บาลีวันละคำ

เกสร (บาลีวันละคำ 190)

เกสร

อ่านว่า เก-สะ-ระ

ภาษาไทยใช้ในรูปเดียวกัน อ่านว่า เก-สอน

เกสร” แปลตามรากศัพท์ว่า (1) “สิ่งที่ร่วงลงไปในน้ำ” (2) “สิ่งที่เป็นไปอยู่บนดอกบัว” (3) “สิ่งที่เล็กละเอียด” ความหมายเดิมจึงมุ่งหมายเฉพาะ “เกสรดอกบัว” ต่อมาขยายไปถึงเกสรดอกไม้อื่นๆ ทั่วไป และยังแปลว่า ไม้บุนนาค, พิกุล และ มหาหิงคุ์ ได้อีกด้วย

นอกจากนี้ “เกสร” ยังหมายถึง “ขนสร้อยคอสัตว์” โดยเฉพาะสิงห์ หรือสิงโต ความหมายนี้มาจากคำว่า เกส (ผม) + หรือ อร ปัจจัย = เกสร แปลว่า “มีผม

สิงโต หรือราชสีห์ ภาษาบาลีว่า “เกสรี” (เก-สะ-รี) ประกอบด้วย เกส + + อี = เกสรี แปลว่า “สัตว์ที่มีผม” คือมีขนฟูที่คอ ภาษาไทยแผลงรูปเป็น “ไกรศร” หรือ “ไกรสร

เกสร” ที่หมายถึงเรณูหรือผงเหลืองที่มีอยู่ในดอกไม้ ภาษาไทยคำเก่าสะกดว่า “เกษร” ใช้ ฤษี เดี๋ยวนี้ใช้ เสือ ตรงตามคำเดิม

“มาจากที่ไหน ก็กลับไปที่นั่น”

แม้แต่ “ภาษา” ที่ไม่มีชีวิต ก็ไม่ยังพ้นสัจธรรม

จะนับ “ประสา” อะไรกันเล่ากับชีวิต ?

บาลีวันละคำ (190)

14-11-55

เกสร ๑ = เกสรดอกบัว (ศัพท์วิเคราะห์)

– เก อุทเก สรติ โอสรตีติ เกสโร สิ่งที่ร่วงลงไปในน้ำ

เก บทหน้า สรฺ ธาตุ ในความหมายว่าไป, เป็นไป อ ปัจจัย

– กํ วุจฺจติ กมลาทิ ตสฺมึ เก สรติ วิราชตีติ เกสโร สิ่งที่เป็นไปอยู่บนดอกบัว (เหมือน วิ.ต้น)

– กิสติ ตนุกโรตีติ เกสโร สิ่งที่เล็กละเอียด

กิสฺ ธาตุ ในความหมายว่าบาง อร ปัจจัย

เกสร ๒ = บุนนาค

– อติสยปุปฺผเกสรวนฺตตาย เกสโร ต้นไม้ที่มีเกสรในดอกมากยิ่ง

เกสร + ณ

– ปุปฺผเกสรยุตฺตตาย เกสโร ต้นไม้ที่ประกอบด้วยปุยอยู่ในดอก

เกส + ร

เกสร ๓ = พิกุล

เกสรยุตฺตปุปฺผตาย เกสโร ต้นไม้ที่มีดอกประกอบด้วยเกสร

เกสร + ณ

เกสรี = สิงโต, ราชสีห์

– เกสโร ชฏา, ตํโยคา เกสรี สัตว์ที่ประกอบด้วยชฎาคือมวยผม

เกสร + อี

– เกสา เอตสฺส อตฺถีติ เกสรี สัตว์ที่มีผม คือมีขนที่คอ

เกส บทหน้า ร อาคม อี ปัจจัย

เกสร ๑ (บาลี-อังกฤษ)

ขนสร้อยคอสัตว์, ใน เกสรสีห สิงโตที่มีขนสร้อยคอ a mane, in — sīha a maned lion J ii.244; SnA 127.

เกสร ๒

(จาก เกส fr. kesa)

เกสรดอกไม้, ส่วนที่สืบพันธุ์ของพืชพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งของดอกบัว filament of flowers, hairy structures of plants esp. of the lotus; usually of kiñjakkha PvA 77; VvA 12; 111;

เกสรี

(จาก เกสร๑)

มีขนคอ (พูดถึงสิงโต), ชื่อการจัดขบวนสงครามด้วย having a mane, of a lion, also name of a battle-array (˚saŋgāmo) Dpvs i.7; cp. AvŚ i.56.

เกสร นป. (พจนานุกรมศัพท์บาลี)

เกษร, ละอองอกไม้ส่วนสืบพันธุ์ในดอกไม้; ขนสร้อยของสัตว์.

(เกสร, ละอองดอกไม้, ส่วนสืบพันธุ์ในดอกไม้; ขนสร้อยคอสัตว์)

เกสร ป. (พจนานุกรมศัพท์บาลี)

ไม้บุนนาค, พิกุล, มหาหิงคุ์.

เกสร

 [-สอน] น. ส่วนในของดอกไม้โดยมากเป็นเส้น ๆ เช่น เกสรบัว, เรณูหรือผงเหลืองที่มีอยู่ในดอกไม้ ติดอยู่กับก้านเกสรก็มี ติดกับเมล็ดเกาะอยู่กับดอกก็มี, ส่วนสืบพันธุ์ของดอกไม้; (แบบ) ขนสร้อยคอสิงโต เช่น เกสรสร้อยศอดังผ้ารัตกัมพล. (ม. ร่ายยาว มหาพน). (ป.; ส. เกสร, เกศร).

เกสรทั้งห้า

 น. เกสรดอกไม้ ๕ ชนิด มี เกสรดอกพิกุล เกสรดอกบุนนาค เกสรดอกสารภี เกสรดอกบัวหลวง เกสรดอกมะลิ.

เกสรี

 [เกสะรี, เกดสะรี] (แบบ) น. สิงโต, สิงห์, ราชสีห์. (ป.).

ไกรศร, ไกรสร

  [ไกฺรสอน] (กลอน) น. สิงโต เช่น เสือคร่งเสือแผ้วเอนกาไลยไกรสรสีหส่งเสียงแขง. (ม. ร่ายยาว มหาพน). (แผลงมาจาก เกสรี).

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย