บาลีวันละคำ

พยุหยาตรา (บาลีวันละคำ 184)

พยุหยาตรา

บาลีคำนี้เขียนแบบไทย อ่านว่า พะ-ยุ-หะ-ยาด-ตรา

เขียนแบบบาลีเป็น “พฺยูหยาตฺรา” (มีจุด ใต้ , สระ อู)

พฺยูหยาตฺรา” ประกอบด้วยคำว่า พฺยูห + ยาตฺรา

พฺยูห” ออกเสียง นิดหนึ่งแล้วข้ามไปที่ ยู ทันที เสียงคล้ายคำว่า “เพียวพฺยูห = เพียวหะ

พฺยูห” แปลว่า กระบวน, พวก, หมู่, กองทัพ, กองทหาร, กลุ่ม และยังหมายถึง ตรอกตัน หรือ ซอยตัน อีกด้วย

ยาตฺรา” อ่านว่า ยาด-ตรา ( เป็นตัวสะกด และออกเสียงควบกับ –รา ด้วย) แปลว่า การเคลื่อนที่ไป, การดำเนินไป, การท่องเที่ยวไป, การเดินทาง, การยังชีวิตให้เป็นไป, การบำรุงรักษา

พฺยูหยาตฺราพยุหยาตรา” (โปรดสังเกตวิธีเขียนคำบาลีกับคำไทย) มีความหมายว่า การเคลื่อนที่ของกองทหาร, การจัดกระบวนทัพแล้วยกไป

พยุหยาตรา” สำหรับพระมหากษัตริย์ มี 2 ทาง คือ –

(1) ไปทางบก เรียกว่า “ขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค

(2) ไปทางเรือ เรียกว่า “ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2555 (คือวันพรุ่งนี้) จะมีพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม เป็นการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 (เลื่อนมาจากปีที่แล้ว)

ขอเชิญเพื่อน FB เฝ้ารับเสด็จชมพระบารมี และความงดงามอภิมหาอลังการของขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ซึ่งมีเพียงแห่งเดียวเท่านั้นในโลก

บาลีวันละคำ (184)

8-11-55

ยาตฺรา อิต. (พจนานุกรมศัพท์บาลี)

ยาตรา, การท่องเที่ยวไป, การเดินทาง,; การยังชีวิตให้เป็นไป, การดำรงชีวิต.

ยาตรา (ประมวลศัพท์)

เดิน, เดินเป็นกระบวน

ยาตฺรา (บาลี-อังกฤษ)

– การเดินทาง, การไป, ยาตรา (proceeding)

– การดำเนินไป, การดำรงชีพ, การยังชีพ, การบำรุงรักษา

พฺยูห ป. (พจนานุกรมศัพท์บาลี)

กระบวน, พวก, หมู่.

พฺยูหติ ก. (พจนานุกรมศัพท์บาลี)

ยืนเป็นแถว (คล้ายแถวทหาร).

พยุหะ (ประมวลศัพท์)

กระบวน, เหล่าทหารที่ระดมจัดขึ้น, กองทัพ (บาลี: พฺยูห)

พยุหแสนยากร (ประมวลศัพท์)

เหล่าทหารที่ระดมจัดยกมาเป็นกระบวนทัพ, กองทัพ (บาลี: พฺยูห+เสนา+อากร; สันสกฤต: วฺยูห+ไสนฺย+อากร)

พฺยูห (บาลี-อังกฤษ)

– การตั้งแนวหรือการจัดกองทัพเป็นรูปใดรูปใดรูปหนึ่ง, ขบวนรบหรือการสวนสนาม (มีระบุไว้ ๓ แบบ คือ แบบ ปทุมพฺยูห กระบวนแบบดอกบัว, จกฺกพฺยูห กระบวนแบบรูปจักร, สกฏพฺยูห กระบวนแบบรูปเกวียน)

– กอง, กลุ่ม

– ตรอกตัน, ซอยตัน (เข้าทางไหน ต้องออกทางนั้น)

พยุห-, พยุหะ

  [พะยุหะ-] น. กระบวน, หมู่, กองทัพ, พยู่ห์ ก็ว่า; ชื่อวิธีนับในปักษคณนา. (ป. พฺยูห, วฺยูห; ส. วฺยูห).

พยุหบาตร (โบ), พยุหบาตรา

  [-บาด, -บาดตฺรา] (กลอน) น. กระบวนทัพ.

พยุหยาตรา

  [-ยาดตฺรา] น. กระบวนทัพ, การเดินทัพ, เช่น ยกพยุหยาตรา.ก. ไปเป็นกระบวนทัพใหญ่.

ชลมารค

  [-มาก] น. ทางนํ้า เช่น กระบวนเสด็จพระราชดำเนินโดยทางชลมารค. (ส.).

สถลบถ, สถลมารค

  น. ทางบก เช่น กระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค. (ส.).

กระบวน

  น. ขบวน, แบบแผน เช่น กระบวนหนังสือไทย, ชั้นเชิง เช่น ทํากระบวน งามกระบวนเนตรเงาเสน่ห์งํา; ลําดับ เช่น แลขุนหมื่นชาวสานทังปวงเฝ้าตามกระบวน. (สามดวง); วิธีการ เช่น จัดกระบวนพิจารณาอรรถคดีในโรงศาล, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระบิด เป็น กระบิดกระบวน.

ขบวน

  [ขะ-] น. กระบวน, พวกที่จัดเป็นแถวเป็นแนวหรือเป็นหมวดเป็นหมู่อย่างขบวนแห่ ขบวนรถ ขบวนเรือ; ทางขี้ผึ้งในการหล่อรูป.

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย