บาลีวันละคำ

สร (บาลีวันละคำ 189)

สร

อ่านว่า สะ-ระ

ภาษาไทยใช้ว่า สร (สะ-ระ) สระ (สะ-หฺระ, สะ) ศร (สอน)

สร” มีความหมายหลายอย่าง คือ –

1 สร = สระ (ที่คู่กับพยัญชนะ) แปลตามศัพท์ว่า “อักษรที่เป็นไปเองได้โดยไม่ต้องอาศัยอักษรอื่น” หรือ “อักษรเป็นเครื่องเป็นไปได้แห่งอักษรอื่นๆ” (มีสระ พยัญชนะจึงออกเสียงได้)

2 สร = เสียง, ศัพท์ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่แล่นไปสู่ (โสตประสาท) ผู้ฟัง” ดังคำว่า “สรภัญญะ” = “สวดด้วยเสียง” หมายถึงสวดมนต์เป็นทำนอง

3 สร = ลูกศร แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งเป็นเครื่องเบียดเบียนสัตว์” หรือ “สิ่งอันเขายิงไป” (ฝรั่งว่า “สร” เป็นชื่อของไม้อ้อ [the reed, saccharum] อาวุธชนิดนี้แต่เดิมทำด้วยไม้อ้อ จึงได้ชื่อว่า “สร”)

4 สร = สระน้ำ, บึง, หนองน้ำธรรมชาติ แปลตามศัพท์ว่า “แหล่งน้ำที่เป็นไปตามปกติ

5 นอกจากนี้ “สร” ยังแปลว่า ระลึกถึง, ไป, เคลื่อนไหว, ตามไป, ของเหลว, การไหล

สร” เป็นคำ “พ้องรูป” ในภาษาบาลี คือเขียนเหมือนกัน แต่ความหมายต่างกัน

ปัญหา : จังหวัด “สระบุรี” ของไทยเรา “สระ” คำนี้หมายถึง “สร” ในความหมายข้อไหน ?

บาลีวันละคำ (189)

13-11-55

สร ป.

ลูกศร, เสียง, สระน้ำ, สระ.

สร ๑ (บาลี-อังกฤษ)

๑ ไม้กก หรืออ้อ the reed, saccharum

๒ ลูกศร (แต่เดิมทำด้วยไม้กกหรือไม้อ้อนั่นเอง) an arrow (orig. made of that reed) D i.9;

สร ๒ (บาลี-อังกฤษ)

๑ ไป, เคลื่อนไหว, ตามไป going, moving, following Sn 3, 901

๒ ของเหลว, การไหล  fluid, flow J i.359 (pūti˚).

สร ๓ (บาลี-อังกฤษ)

(ปุง., นปุง.) สระน้ำ  a lake J i.221;

สร ๔ (บาลี-อังกฤษ)

ระลึกถึง remembering M i.453;

สร ๕ (บาลี-อังกฤษ)

เสียง, เสียงสูงต่ำ, สำเนียง, การออกเสียง sound, voice, intonation, accent Vin ii.108;

1 .สร = สระ (ที่คู่กับพยัญชนะ) (ศัพท์วิเคราะห์)

– ปรํ อนิสฺสาย สรติ คจฺฉติ ปวตฺตตีติ สโร อักษรที่เป็นไปเองได้โดยไม่ต้องอาศัยอักษรอื่น

สรฺ ธาตุ ในความหมายว่าไป, เป็นไป  อ ปัจจัย

– สรนฺติ อเนนาติ สโร อักษรเป็นเครื่องเป็นไปได้แห่งอักษรอื่นๆ คือช่วยให้อักษรอื่นออกเสียงได้ (เหมือน วิ. ต้น)

2. สร = เสียง, ศัพท์ (ศัพท์วิเคราะห์)

– สรติ สุยฺยมานตํ คจฺฉตีติ สโร เสียงที่แล่นไปสู่ผู้ฟัง

สรฺ ธาตุ ในความหมายว่าแล่นไป  อ ปัจจัย

– สรียติ สทฺทียตี อุจฺจารียตีติ สโร เสียงอันเขาเปล่งออกไป

สรฺ ธาตุ ในความหมายว่าออกเสียง  อ ปัจจัย

3 .สร = ลูกศร (ศัพท์วิเคราะห์)

– สรนฺติ อเนนาติ สโร สิ่งเป็นเครื่องเบียดเบียนสัตว์

สรฺ ธาตุ ในความหมายว่าเบียดเบียน  อ ปัจจัย

– สรียเต ขิปียเตติ สโร สิ่งอันเขายิงไป

สรฺ ธาตุ ในความหมายว่ายิง, ซัด  อ ปัจจัย

4. สร = สระน้ำ, บึง, หนองน้ำธรรมชาติ (ศัพท์วิเคราะห์)

สรติ คจฺฉตีติ สโร แหล่งน้ำที่เป็นไปตามปกติ

สรฺ ธาตุ ในความหมายว่าเป็นไป  อ ปัจจัย

สร ๑

  [สอน] น. ศร. (ป.; ส. ศร).

สร- ๒

  [สอระ-] ว. ทิพย์, แกล้วกล้า, เช่น สรศาสดา สรศักดิ์ สรสีห์. (ป., ส. สุร).

สร- ๓

  [สฺระ-] คํานําหน้าคําอื่นที่ใช้ในบทกลอนเพื่อความสละสลวย เช่น ดื่น เป็น สรดื่น, คําที่แผลงมาจากคําที่ขึ้นต้นด้วยตัว ส ซึ่งใช้ในบทกลอน เช่น สนุก เป็น สรนุก.

สระ ๑

  [สะ] น. แอ่งนํ้าขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นเองหรือคนขุด. (ป. สร; ส. สรสฺ).

สระ ๒

  [สะหฺระ] น. เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยอาศัยการเคลื่อนไหวของลิ้นและริมฝีปากเป็นสําคัญ แต่ไม่มีการสกัดกั้นจากอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในปาก เช่น เสียง อะ อา โดยทั่วไปจะออกเสียงสระร่วมกับเสียงพยัญชนะ หรือออกเสียงเฉพาะเสียงสระอย่างเดียวก็ได้, เสียงสระ ก็เรียก; ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงสระ เช่น ะ า, รูปสระ ก็เรียก. (ป. สร; ส. สฺวร).

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย