บาลีวันละคำ

ศุกลปักษ์ – กาฬปักษ์ (บาลีวันละคำ 1,560)

ศุกลปักษ์กาฬปักษ์

พากย์ไทยว่า ข้างขึ้น – ข้างแรม

: ศุกล + ปักษ์ = ศุกลปักษ์ อ่านว่า สุก-กะ-ละ-ปัก

: กาฬ + ปักษ์ = กาฬปักษ์ อ่านว่า กา-ละ-ปัก

มีศัพท์ที่ควรทราบอยู่ 3 ศัพท์ คือ ศุกล กาฬ ปักษ์

(๑) “ศุกล

บาลีเป็น “สุกฺก” (สุก-กะ) รากศัพท์มาจาก สุจฺ (ธาตุ = เศร้าโศก, เสียใจ; สว่าง) + ปัจจัย, แปลง จฺ ที่ สุจฺ เป็น กฺ (สุจฺ > สุกฺ)

: สุจฺ + = สุจฺก > สุกฺก (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า (1) “ปักษ์เป็นที่เสียใจแห่งผู้ชอบความมืด” (เช่นขโมยไม่ชอบ) (2) “ปักษ์ที่สว่าง

สุกฺก” ใช้เป็นคุณศัพท์ หมายถึง ขาว, สว่าง; แจ่มชัด, บริสุทธิ์, ดี (white, bright; bright, pure, good)

สุกฺก สันสกฤตเป็น “ศุกฺล” เราใช้ตามรูปสันสกฤต

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ศุกล– : (คำวิเศษณ์) สุกใส, สว่าง; ขาว, บริสุทธิ์. (ส. ศุกฺล, ศุกฺร; ป. สุกฺก).”

(๒) “กาฬ

บาลีอ่านว่า กา-ละ รากศัพท์มาจาก –

1) กิรฺ (ธาตุ = กระจาย, เรี่ยราย) + ปัจจัย, ลบ , แปลง อิ ที่ กิ-(รฺ) เป็น อะ แล้วยืดเสียง อะ เป็น อา (กิรฺ > กร > การ), แปลง เป็น

: กิรฺ + = กิรณ > กิร > กร > การ > กาฬ แปลตามศัพท์ว่า “ปักษ์ที่กระจายความสว่างไป” (คือทำให้ความสว่างจางไปหรือหมดไป) หมายถึง กาฬปักษ์ คือข้างแรม

2) กลฺ (ธาตุ = นับ, คำนวณ) + ปัจจัย, ลบ , ยืดเสียง อะ ที่ -(ลฺ) เป็น อา (กลฺ > กาล), แปลง ลฺ เป็น

: กลฺ + = กลณ > กล > กาล > กาฬ แปลตามศัพท์ว่า “สีอันเขานับไว้เป็นส่วนหนึ่งในบรรดาสีทั้งหลาย” หมายถึง สีดำ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “กาฬ” ไว้ดังนี้ –

(1) dark, black, blueblack, misty, cloudy. (มืด, ดำ, น้ำเงินแกมดำ, มัว, มืดมัว)

(2) the dark as opposed to light, and it is therefore characteristic of all phenomena or beings belonging to the realm of darkness, as the night, the new moon, death, ghosts, etc. (ความมืด ในฐานตรงข้ามกับความสว่าง จึงเป็นลักษณะของปรากฏการณ์หรือสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในขอบเขตของความมืดมน เช่น กลางคืน, พระจันทร์ข้างขึ้นอ่อนๆ, ความตาย, ปิศาจ ฯลฯ)

(3) the morning mist, or darkness preceding light, daybreak, morning. (หมอกตอนเช้า หรือความมืดก่อนจะมีแสงสว่าง, เวลารุ่งแจ้ง, ตอนเช้า)

ในภาษาไทย พจน.54 บอกไว้ดังนี้ –

กาฬ, กาฬ– : (คำนาม) รอยดําหรือแดงที่ผุดตามร่างกายคนเมื่อตายแล้ว. (คำวิเศษณ์) ดํา, มักใช้เป็นส่วนหน้าของสมาส. (ป.).”

(๓) “ปักษ์

บาลีเป็น “ปกฺข” (ปัก-ขะ) รากศัพท์มาจาก ปจฺ (ธาตุ = สุก) + ปัจจัย, แปลง จฺ ที่ ปจฺ เป็น (ปจฺ > ปกฺ)

: ปจฺ + = ปจฺข > ปกฺข (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “กาลเป็นเหตุสุกแห่งสิ่งที่เป็นอยู่” = ระยะเวลาครึ่งเดือน

ปกฺข” ยังมีรากศัพท์มาจากธาตุตัวอื่นอีกหลายนัย เพื่อเป็นการเสริมความรู้ ขอนำความหมายของ “ปกฺข” ตามนัยต่างๆมาแสดงไว้ ดังนี้ –

(1) ด้านข้างของร่างกาย, สีข้าง, ปีก, ขนนก (side of the body, flank, wing, feathers)

(2) ปีกข้างหนึ่งของบ้าน (wing of a house)

(3) ปีกนก (wing of a bird)

(4) ด้านข้าง, ส่วน (side, party, faction)

(5) ครึ่งเดือนทางจันทรคติ, หนึ่งปักษ์ (one half of the lunar month, a fortnight)

(6) ทางเลือก, คำแถลงของฝ่ายหนึ่งที่มีต่ออีกฝ่ายหนึ่ง (alternative, statement)

(7) (คุณศัพท์) ร่วมกับ, ผู้เข้าร่วมเป็นพวก, ลูกศิษย์หรือลูกน้อง (associated with, a partisan, adherent)

(8) (ในคำว่า “หตปกฺข”) ผู้ถูกบาดเจ็บ ฯลฯ เข้าที่ข้างหนึ่ง, เป็นอัมพาตไปข้างหนึ่ง, คนพิการ (one who is struck on one side, paralysed on one side, a cripple)

ปกฺข สันสกฤตเป็น “ปกฺษ” เราใช้ตามรูปสันสกฤตเป็น “ปักษ์

พจน.54 บอกความหมายในภาษาไทยไว้ดังนี้ –

ปักษ-, ปักษ์ : (คำนาม) ฝ่าย, ข้าง, เช่น ปักษ์ใต้, กึ่งของเดือนจันทรคติ คือ เดือนหนึ่งมี ๒ ปักษ์ ข้างขึ้นเรียก ศุกลปักษ์ (แปลว่า ฝ่ายขาว หมายเอาแสงเดือนสว่าง) ข้างแรมเรียก กาฬปักษ์ (แปลว่า ฝ่ายดํา หมายเอาเดือนมืด), ครึ่งเดือน เช่น หนังสือรายปักษ์. (ส.; ป. ปกฺข).”

เป็นอันว่าในคำว่า “ปักษ์” นี้ พจน.54 บอกความหมายของ “ศุกลปักษ์” และ “กาฬปักษ์” ไว้ด้วยแล้ว

แต่เมื่อเปิดดูที่คำทั้งสอง พบว่ามีบางอย่างที่น่าสังเกต ดังนี้ –

(1) ศุกลปักษ์ : (คำนาม) เวลาข้างขึ้น. (ส.).

(2) กาฬปักษ์ : (คำวิเศษณ์) ฝ่ายดํา คือ ข้างแรม.

ข้อที่น่าสังเกต คือ –

ศุกลปักษ์ พจนานุกรมฯ บอกว่าเป็นคำนาม

แต่ กาฬปักษ์ พจนานุกรมฯ บอกว่าเป็นคำวิเศษณ์

ยังไม่ทราบเหตุผลว่า ทำไม “ศุกลปักษ์” จึงไม่เป็นคำวิเศษณ์เหมือน “กาฬปักษ์” และทำไม “กาฬปักษ์” จึงไม่เป็นคำนามเหมือน “ศุกลปักษ์” หรือทำไมทั้งสองคำนี้จึงไม่เป็นคำชนิดเดียวกัน

ศุกลปักษ์กาฬปักษ์ เป็นคำที่มักใช้เป็นภาษาทางการ หรือในสำนวนเทศนา

………….

: เชื่อฤกษ์ยาม ต้องรอตามวันเดือนปี

: แต่ถ้าเชื่อว่าทำความดี ก็ไม่ต้องรอขึ้นแรม

11-9-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย