บทความเกี่ยวกับศาสนา-ภาษา-สังคม

สัทธรรมปฏิรูปกสูตร

สัทธรรมปฏิรูปกสูตร

สัทธรรมปฏิรูปกสูตร สังยุตตนิกาย นิทานวรรค พระไตรปิฎกเล่ม ๑๖ ข้อ ๕๓๑-๕๓๕

สารัตถปกาสินี ภาค ๒ หน้า ๓๑๘-๓๒๔

พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล เล่ม ๒๖ หน้า ๖๓๐-๖๓๘

——————————

สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

พระไตรปิฎกเล่ม ๑๖ ข้อ ๕๓๑-๕๓๕

[๕๓๑]  เอกํ  สมยํ  ภควา  สาวตฺถิยํ  วิหรติ  เชตวเน  อนาถปิณฺฑิกสฺส  

อาราเม  ฯ  อถ  โข  อายสฺมา  มหากสฺสโป  เยน  ภควา  

เตนุปสงฺกมิ  อุปสงฺกมิตฺวา  ภควนฺตํ  อภิวาเทตฺวา  เอกมนฺตํ  นิสีทิ  ฯ  

เอกมนฺตํ  นิสินฺโน  โข  อายสฺมา  มหากสฺสโป  ภควนฺตํ  เอตทโวจ  

โก  นุ  โข  ภนฺเต  เหตุ  โก  ปจฺจโย  เยน  ปุพฺเพ  อปฺปตรานิ  

เจว  สิกฺขาปทานิ  อเหสุํ  พหุตรา  จ  ภิกฺขู  อญฺญาย  สณฺฐหึสุ  

โก  ปน  ภนฺเต  เหตุ  โก  ปจฺจโย  เยเนตรหิ  พหุตรานิ  เจว  

สิกฺขาปทานิ  อปฺปตรา  จ  ภิกฺขู  อญฺญาย  สณฺฐหนฺตีติ  ฯ  

     [๕๓๒]  เอวญฺหตํ  กสฺสป  โหติ  สตฺเตสุ  หายมาเนสุ  สทฺธมฺเม  

อนฺตรธายมาเน  พหุตรานิ  เจว  สิกฺขาปทานิ  โหนฺติ  อปฺปตรา  จ  

ภิกฺขู  อญฺญาย  สณฺฐหนฺติ  น  ตาว  กสฺสป  สทฺธมฺมสฺส  อนฺตรธานํ  

โหติ  ยาว  น  สทฺธมฺมปฏิรูปกํ  โลเก  อุปฺปชฺชติ  ยโต  จ  

โข  กสฺสป  สทฺธมฺมปฏิรูปกํ  โลเก  อุปฺปชฺชติ  อถ  สทฺธมฺมสฺส  

อนฺตรธานํ  โหติ  ฯ  เสยฺยถาปิ  กสฺสป  น  ตาว  ชาตรูปสฺส  

#๑ ม. เอวญฺเจตํ ฯ  

อนฺตรธานํ  โหติ  ยาว  น  ชาตรูปปฏิรูปกํ  โลเก  อุปฺปชฺชติ  ยโต  

จ  โข  กสฺสป  ชาตรูปปฏิรูปกํ  โลเก  อุปฺปชฺชติ  อถ  ชาตรูปสฺส  

อนฺตรธานํ  โหติ  ฯ  เอวเมว  โข  กสฺสป  น  ตาว  สทฺธมฺมสฺส  

อนฺตรธานํ  โหติ  ยาว  น  สทฺธมฺมปฏิรูปกํ  โลเก  อุปฺปชฺชติ  

ยโต  จ  โข  กสฺสป  สทฺธมฺมปฏิรูปกํ  โลเก  อุปฺปชฺชติ  อถ  

สทฺธมฺมสฺส  อนฺตรธานํ  โหติ  ฯ  

     [๕๓๓]  น  โข  กสฺสป  ปฐวีธาตุ  สทฺธมฺมํ  อนฺตรธาเปติ  น  

อาโปธาตุ  สทฺธมฺมํ  อนฺตรธาเปติ  น  เตโชธาตุ  สทฺธมฺมํ  

อนฺตรธาเปติ  น  วาโยธาตุ  สทฺธมฺมํ  อนฺตรธาเปติ  อถโข  อิเธว  เต  

อุปฺปชฺชนฺติ  โมฆปุริสา  เย  อิมํ  สทฺธมฺมํ  อนฺตรธาเปนฺติ  เสยฺยถาปิ  

กสฺสป  นาวา  อาทิเกเนว  โอปิลาวติ  ฯ  น  โข  กสฺสป  เอวํ  

สทฺธมฺมสฺส  อนฺตรธานํ  โหติ  ฯ  

     [๕๓๔]  ปญฺจ  โขเม  กสฺสป  โอกฺกมนิยา  ธมฺมา  สทฺธมฺมสฺส  

สมฺโมสาย  อนฺตรธานาย  สํวตฺตนฺติ  ฯ  กตเม  ปญฺจ  ฯ  อิธ  กสฺสป  

ภิกฺขู  ภิกฺขุนิโย  อุปาสกา  อุปาสิกาโย  สตฺถริ  อคารวา  วิหรนฺติ  

อปฺปติสฺสา  ธมฺเม  อคารวา  วิหรนฺติ  อปฺปติสฺสา  สงฺเฆ  อคารวา  

วิหรนฺติ  อปฺปติสฺสา  สิกฺขาย  อคารวา  วิหรนฺติ  อปฺปติสฺสา  สมาธิสฺมึ  

อคารวา  วิหรนฺติ  อปฺปติสฺสา  ฯ  อิเม  โข  กสฺสป  ปญฺจ  โอกฺกมนิยา  

ธมฺมา  สทฺธมฺมสฺส  สมฺโมสาย  อนฺตรธานาย  สํวตฺตนฺติ  ฯ  

     [๕๓๕]  ปญฺจ  โขเม  กสฺสป  ธมฺมา  สทฺธมฺมสฺส  ฐิติยา  

#๑ ม. ยุ. โอปิลวติ ฯ  

อสมฺโมสาย  อนนฺตรธานาย  สํวตฺตนฺติ  ฯ  กตเม  ปญฺจ  ฯ  อิธ  

กสฺสป  ภิกฺขู  ภิกฺขุนิโย  อุปาสกา  อุปาสิกาโย  สตฺถริ  สคารวา  

วิหรนฺติ  สปฺปติสฺสา  ธมฺเม  สคารวา  วิหรนฺติ  สปฺปติสฺสา  สงฺเฆ  

สคารวา  วิหรนฺติ  สปฺปติสฺสา  สิกฺขาย  สคารวา  วิหรนฺติ  สปฺปติสฺสา  

สมาธิสฺมึ  สคารวา  วิหรนฺติ  สปฺปติสฺสา  ฯ  อิเม  โข  กสฺสป  

ปญฺจ  ธมฺมา  สทฺธมฺมสฺส  ฐิติยา  อสมฺโมสาย  อนนฺตรธานาย  

สํวตฺตนฺตีติ  ฯ  เตรสมํ  ฯ  

                  กสฺสปสํยุตฺตํ  จตุตฺถํ  นิฏฺฐิตํ  ฯ  

                       ตสฺส อุทฺทานํ  

         สนฺตุฏฺฐญฺจ  อโนตฺตาปี      จนฺทูปมํ  กุลูปกํ  

         ชิณฺณํ  ตโย  จ  โอวาทา    ฌานาภิญฺญา  อุปสฺสยํ  

         จีวรํ  ปรมฺมรณํ                 สทฺธมฺมปฏิรูปกนฺติ  ฯ  

                       ____________  

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ – หน้าที่ 630

               ๑๓.   สัทธรรมปฏิรูปกสูตร

     ว่าด้วยพระสัทธรรมกำลังเลือนหายไป

         [๕๓๑]  สมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่  ณ  พระเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี  กรุงสาวัตถี.   ณ  ครั้งนั้น   ท่านพระ-   

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ – หน้าที่ 631

มหากัสสปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ   ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว 

ถวายอภิวาทแล้วนั่ง  ณ   ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง  ครั้นท่านพระมหากัสสปนั่ง

เรียบร้อยแล้วได้กราบทูลถามว่า   ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ   อะไรหนอแล

เป็นเหตุ    เป็นปัจจัย     ให้เมื่อก่อนสิกขาบทมีน้อยและภิกษุตั้งอยู่ในพระ

อรหัตผลมีมาก   และอะไรเป็นเหตุ    เป็นปัจจัย    ให้บัดนี้สิกขาบทมีมาก

และภิกษุตั้งอยู่ในพระอรหัตผลมีน้อย.

         [๕๓๒]  พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า   ดูก่อนกัสสป    ข้อนั้นเป็น

อย่างนี้คือ   เมื่อหมู่สัตว์เลวลง    พระสัทธรรมกำลังเลือนหายไป  สิกขาบท

จึงมีมากขึ้น  ภิกษุที่ตั้งอยู่ในพระอรหัตผลจึงน้อยเข้า  สัทธรรมปฏิรูปยังไม่

เกิดขึ้นในโลกตราบใด    ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป  และ

สัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลกเมื่อใด   เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลื่อนหายไป

ทองเทียมยิ่งไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด    ตราบนั้นทองคำธรรมชาติก็ยังไม่ 

หายไป     และเมื่อทองเทียมเกิดขึ้น      ทองคำธรรมชาติจึงหายไปฉันใด

พระสัทธรรมก็ฉันนั้น  สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด   ตราบ

นั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลื่อนหายไป       เมื่อสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นเมื่อใด

เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป.

         [๕๓๓]  ดูก่อนกัสสป     ธาตุดินยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่

ได้      ธาตุน้ำ    ธาตุไฟ  ธาตุลม   ก็ยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้

ที่แท้โมฆบุรุษในโลกนี้ต่างหากเกิด ขึ้นมาก็ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป

เปรียบเหมือนเรือจะอับปาง   ก็เพราะต้นหนเท่านั้น   พระสัทธรรมยังไม่    

เลือนหายไป   ด้วยประการฉะนี้.

          [๕๓๔]  ดูก่อนกัสสป   เหตุฝ่ายดำ  ๕  ประการเหล่านี้  ย่อมเป็น    

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ – หน้าที่ 632

ไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือน  เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม   เหตุ 

ฝ่ายต่ำ  ๕  ประการเป็นไฉน  คือ  ภิกษุ  ภิกษุณี  อุบาสก  อุบาสิกา

ในธรรมวินัยนี้   ไม่เคารพยำเกรงในพระศาสดา  ๑  ในพระธรรม ๑  ใน

พระสงฆ์    ในสิกขา  ๑  ในสมาธิ  ๑    เหตุฝ่ายดำ  ๕  ประการเหล่านี้แล

ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือนเพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม.

         [๕๓๕]   ดูก่อนกัสสป  เหตุ  ๕  ประการเหล่านี้แล   ย่อมเป็นไป

พร้อมเพื่อความตั้งมั่น  ไม่ฟั่นเฟือน  ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม  เหตุ

๕ ประการเป็นไฉน  คือ  ภิกษุ  ภิกษุณี  อุบาสก  อุบาสิกา  ในธรรมวินัย

นี้    มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา   ในพระธรรม  ๑ ในพระสงฆ์  ๑

ในสิกขา  ๑  ในสมาธิ  ๑  เหตุ  ๕  ประการนี้แล  ย่อมเป็นไปพร้อม

เพื่อความตั้งมั่น  ไม่ฟั่นเฟือน   ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม.

                                จบสัทธรรมปฏิรูปกสูตรที่  ๑๓

                                      จบกัสสปสังยุตที่  ๔

สัทธรรมปฏิรูปกสูตร

สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

พระไตรปิฎกเล่ม ๑๖ ข้อ ๕๓๑-๕๓๕

                      รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้  คือ

         ๑.  สันตุฏฐสูตร                   ๒.  อโนตตัปปิสูตร       ๓.  จันทูปมสูตร

         ๔.  กุลูปกสูตร                      ๕.  ชิณณสูตร                ๖.  ปฐมโอวาทสูตร          

         ๗.  ทุติยโอวาทสูตร             ๘.  ตติยโอวาทสูตร        ๙.  ฌานาภิญญาสูตร  

         ๑๐.  ภิกขุนูปัสสยสูตร         ๑๑.  จีวรสูตร                  ๑๒.  ปรัมมรณสูตร  

         ๑๓.  สัทธรรมปฏิรูปกสูตร. 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *