บาลีวันละคำ

ดาวดึงส์ (บาลีวันละคำ 199)

ดาวดึงส์

คำบาลีเขียนแบบไทย อ่านว่า ดาว-วะ-ดึง

ดาวดึงส์” บาลีเป็น “ตาวตึส” (ตา-วะ-ติง-สะ) แปลตามศัพท์ว่า “ภพเป็นที่เกิดของคน 33 คน

ดาวดึงส์” มาจาก “ตาวตึส

ตาวตึส” ก็แปลงมาอีกต่อหนึ่ง คือมาจาก “เตตฺตึส” (เตด-ติง-สะ) แปลว่า “สามสิบสาม” (จำนวน 33)

เต = สาม (3)

ตึส = สามสิบ (30)

เต + ตึส ซ้อน ตฺ : เต + ตฺ + ตึส = เตตฺตึส = 33

แปลง เต เป็น ตาว ลบ ตฺ ท้าย เต

: เตตฺตึส > ตาวตฺตึส > ตาวตึส > ดาวดึงส์

ดาวดึงส์” เป็นชื่อสวรรค์ชั้นที่ 2 แห่งสวรรค์ 6 ชั้น คือ จาตุมหาราชิก ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และ ปรนิมมิตวสวัตดี

สวรรค์ชั้นดาวดึงส์มีพระอินทร์เป็นผู้ครอง

ประวัติเล่าว่า สหาย 33 คน รวมกลุ่มกันบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ผลบุญส่งให้ไปเกิดร่วมกันในสวรรค์ ตัวหัวหน้าพรรคเกิดเป็นพระอินทร์ จึงเรียกสวรรค์ชั้นนี้ตามจำนวนสมาชิกว่า เตตฺตึส = ตาวตึงส แล้วก็มาเป็น “ดาวดึงส์” ในภาษาไทย

: ถ้าตั้งใจทำความดีอย่างบริสุทธิ์จริงใจ ไม่ต้องตั้งชื่อพรรค

: ก็ยังมีชื่อไปสลักบนสวรรค์อยู่จนทุกวันนี้

บาลีวันละคำ (199)

23-11-55

ตาวตึส = สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (ศัพท์วิเคราะห์)

เตตฺตึส ชนา นิพฺพตฺตนฺติ เอตฺถาติ เตสฺตึโส, โส เอว ตาวตึโส ภพเป็นที่เกิดของคน ๓๓ คน

เตตฺตึส บทหน้า อ ปัจจัย แปลง เต เป็น ตาว ลบ ต

ดาวดึงส์

  [ดาววะ-] น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๒ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี มีพระอินทร์เป็นผู้ครอง. (ป. ตาวตึส; ส. ตฺรยสฺตฺรึศตฺ).

ตาวตึส (บาลี-อังกฤษ)

[ตโย + ตึส. เทียบ เวท. ตฺรยสฺตรึศตฺ tayo+tiŋsa. Cp. Vedic trayastriŋśat]

No.33, ใช้เฉพาะในคำสมาสแสดงถึงเทวดา 33 ตน ซึ่งหัวหน้าคือท้าวสักกะ, ส่วนตัวเลข 33 ต้องเป็น เตตฺตึส เสมอ No. 33, only in cpds. denoting the 33 gods, whose chief is Sakka, while the numeral 33 is always tettiŋsa. จำนวนนี้มีปรากฏอยู่ใน Zend-Avesta (ดู Hang, Language และ Writings, ฯลฯ น. 275,276) This number occurs already in the Vedas with ref. to the gods & is also found in Zend — Avesta (see Haug, Language & Writings, etc., pp. 275, 276).

ชาวพุทธตอนต้น ๆ แม้จะรับเลข 33 มา ก็ไม่มีความเชื่องมงายในอิทธิพลของมายา และความหมายอันเร้นลับของตัวเลขนั้น และเลขธรรมดาอื่น ๆ

The early Buddhists, though they took over the number 33, rejected the superstitious beliefs in the magical influence and mystic meaning of that & other simple numbers.

ชาวพุทธได้เปลี่ยนความนิยมที่มีมานมนานนี้เสีย.

And they altered the tradition.

เทวราชาคือพระอินทร์นั้น ในสายตาของชาวพุทธถือว่ามีลักษณะนิสัยไม่ดี, พวกเขาจึงถอดพระอินทร์เสีย, และประดิษฐ์เทพตนใหม่ขึ้นมาโดยขนานนามว่า ท้าวสักกะ, ซึ่งในทุกทางตรงกันข้ามกับพระอินทร์ (ดูรายละเอียด Dial. 2/294-298).

The king of the gods had been Indra, of disreputable character from the Buddhist point of view. Him they deposed, and invented a new god named Sakka, the opposite in every way to Indra (see for details Dial. ii.294 — 298).

ชาวพุทธที่บำเพ็ญความดีไว้ หลังจากตายไปแล้วจากโลกนี้ก็จะเกิดในสวรรค์ (สคฺค) ซึ่งหมายถึงอาณาจักรแห่งดาวดึงส์ (ที.2/209).

Good Buddhists, after death in this world, are reborn in heaven (sagga), by which is meant the realm of the Thirty-three (D ii.209).

ณ ที่นั้น พวกเขาได้รับการต้อนรับโดยเพลงมหาชัย ขับโดยเทวดาทั้ง 33 (บนชั้นดาวดึงส์) (ที.2/209,211,221,227).

There they are welcomed by the Thirty-three with a song of triumph (D ii.209, 211, 221, 227).

เทวดา 33 ตน ถือว่าเป็นชาวพุทธที่บำเพ็ญความดีอย่างเลิศมาแล้ว.

The Thirty — three are represented as being quite good Buddhists.

ท้าวสักกะหัวหน้าของพวกเขาและพระพรหมรับสั่งกับพวกเขาด้วยโอวาทที่เหมาะสมกับบริวารของขบวนการใหม่ (ที.2/213,221).

Sakka their new chief and Brahmā address them in discourses suitable only for followers of the new movement (D ii.213, 221).

นอกจากนี้แล้ว See further ดู วิ.1/12; ม.1/252; 2/78; 3/100; องฺ.3/287; 4/396 = วิมาน.อ.18 (เทียบกับประชาชนในชมพูทวีป cpd with the people of Jambudīpa); 5/59,331, วิ.ม.225, ฯลฯ. —– ดู ติทส ด้วย See also tidasa.

ตาวตึส+เทวโลก เทวโลกชั้นดาวดึงส์ (เทวดา 33 ตน); ใช้บ่อย the god-world of the 33; freq. อุ. e. g. ชา.1/202; วิ.ม.399; ธ.อ.3/8;

ตาวตึส+ภวน ภพแห่งเทวดาทั้ง 33 (สวรรค์ดาวดึงส์) the realm of the 33 gods ชา.1/202; วิ.ม.207, 390,416, และทุก ๆ แห่ง and passim..

ไตรตรึงษ์

  [-ตฺรึง] (โบ) น. ดาวดึงส์, ตรัยตรึงศ์, สวรรค์ชั้นที่ ๒ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้นฟ้าที่พระอินทร์ครอง. (ส. ตฺรยสฺตฺรึศตฺ ว่า สามสิบสาม).

ฉกามาพจร, ฉกามาวจร

  [ฉะกามาพะจอน, ฉะกามาวะจอน] น. สวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ ๑. จาตุมหาราช หรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ๒. ดาวดึงส์ ๓. ยามา ๔. ดุสิต ๕. นิมมานรดี ๖. ปรนิมมิตวสวัตดี. (ป. ฉ + กาม + อวจร).

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย