บาลีวันละคำ

อธิป (บาลีวันละคำ 4,395)

อธิป

เผื่อใครจะหยิบไปเป็นชื่อ

ภาษาไทยอ่านว่า อะ-ทิบ

ภาษาบาลีอ่านว่า อะ-ทิ-ปะ

อธิป” รากศัพท์มาจาก อธิ +

(๑) “อธิ

เป็นคำอุปสรรค (คำที่ใช้ประกอบข้างหน้าคำนามหรือกริยาให้มีความหมายยักเยื้องออกไป) นักเรียนบาลีแปลกันว่า ยิ่ง, ใหญ่, ทับ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แสดงความหมายไว้ว่า –

(1) บอกทิศทาง, จุดหมาย = จนถึง, เหนือ, ไปยัง, บน (up to, over, toward, to, on)

(2) บอกสถานที่ = บนยอด, ข้างบน, เหนือ, บน (on top of, above, over)

(๒) “

อ่านว่า ปะ กรณีที่มี “อธิ” นำหน้าเป็น “อธิป” ท่านว่า “” ตัดมาจาก “ปติ

ปติ” บาลีอ่านว่า ปะ-ติ รากศัพท์มาจาก –

(1) ปา (ธาตุ = รักษา, ดูแล) + ติ ปัจจัย, รัสสะ อา ที่ ปา เป็น อะ (ปา > )

: ปา + ติ = ปาติ > ปติ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้รักษา

(2) ปตฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + อิ ปัจจัย

: ปตฺ + อิ = ปติ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ดำเนินไปข้างหน้า

ปติ” ในบาลีใช้ในความหมายว่า –

(1) พ่อบ้าน, นาย, เจ้าของ, ผู้นำ (lord, master, owner, leader)

(2) สามี (husband)

อธิ + ปติ = อธิปติ แปลตามศัพท์ว่า “เจ้านายผู้เป็นใหญ่” “ผู้ดูแลรักษาที่ยิ่งใหญ่” “ผู้ปกครองใหญ่

อธิปติ” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ผู้ปกครอง, เจ้าใหญ่ (ruler, master)

(2) ครอบครอง, ปกครอง, มีอำนาจเหนือ; อยู่ใต้อำนาจ หรือปกครองโดย- (ruling over, governing, predominant; ruled or governed by)

อธิปติ” ในภาษาไทยใช้เป็น “อธิบดี” อ่านว่า อะ-ทิ-บอ-ดี ก็ได้ อะ-ทิบ-บอ-ดี ก็ได้ (ต่างกันที่ –ทิ– กับ –ทิบ-)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อธิบดี : (คำนาม) ผู้เป็นใหญ่, ผู้ปกครอง, หัวหน้า, เช่น อธิบดีสงฆ์ อธิบดีผู้พิพากษา; ตําแหน่งหัวหน้ากรมในราชการ. (คำวิเศษณ์) มีความเจริญสวัสดิมงคล ทางโหราศาสตร์นิยมให้ประกอบการมงคลต่าง ๆ ในวัน ยาม ฤกษ์ ราศี และดิถีที่เป็นอธิบดี ทั้งนี้ตลอดปีนั้น ๆ, ตรงข้ามกับโลกาวินาศ. (ป., ส. อธิปติ).”

อธิปติ” ลบ “ติ” เหลือรูปศัพท์เป็น “อธิป

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “อธิป” ว่า ruler, lord, master (ผู้ปกครอง, อธิบดี, ผู้เป็นใหญ่) 

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน มีคำว่า “อธิป” และ “อธิปติ” บอกไว้ดังนี้ –

อธิป, อธิปติ : (คำนาม) เจ้าของ, เจ้าหรือนาย, พระราชา; an owner, a lord or master, a king.”

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

อธิป, อธิป– : (คำนาม) พระเจ้าแผ่นดิน, นาย, หัวหน้า, ผู้เป็นใหญ่, มักใช้พ่วงท้ายศัพท์ เช่น นราธิป ชนาธิป, แต่เมื่อนําหน้าคําที่ขึ้นต้นด้วยสระ มักใช้ อธิบ เช่น นราธิเบศร์ นราธิเบนทร์. (ป., ส.).”

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ถ้าเป็นใหญ่เหนือตนเอง

: ก็ไม่ต้องเป็นนักเลงเหนือใคร

#บาลีวันละคำ (4,395)

24-6-67

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *