญ ฉันนั้น

        ปัณฑิตวรรค (๑๖) ธรรมบท

เสล

ศิลา, หิน, ผลึก rock, stone, crystal (บาลี-อังกฤษ)

ไศล (คุณ)

เต็มไปด้วยภูเขา, อันล้วนแล้ว หรือเต็มไปด้วยศิลา

(สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน)

ไศล, ไศล-

  [สะไหฺล, ไสละ-] น. เขาหิน เช่น โขดเขินเนินไศล. (ส. ไศล).

เทียบบาลี สิลา = เสล = ไศล สิ-ลา, เส-ละ, ไส-ละ

เทียบคำว่า ไชน อ่านว่า ไช-นะ ไม่ใช่ ชะ-ไน เพราะมาจาก ชิน = เชน = ไชน

เทียบคำที่มักอ่านผิด เช่น เสวก อ่าน สะ-เหฺวก

แต่ เศวตามร (สะ-เหฺวด-ตา-มอน) กลับอ่านผิดเป็น เส-วะ-ตา-มอน

เทียบคำว่า สิทธารถ อ่านว่า สิด-ทาด แต่มีผู้อ่านว่า สิด-ทา-รด

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย