บาลีวันละคำ

กลฺยาณการี กลฺยาณํ (บาลีวันละคำ 1,907)

กลฺยาณการี  กลฺยาณํ

ปาปการี  จ  ปาปกํ

ถ้าเป็นชาวพุทธ ต้องช่วยกันพูดให้ติดปาก

อ่านว่า –

กัน-ลฺยา-นะ-กา-รี กัน-ลฺยา-นัง

ปา-ปะ-กา-รี จะ ปา-ปะ-กัง

มีคำที่ควรรู้ 3 คำ คือ กลฺยาณ ปาป การี

(๑) “กลฺยาณ

บาลีอ่านว่า กัน-ลฺยา-นะ รากศัพท์มาจาก กลฺย (เหมาะสม, ดีงาม) + อณฺ (ธาตุ = ไป, ถึง) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ อะ ที่ (กลฺ)- เป็น อา (กลฺย > กลฺยา)

: กลฺย + อณฺ = กลฺยณ + = กลฺยณณ > กลฺยณ > กลฺยาณ แปลตามศัพท์ว่า (1) “กรรมที่ถึงความปราศจากโรค” (คือไม่เจ็บไม่ป่วย แข็งแรง = ดีงาม) (2) “กรรมที่ยังบุคคลให้ถึงประโยชน์เกื้อกูล

กลฺยาณ” มีความหมายหลายอย่าง คือ –

(1) งดงาม, ดีงาม, มีเสน่ห์, เป็นศุภมงคล, เป็นอนุเคราะห์, มีประโยชน์, มีคุณธรรมดี (beautiful, charming; auspicious, helpful, morally good)

(2) สิ่งที่ดีหรือมีประโยชน์, ของดีต่างๆ (a good or useful thing, good things)

(3) ความดี, คุณธรรม, บุญกุศล, กุศลกรรม (goodness, virtue, merit, meritorious action)

(4) ความกรุณา, ความอุปการะ (kindness, good service)

(5) ความงาม, ความสะดุดตาหรือดึงดูดใจ, ความสมบูรณ์พร้อม (beauty, attraction, perfection)

(๒) “ปาป

บาลีอ่านว่า ปา-ปะ รากศัพท์มาจาก –

(1) ปา (ธาตุ = รักษา) + ปัจจัย, ลง อาคม

: ปา + + = ปาป แปลตามศัพท์ว่า “กรรมเป็นแดนรักษาตนแห่งเหล่าคนดี” คือคนดีจะป้องกันตนโดยออกห่างแดนชนิดนี้

(2) ปา (ธาตุ = รักษา) + ปัจจัย

: ปา + = ปาป แปลตามศัพท์ว่า “กรรมที่รักษาอบายภูมิไว้” คือเพราะมีคนทำกรรมชนิดนี้ อบายภูมิจึงยังคงมีอยู่

(3) (คำอุปสรรค = ทั่ว, ข้างหน้า) + อป (ธาตุ = ให้ถึง) + ปัจจัย, ลบสระหน้า (คือ ที่ ป) ทีฆะสระหลัง (คือ ที่ อป เป็น อา-)

: + อป > อาป = ปาป + = ปาป แปลตามศัพท์ว่า “กรรมที่ยังผู้ทำให้ถึงทุคติ

(4) (คำอุปสรรค = ทั่ว, ข้างหน้า) + เป (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ อะ ที่ เป็น อา ( > ปา), ลบ เอ ที่ เป (เป > )

: > ปา + เป > = ปาป + = ปาปณ > ปาป แปลตามศัพท์ว่า “กรรมเป็นเหตุไปสู่อบาย

ปาป” หมายถึง ความชั่ว, ความเลวร้าย, การทำผิด, (evil, sin, wrong doing); เลวร้าย, เป็นอกุศล, ชั่ว, เลวทราม, บาป (evil, bad, wicked, sinful)

ปาป” ลง -สกรรถ : ปาป + = ปาปก มีความหมายเหมือน “ปาป

ในภาษาไทยใช้ว่า “บาป” (ปา– เป็น บา-) อ่านว่า บาบ ถ้ามีคำอื่นมาสมาส อ่านว่า บาบ-ปะ-

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

บาป, บาป– : (คำนาม) การกระทําผิดหลักคําสอนหรือข้อห้ามในศาสนา; ความชั่ว, ความมัวหมอง. (คำวิเศษณ์) ชั่ว, มัวหมอง, เช่น บาปมิตร = มิตรชั่ว. (ป., ส. ปาป).”

(๓) “การี

รากศัพท์มาจาก กรฺ (ธาตุ = ทำ) ) ณี ปัจจัย, ลบ (ณี > อี), ทีฆะ อะ ที่ -(รฺ) เป็น อา ตามสูตร “ทีฆะต้นธาตุด้วยอำนาจปัจจัยเนื่องด้วย ณ” (กรฺ > การ)

: กรฺ + ณี = กรณี > (ณี > อี) : กร + อี = กรี > การี แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ทำ (สิ่งใดสิ่งหนึ่ง) เป็นปกติ” (doing)

การประสมคำ :

กลฺยาณ + การี = กลฺยาณการี แปลว่า “ผู้ทำกรรมดีเป็นปกติ” (doing good, virtuous)

ปาป + การี = ปาปการี แปลว่า “ผู้ทำกรรมชั่วเป็นปกติ” (evil-doer, villain)

…………..

ขยายความ :

กลฺยาณการี  กลฺยาณํ

ปาปการี  จ  ปาปกํ

แปลว่า –

ผู้ทำกรรมดีย่อมได้ดี

ผู้ทำกรรมชั่วย่อมได้ชั่ว

หรือที่พูดกันสั้นๆ ว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นพุทธภาษิตแสดงหลักกรรมในพระพุทธศาสนา

พุทธภาษิตบทนี้มีข้อความเต็มๆ ว่า –

ยาทิสํ  วปเต  พีชํ

ตาทิสํ  ลภเต  ผลํ

กลฺยาณการี  กลฺยาณํ

ปาปการี  จ  ปาปกํ.

แปลว่า –

ปลูกพืชเช่นใด

ได้ผลเช่นนั้น

ผู้ทำกรรมดีย่อมได้ดี

ผู้ทำกรรมชั่วย่อมได้ชั่ว

ไขความว่า –

ความดีที่ทำลงไป ย่อมให้ผลเป็นความดี

ความชั่วที่ทำลงไป ย่อมให้ผลเป็นความชั่ว

อุปมาเหมือนพันธุ์ขนุนที่ปลูกลงไป

ย่อมออกผลมาเป็นขนุน

พันธุ์ขนุนจะออกผลเป็นมะม่วงไปไม่ได้

ฉันใดก็ฉันนั้น

แต่เป็นไปได้ที่ทำความดีไว้ แต่ความดีนั้นยังไม่ทันให้ผล ความชั่วที่เคยทำไว้มาให้ผลก่อน ทำให้ผู้นั้นเข้าใจผิดไปว่า ทำดีไม่ได้ดี เป็นเหตุให้ผู้ที่ศึกษาไม่ละเอียดรอบคอบแต่งคำพูดโต้แย้งที่ผิดความจริงว่า –

ทำดีได้ดีมีที่ไหน

ทำชั่วได้ดีมีถมไป

…………..

ดูก่อนภราดา!

ท่านจะเลือกทำอะไร?

: ทำดีจนตัวตาย ก็ตายแค่หนึ่งชาติ

แต่เกียรติยศงามพิลาสไปชั่วฟ้าดิน

: ทำชั่วเอาตัวรอด ก็รอดเพียงหนึ่งชาติ

แต่อัปยศตลอดวงศ์ญาติไปชั่วฟ้าดิน

29-8-60

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย