บาลีวันละคำ

นาฬิกา (บาลีวันละคำ 159)

นาฬิกา

อ่านว่า นา-ลิ-กา

เป็นคำบาลีที่ออกจะประหลาดคำหนึ่ง คือศัพท์เดิมว่า “นาล” หรือ “นาฬ” (นา-ละ) แล้วเป็น “นาลิ” หรือ “นาฬิ” แล้วมาเป็น “นาฬิกา

นาล, นาฬ, นาลิ, นาฬิ, นาฬิกา แปลว่า ลำต้น, ก้าน, ท่อ, หลอด, ขวด, กล่อง, ปล้อง หรือกระบอก และเป็นมาตราตวง แปลว่า ทะนาน

ไม่เกี่ยวกับ นาฬิกาเครื่องบอกเวลา (a watch, a clock) ตามที่เราคุ้นกัน

มีคำสันสกฤตว่า “นาฑิกา” หมายถึงเครื่องบอกเวลา ซึ่งก็คือนาฬิกา ผู้รู้จึงบอกว่า “นาฬิกา” แปลงมาคำสันสกฤต “นาฑิกา” ( มณโฑ กับ จุฬา แปลงกันได้ เช่นสันสกฤต ครุฑ บาลีเป็น ครุฬ)

มีเรื่องแปลกคือ –

1. สมัยหนึ่งคนไทยใช้กะลามะพร้าวเป็นเครื่องบอกเวลา คือเอากะลามาเจาะรูเล็กๆ แล้วลอยน้ำ พอน้ำเข้าเต็ม กะลาก็จม เรียกว่า “จมหนึ่ง” หรือ “นาฬิกาหนึ่ง

2 .สมัยหนึ่งคนไทยใช้กะลามะพร้าวเป็นเครื่องตวงข้าวสารใส่หม้อเวลาจะหุงข้าว เรียกว่า “ทะนาน” (ท้องที่อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี เรียก “กะป้อย”)

ภาษาบาลีมีคำว่า “นาฬิเกร” (นา-ลิ-เก-ระ) แปลว่า “มะพร้าว

แปลกไหม “เครื่องบอกเวลา” และ “ทะนาน” (นาฬิกา) มีที่มาจาก “กะลามะพร้าว” (นาฬิเกร)

นาฬิกา” กับ “นาฬิเกร” รูปคำก็คล้ายกัน

ปริศนา :

นาฬิกา” มาจากคำอะไร “นาฑิกา” หรือ “นาฬิเกร” ?

บาลีวันละคำ (159)

14-10-55

นาฬิกา อิต. (พจนานุกรมศัพท์บาลี)

ลำต้น, หลอด, ขวด.

นาฬิกายนฺต นป.(พจนานุกรมศัพท์บาลี)

นาฬิกา.

นาลี อิต. (พจนานุกรมศัพท์บาลี)

ทะนาน, มาตราตวง , ปัตถะ ๑ หรือแล่ง ๑ , ก้าน.

นาลี

น. สายบัว; นาลิกา, นาฬิกา, ยามนาลี; the stalk of the lotus; a watch, a clock

นาฑิกา

น. นาฬิกา, ทุ่ม, โมง, คำว่า ‘ฆฏี ฆฏิกา, นาลิกา (ออกจาก นาล, ยามนาลี)’ ก็มีนัยอย่างเดียวกัน; an hour, a period of time, a clock

(สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน)

นาล, นาฬ = ก้านบัว, ท่อ, หลอด, คอรวงข้าว (กณฺฑ)

นลตีติ นาลํ สิ่งที่มีกลิ่น คือเป็นทางผ่านของกลิ่น

นล ธาตุ ในความหมายว่ามีกลิ่น ณ ปัจจัย, พฤทธิ์ อ เป็น อา, ลบ ณ ปัจจัย, แปลง ลฺ เป็น ฬฺ บ้าง ได้รูปเป็น นาฬิ บ้าง

นาลิ, นาฬิ = แล่ง, ทะนาน, กระบอก, กล่อง, ท่อ, หลอด

คนฺธํ นลติ กโรตีติ นาลิ สิ่งที่ทำให้มีกลิ่น

นล ธาตุ ในความหมายว่ามีกลิ่น อิณ ปัจจัย, พฤทธิ์ อ เป็น อา, ลบ ณ ปัจจัย, แปลง ลฺ เป็น ฬฺ บ้าง ได้รูปเป็น นาฬิ บ้าง

นาฬิเกร = มะพร้าว

นาลิ วิย ชายตีติ นาฬิเกโร ต้นไม้ที่เกิดมาเหมือนท่อหรือกระบอก

นาลิ บทหน้า ก สกรรถ เณร หรือ อีร ปัจจัย, แปลง ลฺ เป็น ฬฺ

(ศัพท์วิเคราะห์)

นาฬิกา

(สัน. นาฑิกา, นาลิกา) ลำต้น, ก้าน, หลอด, ปล้อง หรือกระบอก, มาตราวัดความจุ เช่น ทะนาน a stalk, shaft; a tube, pipe or cylinder for holding anything; a small measure of capacity

ตณฺฑุลนาฬิกา

กระบอกที่มีข้าวสารเต็ม a nāḷi full of rice

นาฬิกา+โอทน

ข้าวสุกหนึ่งทะนาน a nāḷi measure of boiled rice

นาฬิกาคพฺภ

ห้อง (ชั้นใน) ยาวเป็นรูปหลอด an (inner) room of tubular shape

(บาลี-อังกฤษ)

นาฬิเกร นป.

มะพร้าว.

นาฬิเกร ป.

ต้นมะพร้าว

(พจนานุกรมศัพท์บาลี)

นาฬิเกร

มะพร้าว (สัน. นาริเกร, นาริเกล, นลิเกร, นาลิเกล : ภาษาท้องถิ่น รากศัพท์ไม่แน่นอน) [Sk. nārikera, nārikela, nalikera, nālikela: dialect, of uncertain etym.] the coconut tree

(บาลี-อังกฤษ)

นาลี

 (แบบ) น. หลอด, ก้าน, ลํา, ช่อง; ทะนาน, เป็นชื่อมาตราตวง. (ป. นาฬี, นาลี).

นาฬิกา

 น. เครื่องบอกเวลา มีหลายชนิด เช่น นาฬิกาปลุก นาฬิกาพก นาฬิกาข้อมือ, ลักษณนามว่า เรือน; ช่วงเวลาคิดตามชั่วโมง เช่น ๑ ชั่วนาฬิกา = ๑ ชั่วโมง, ใช้เป็นมาตราบอกเวลา เช่น ๑ นาฬิกา ๒ นาฬิกา … ๒๔ นาฬิกา, เขียนย่อเป็น น. (เทียบ ส. นาฑิกา ว่า เครื่องกําหนดเวลา).

(พจน.42)

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย