บาลีวันละคำ

ภควา (บาลีวันละคำ 188)

ภควา

อ่านว่า พะ-คะ-วา

ภควา” ศัพท์เดิมเป็น “ภควนฺตุ” (พะ-คะ-วัน-ตุ) แปลงรูปตามการแจกด้วยวิภัตติที่หนึ่ง เอกพจน์ เป็น “ภควา” แปลทับศัพท์ว่า “พระผู้มีพระภาค

ภควา” แปลตามรากศัพท์ได้ดังนี้ –

1- “ผู้ทำลายราคะ โทสะ โมหะ มานะ

2- “ผู้เสพภาคธรรม” = ผู้อยู่ในที่สงบสงัด

3- “ผู้ปรารถนาให้เวไนยสัตว์ได้รับธรรม

4- “ผู้คายทิ้งความเป็นใหญ่และยศศักดิ์

5- “ผู้ทำลายมารทั้งห้า

6- “ผู้หักกิเลส

7- “ผู้จำแนกธรรมสั่งสอนเวไนยสัตว์

8- “ผู้มีส่วนแห่งธรรม

9- “ผู้มีภาคยะ คือบุญบารมี

10- “ผู้เป็นครู

11- “ผู้อบรมพระองค์ดีแล้ว

12- “ผู้ถึงที่สุดแห่งภพ” = ไม่ต้องไปเกิดในภพภูมิไหนๆ อีก

13- “ผู้มีโชค

เฉพาะคำแปลที่ว่า “ผู้มีโชค” ท่านขยายความว่า “ทานสีลาทิปารปตฺตํ ภาคฺยมสฺส อตฺถีติ ภควา” หมายถึงผู้ได้รับผลดีเพราะบำเพ็ญคุณธรรมอันเป็นเหตุให้บรรลุความสำเร็จ

“โชค” ของพระพุทธเจ้า จึงไม่ใช่ “สิ่งที่นําผลมาให้โดยคาดหมายได้ยาก” ดังที่มักเข้าใจกันในภาษาไทย

บาลีวันละคำ (188)

12-11-55

10-11-55

เรียนถามท่านอาจารย์ว่า คำว่า “โชค” มีในศาสนาพุทธหรือไม่ หรือมาจากไหน ? อย่างที่แปลว่า ภควา = ผู้มีโชค เพราะเหตุใด ส่วนตัวผมมักจะพูดว่า มีบุญ บุญดี ดวงจิตบุญดี มากกว่าคำว่า โชค หน่ะครับ แต่ถ้ามีคำนี้ในศาสนาพุทธจริงๆ จะได้ใช้ให้ถูกต้องครับ

ภควา (ประมวลศัพท์)

พระผู้มีพระภาค, เป็นพระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้า และเป็นคำแสดงพระพุทธคุณอย่างหนึ่ง แปลว่า “ทรงเป็นผู้มีโชค” คือ หวังพระโพธิญาณก็ได้สมหวัง ประกาศพระศาสนาก็ชักจูงผู้คนให้ได้บรรลุธรรมสมปรารถนา มีผู้คิดร้ายก็ไม่อาจทำร้ายได้; อีกนัยหนึ่งว่าทรงเป็นผู้จำแนกแจกธรรม (ข้อ ๙ ในพุทธคุณ ๙)

ภควนฺตุ ค. (พจนานุกรมศัพท์บาลี)

พระผู้มีพระภาค, พระนามพระพุทธเจ้า แปลว่า ทรงเป็นผู้มีโชค คือหวังพระโพธิญาณก็ได้สมหวัง ประกาศพระศาสนาก็ชักจูงผู้คนให้ได้บรรลุธรรมสมปรารถนา มีผู้คิดร้ายก็ไม่อาจทำร้ายได้; อีกนัยหนึ่งว่าทรงเป็นผู้จำแนกแจกธรรม

ภควัต, ภควันต์, ภควา, ภควาน

  [พะคะ-] น. นามพระเป็นเจ้า, นามพระพุทธเจ้า, พระผู้เป็นเจ้า, พระผู้มีพระภาค. (ป., ส.).

ภควนฺตุ, ภควา = พระผู้มีพระภาคเจ้า, พระพุทธเจ้า (ศัพท์วิเคราะห์)

– ภคฺคราโค ภคฺคโทโส ภคฺคโมโห ภคฺคมาโนติ ภควา พระผู้ทรงทำลายราคะ โทสะ โมหะ มานะได้แล้ว

ภคฺค ศัพท์ วนฺตุ ปัจจัย ลบ ค ลง สิ วิภัตติ แปลง นฺตุ กับ สิ เป็น อา

– ภาเค ทานสีลาทิปารมิธมฺเม ฌานวิโมกฺขาทิอุตฺตริมนุสฺสธมฺเม จ วนิ ภชิ เสวิ พหุลมกาสีติ ภควา ผู้ทรงเสพภาคธรรม

ภาค บทหน้า วนฺ ธาตุ ในความหมายว่าเสพ วนฺตุ ปัจจัย ลบ อา ที่ ภาค และลบ น ที่สุดธาตุ

– ภาเค วนิ อภิปตฺถยีติ ภควา ผู้ทรงขวนขวายภาคธรรมแก่เวไนยสัตว์

ภาค บทหน้า วนุ ธาตุ ในความหมายว่าขวนขวาย วนฺตุ ปัจจัย

– ภคสงฺขาตํ อิสฺสริยํ ยสญฺจ วมิ อุคฺคิริ เขฬปิณฺฑํ วิย อนเปกฺโข ฉฑฺฑยีติ ภควา ผู้ทรงคายภคธรรม คืออิสริยะและยศได้แล้ว

ภค บทหน้า วม ธาตุ ในความหมายว่าคาย, สำรอก วนฺตุ ปัจจัย

– ทานสีลาทิปารปตฺตํ ภาคฺยมสฺส อตฺถีติ ภควา ผู้ทรงมีโชค

ภาค + วนฺตุ

– ปญฺจ มาเร อภญฺชีติ ภควา ผู้ทรงทำลายมารทั้งห้าได้แล้ว

ภญฺช ธาตุ ในความหมายว่าหัก,ทำลาย วนฺตุ ปัจจัย

– ภคฺคสฺส ปาปกา ธมฺมาติ ภควา ผู้ทรงทำลายบาปธรรมทั้งหลายได้แล้ว

ภคฺค + วนฺตุ

ภาค = โชค, บุญ, วิบาก (ศัพท์วิเคราะห์)

สุภาสุภผลํ ภาเชตีติ ภาโค สิ่งที่จำแนกผลดีหรือไม่ดีให้มากขึ้น

ภชฺ ธาตุ ในความหมายว่าจำแนก, แบ่ง ณ ปัจจัย แปลง ช เป็น ค

ภชียเต เสวียเตติ ภาโค สิ่งอันบุคคลเสพ

ภชฺ ธาตุ ในความหมายว่าเสพ ณ ปัจจัย แปลง ช เป็น

ภาคฺย

โชคดี, ลาภ good luck, fortune

ภควนฺตุ

มีโชค, มีชื่อเสียง, สูงส่ง ถ้าใช้เป็นคำแสดงคุณลักษณะและชื่อ ก็หมายถึง “ผู้เป็นเจ้าเป็นใหญ่” Blessed One, Excalted One

โชค

  น. สิ่งที่นําผลมาให้โดยคาดหมายได้ยาก เช่น โชคดี โชคร้าย, มักนิยมใช้ในทางดี เช่น นายแดงเป็นคนมีโชค.

เหตุที่ได้นามว่า “ภควา” ตามนัยแห่งวิสุทธิมรรค

ภคี  ภชี  ภาคี  วิภตฺตวา  อิติ

                                    อกาสึ  ภคฺคนฺติ  ครูติ  ภาคฺยวา

                                    พหูหิ  ญาเยหิ  สุภาวิตตฺตโน

                                    ภวนฺตโค   โส  ภควาติ  วุจฺจติ.

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงพระนามว่า ภควา

1. เพราะทรงเป็นผู้มีภคะคือโชค  (ภคี)

2. เพราะเป็นผู้เสพที่สงัด  (ภชี)

3. เพราะเป็นผู้มีภาคะ คือมีส่วนควรได้รับจตุปัจจัย หรือมีส่วนแห่งธรรม  (ภาคี)

4. เพราะเป็นผู้จำแนกธรรม  (วิภตฺตวา)

5. เพราะได้ทรงทำภัคคะ คือการหักกิเลสบาปธรรม (ภคฺค)

6. เพราะทรงเป็นครู (ครุ)

7. เพราะทรงมีภาคยะ คือบุญบารมี (ภาคฺยวา)

8. เพราะทรงเป็นผู้อบรมพระองค์ดีแล้ว ด้วยญายธรรมเป็นอันมาก  (สุภาวิตตฺต)

9. เพราะเป็นผู้ถึงที่สุดแห่งภพ  (ภวนฺตค)

ภาคฺยวา  ถคฺควา  ยุตฺโต           ภคฺเคหิ  จ  วิภตฺตวา

            ภตฺตวา  วนฺตคมโน                  ภเวสุ  ภควา  ตโต.

1. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็น ภาคฺยวา  ผู้มีภาคยะ  เพราะทรงมีพระภาคยะ คือพระบารมี มีทานและศีลเป็นต้น อย่างเยี่ยมยอด อันสามารถยังความสุขทั้งที่เป็นโลกิยะ ทั้งที่เป็นโลกุตตระให้บังเกิดได้

         หมายเหตุ “ผู้มีโชค” หมายถึง ผู้บำเพ็ญคุณธรรมอันเป็นเหตุให้บรรลุความสำเร็จ

2. เป็น ภคฺควา  ผู้หัก  เพราะทรงหักเสียแล้วซึ่งกิเลสอันทำความกระวนกระวายและเร่าร้อน แก่สัตว์ทั้งหลายทั้งสิ้น นับด้วยแสนประเภท

3. เป็น ภเคหิ ยุตฺโต  ผู้ประกอบด้วยภคธรรมทั้งหลาย  คือ อิสสริยะ ธัมมะ ยสะ สิริ กามะ ปยัตตะ (อิสสริยะ ความเป็นใหญ่, ธัมมะ โลกุตรธรรม, ยสะ พระยศที่ทรงได้โดยพระคุณตามที่เป็นจริง และบริสุทธิ์ยิ่งนัก, สิริ ความงามสง่าแห่งพระอังคาพยพใหญ่น้อยทั้งปวง บริบูรณ์ด้วยอาการทุกสิ่งทุกอย่าง สามารถให้เกิดขวัญตาและขวัญใจแก่ชนผู้ขวนขวายในการเฝ้าชมพระรูปกาย, กามะ ความได้อย่างปรารถนา  คือ ประโยชน์ใดๆ ที่พระองค์มีพระประสงค์แล้ว ทรงปรารถนาแล้ว จะเป็นประโยชน์ตนก็ตาม ประโยชน์ผู้อื่นก็ตาม ประโยชน์นั้นๆ ก็สำเร็จสมพระประสงค์ทั้งนั้น, ปยัตตะ ความพยายาม กล่าวคือสัมมาวายามะ อันเป็นเหตุเกิดขึ้นแห่งความเป็นครูของโลกทั้งปวง)

4. เป็น  วิภตฺตวา  ผู้จำแนก  เพราะทรงเปิดเผย ทรงแสดง ซึ่งธรรมทั้งปวง โดยประเภททั้งหลาย มีประเภทกุศลเป็นต้น หรือว่าซึ่งธรรมมีกุศลธรรมเป็นอาทิ โดยประเภท ขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ อินทรีย์ และปฏิจจสมุบาทเป็นต้น หรือว่าซึ่งอริยสัจ

5. เป็น ภตฺตวา  ผู้คบ  เพราะทรงคบ คือทรงเสพ ทรงทำให้มาก ซึ่งธรรมอันเป็นทิพวิหาร  พรหมวิหาร และอริยวิหาร  ซึ่งกายวิเวก จิตวิเวก และอุปธิวิเวก ซึ่งสุญญตวิโมกข์อัปปณิหิตวิโมกข์ และอนิมิตวิโมกข์ และซึ่งอุตตริมนุสสธรรมทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระอื่นๆ

6. เป็น ภเวสุวนฺตคมน  ผู้คายความไปในภพทั้งหลายเสียแล้ว  เพราะความไป (มนะ) กล่าวคือตัณหาในภพ ๓ (เวสุ) พระองค์ทรงคายเสียแล้ว (วันต)

เพราะเหตุนั้นจึงทรงพระนามว่า ภควา

ฝันในฝัน ทะเลแห่งความรัก

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย