บาลีวันละคำ

กลฺยาณ (บาลีวันละคำ 208)

กลฺยาณ

อ่านว่า กัน-ลฺยา-นะ (ออกเสียง ละ นิดหนึ่ง)

กลฺยาณ” แปลตามรากศัพท์ว่า “สิ่งที่ถึงความปราศจากโรค” (นึกเทียบ-ป่วย แล้วหายป่วย คืออะไร) “สิ่งที่ทำให้สำเร็จประโยชน์

กลฺยาณกัลยาณะ” จะมีความหมายอย่างไรขึ้นอยู่กับบริบท แต่เป็นไปในทางดีทั้งสิ้น เช่น –

ความดี, ความงาม, ความประเสริฐ, ความกรุณา, ความอุปการะ, ความสะดุดตาหรือดึงดูดใจ, ความสมบูรณ์พร้อม, เจริญ, เป็นที่ชอบใจ, งดงาม, ดีงาม, มีเสน่ห์, เป็นศุภมงคล, มีประโยชน์, มีคุณธรรมดี, สิ่งที่ดี, ของดีต่างๆ, คุณธรรม, บุญกุศล, กุศลกรรม, ยินดี, พอใจ, สบาย, มีสุขภาพดี, แข็งแรง, ฉลาด, สามารถ, ชำนิชำนาญ, เรียบร้อย, พร้อม (ที่จะกระทำการใดๆ), เหมาะ, สมควร, ถูกต้อง, สนุกสนาน, อร่อย, ไพเราะ

กลฺยาณ” แปลงรูปเป็น “กลฺยาณี” มีความหมายเฉพาะว่า “หญิงงาม” และใช้เป็นคำคุณศัพท์ก็ได้ มีความหมายว่า ดี, งาม (ไม่จำกัดเพศ)

ในภาษาไทยมีคำว่า “กัลยา” (กัน-ละ-ยา) หมายถึงผู้หญิง, นางงาม คำนี้อาจจะเพี้ยนมาจาก “กัญญา” (บาลี) หรือ “กันยา” (สันสกฤต) ซึ่งหมายถึง หญิงสาว, สาวรุ่น, สาวน้อย

กัลยาณะ กัลยาณี กัลยา กัญญา กันยา ดูจะกระเดียดไปข้างสตรีเพศ

มีนายทหารผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ชื่อของท่านเขียนว่า “กัลยาณ์” (ณ เณร การันต์) ฟังเสียงอ่าน อาจนึกว่าเป็นผู้หญิง แต่เห็นรูปคำแล้วเข้าใจได้ทันทีว่าเป็นผู้ชาย

: ไม่ว่าอะไร ก็ดูดีได้ทั้งนั้น ถ้าฉลาดใช้

บาลีวันละคำ (208)

2-12-55

ดูโพสในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย