บทความเกี่ยวกับศาสนา-ภาษา-สังคม

ไปที่ชอบๆ

ไปที่ชอบๆ 

————

คำปลอบหรือคำล้อเลียน

เมื่อมีคนตาย จะมีบางคนชอบพูดว่า “ไปที่ชอบๆ”

ถามว่า “ไปที่ชอบๆ” หมายความว่าอย่างไร และคนพูดคำนี้มีเจตนาจะให้หมายความว่ากระไร

ผมว่าคนพูดเองก็อาจจะงง – ยังไม่ควรตายเลย หรือว่าตายเสียได้ก็ดี – ใจคิดอย่างไรที่พูดคำนี้ – “ไปที่ชอบๆ”

ผมว่าคงมีน้อยคนที่เข้าใจความหมายแท้ๆ ดั้งเดิมของคำว่า “ไปที่ชอบๆ” แม้แต่คนที่ชอบพูดคำนี้เองนั่นแหละ ส่วนมากพูดตามเขาไปโดยไม่ได้คิด

“ไปที่ชอบๆ” “ชอบ” คำนี้แปลว่าอะไร? ชอบที่ไหนก็ไปที่นั่น-อย่างนี้หรือ? 

ในมรรคมีองค์แปด มีคำแปลที่แปลกันมาจนลงตัวลงท้ายด้วยคำว่า “-ชอบ” ทั้ง ๘ องค์ คือ สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ … เป็นต้น 

พอมาถึง สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ หมายความว่าอย่างไร ชอบอาชีพอะไร ก็ประกอบอาชีพนั้น ชอบอาชีพลักขโมย ก็ทำอาชีพลักขโมย นั่นแหละคือสัมมาอาชีวะ พระพุทธเจ้าสอนไว้ในมรรคมีองค์แปด — 

สักวันหนึ่งอาจมีคนอุตริอธิบายอย่างนี้ แล้วก็อาจจะมีคนเชื่อว่าใช่แล้ว 

คำว่า “-ชอบ” ในมรรคมีองค์แปดแปลมาจากคำบาลีว่า “สมฺมา” (สัมมา) 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔ บอกความหมายของคำว่า “สัมมา” ว่า ชอบ, ดี

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ ฉบับ The Pali Text Society’s Pali-English Dictionary edited by T. W. RHYS DAVIDS แปลคำว่า “สมฺมา” ดังนี้

thoroughly โดยทั่วถึง 

properly โดยสมควร 

rightly โดยถูกต้อง 

in the right way ในทางถูกต้อง

as it ought to be ตามสมควร 

best ดีที่สุด

perfectly โดยสมบูรณ์ 

ท่านที่ถนัดภาษาฝรั่งลองพิจารณาดูเถิดว่า “สมฺมา” (สัมมา) ที่ท่านแปลกันมาว่า “ชอบ” นั้น มีความหมายที่ถูกต้องว่าอย่างไร

ในคัมภีร์บาลี กล่าวถึงคนที่ทำบุญกุศลไว้สมบูรณ์เมื่อตายแล้ว ใช้คำว่า 

“สุคตึ  สคฺคํ  โลกํ  อุปปชฺชติ” แปลว่า “เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

ในคัมภีร์ธัมมบทมีพระคาถาว่า –

……………………

ปุญฺญํ เม กตนฺติ นนฺทติ

ภิยฺโย นนฺทติ สุคตึ คโต.

เขาย่อมบันเทิงใจว่าเราทำบุญไว้แล้ว 

ไปสู่สุคติย่อมบันเทิงใจยิ่งๆ ขึ้นไป

……………………

สุคตึ คโต” (สุ-คะ-ติง คะ-โต) แปลว่า “ไปสู่สุคติ

ถ้าไม่ขัดข้อง คือไม่มีใครเห็นแย้งเป็นอย่างอื่น ผมขอเสนอว่า “ไปที่ชอบๆ” ที่เราเอามาพูดกันนั้นมาจากสำนวนบาลี “สุคตึ สคฺคํ โลกํ อุปปชฺชติ = เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์” แต่ที่ตรงตัวคือคำว่า “สุคตึ คโต = ไปสู่สุคติ

คโต” แปลว่า “ไป

สุคตึ” แปลว่า “ที่ชอบๆ

สุคตึ คโต” แปลให้ตรงคำไทยว่า “ไปที่ชอบๆ” 

ที่ชอบๆ” มาจากคำว่า “สุคตึ” หรือศัพท์เดิมว่า “สุคติ” ก็คำเดียวกับที่เรานิยมพูดว่า “ขอให้ไปสุคติ” นั่นเอง (ระวัง อย่าสะกดผิดเป็น “สุขคติสุ– ไม่ใช่ สุข-)

สุคติ” แปลตรงตัวว่า “ไปดี” คือไปสู่ภพภูมิที่มีความสุขความเจริญ 

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔ บอกความหมายของ “สุคติ” ไว้ว่า – 

……………………

สุคติ [สุคะติ, สุกคะติ] (คำนาม) ภูมิที่ถือว่าไปเกิดแล้วมีความสุขความสบาย, สวรรค์, เช่น ขอให้วิญญาณไปสู่สุคติ. (ป., ส.).

……………………

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต บอกความหมายของ “สุคติ” ไว้ดังนี้ – 

……………………

สุคติ : คติดี, ทางดำเนินที่ดี, แดนกำเนิดอันดีที่สัตว์ผู้ทำกรรมดีตายแล้วไปเกิด ได้แก่ มนุษย์ และ เทพ; ตรงข้ามกับ ทุคติ.

……………………

การจะไปสู่ภพภูมิที่มีความสุขความเจริญได้ ก็ต้องทำเหตุมาก่อน คือบำเพ็ญบุญกุศลเช่น ทาน ศีล ภาวนา

การที่เราพูดว่า “ขอให้ไปสุคติ” จึงมีความหมายว่า เราเชื่อมั่นหรือรับรองได้ว่าผู้ตายได้บำเพ็ญบุญกุศลมาแล้ว 

คำว่า “ขอให้ไปสุคติ” จึงมีนัยที่ลึกซึ้ง นั่นคือเท่ากับเรายกย่องสรรเสริญผู้ตายนั่นเอง

ที่ชอบๆ” ในที่นี้จึงหมายถึง “สุคติ” คือภพภูมิที่มีความสุขความเจริญ ไปแล้วดีมีความสำราญบานใจ

ไม่ใช่-ชอบที่ไหนก็ไปที่นั่น อย่างที่เอามาแปลงความหมายเป็นคำคะนองสนุกปากแบบไม่รู้กาลเทศะ เท่ากับเอาความตายของเพื่อนมนุษย์มาล้อเลียนล้อเล่นเห็นเป็นของสนุก

โปรดช่วยกันศึกษาความหมายของคำว่า “ที่ชอบๆ” ให้เข้าใจถูกต้อง แล้วตั้งอารมณ์พูดว่า “ไปที่ชอบๆ” ในความหมายที่ถูกต้อง เป็นการให้กำลังหรือปลอบใจผู้สูญเสียที่อยู่ข้างหลัง และเป็นการให้เกียรติแก่เพื่อนมนุษย์ผู้ที่ล่วงลับล่วงหน้าไปก่อนเรา

และนั่นเท่ากับเป็นการเตือนสติตัวเองด้วยว่า วันหนึ่งเราก็ควรจะได้ “ไปที่ชอบๆ” เช่นนั้นด้วย

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย

๑๔ เมษายน ๒๕๖๔

๑๑:๑๕

———

สุตฺต ขุ. ขุทฺทกปาฐ-ธมฺมปทคาถา-…สุตฺตนิปาตา – หน้าที่ 15

                 สุตฺตนฺตปิฏเก ขุทฺทกนิกายสฺส  

                       ธมฺมปทคาถา  

            นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ  

                ธมฺมปทคาถาย ปฐโม ยมกวคฺโค  

  [๑๑] ๑ มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา    มโนเสฏฺฐา มโนมยา  

          มนสา เจ ปทุฏฺเฐน          ภาสติ วา กโรติ วา  

          ตโต นํ ทุกฺขมเนฺวติ         จกฺกํว วหโต ปทํ ฯ  

ฯเปฯ

สุตฺต ขุ. ขุทฺทกปาฐ-ธมฺมปทคาถา-…สุตฺตนิปาตา – หน้าที่ 17

         อิธ โสจติ เปจฺจ โสจติ       ปาปการี อุภยตฺถ โสจติ  

         โส โสจติ โส วิหญฺญติ       ทิสฺวา กมฺมกิลิฏฺฐมตฺตโน ฯ  

         อิธ โมทติ เปจฺจ โมทติ      กตปุญฺโญ อุภยตฺถ โมทติ  

         โส โมทติ โส ปโมทติ       ทิสฺวา กมฺมวิสุทฺธิมตฺตโน ฯ  

         อิธ ตปฺปติ เปจฺจ ตปฺปติ      ปาปการี อุภยตฺถ ตปฺปติ  

         ปาปํ เม กตนฺติ ตปฺปติ        ภิยฺโย ตปฺปติ ทุคฺคตึ คโต ฯ  

         อิธ นนฺทติ เปจฺจ นนฺทติ      กตปุญฺโญ อุภยตฺถ นนฺทติ  

         ปุญฺญํ เม กตนฺติ นนฺทติ      ภิยฺโย นนฺทติ สุคตึ คโต ฯ  

               พหุมฺปิ เจ สหิตํ๑ ภาสมาโน  

               น ตกฺกโร โหติ นโร ปมตฺโต  

               โคโปว คาโว คณยํ ปเรสํ  

               น ภาควา สามญฺญสฺส โหติ ฯ  

               อปฺปมฺปิ เจ สหิตํ ภาสมาโน  

               ธมฺมสฺส โหติ อนุธมฺมจารี  

               ราคญฺจ โทสญฺจ ปหาย โมหํ  

               สมฺมปฺปชาโน สุวิมุตฺตจิตฺโต  

               อนุปาทิยาโน อิธ วา หุรํ วา  

               ส ภาควา สามญฺญสฺส โหติ ฯ  

                    ยมกวคฺโค ปฐโม ฯ  

#๑ ม. สํหิต. ฯ  

ธัมมปท พระไตรปิฎกเล่ม ๒๕ ข้อ ๑๑

ธัมมปทัฏฐกถา ภาค ๑ หน้า ๑๔๓ สุมนาเทวีวตฺถุ (๑๓)

ประโยค๒ – พระธัมมปทัฏฐกถาแปล ภาค ๑ – หน้าที่ 206

        ลำดับนั้น  พระผู้มีพระภาค  ตรัสกะเศรษฐีนั้นว่า  “มหาเศรษฐี  

ธิดาของท่าน  จะได้เพ้อก็หามิได้.”

        อ. เมื่อเช่นนั้น  เหตุไร  ?  นางจึงพูดอย่างนั้น.

        ศ.  เพราะท่านเป็นน้องนางจริง ๆ  (นางจึงพูดอย่างนั้นกะท่าน),

คฤหบดี  ก็ธิดาของท่านเป็นใหญ่กว่าท่านโดยมรรคและผล,  เพราะ

ท่านเป็นเพียงโสดาบัน,  ส่วนธิดาของท่านเป็นสกทาคามินี;  เพราะ

นางเป็นใหญ่โดยมรรคและผล  นางจึงกล่าวอย่างนั้นกะท่าน.

        อ. อย่างนั้นหรือ  พระเจ้าข้า.

        ศ. อย่างนั้น คฤหบดี.

        อ. เวลานี้นางเกิดที่ไหน  พระเจ้าข้า.

        เมื่อพระศาสดา  ตรัสว่า  “ในภพดุสิต  คฤหบดี” ท่านเศรษฐี

จึงกราบทูลว่า  “ธิดาของข้าพระองค์  เที่ยวเพลิดเพลินอยู่ในระหว่าง

หมู่ญาติในโลกนี้  แม้ไปจากโลกนี้แล้ว  ก็เกิดในที่ ๆ  เพลิดเพลิน

เหมือนกันหรือ ?  พระเจ้าข้า.”

                     [คนทำบุญย่อมเพลิดเพลินในโลกทั้ง ๒]

        ทีนั้น  พระศาสดา  ตรัสกะเศรษฐีนั้นว่า “อย่างนั้น  คฤหบดี

ธรรมดาผู้ไม่ประมาท  เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม  เป็นบรรพชิตก็ตาม  ย่อม

เพลิดเพลินในโลกนี้และโลกหน้าแท้”  ดังนี้แล้ว  ตรัสพระคาถานี้ว่า

                “ผู้มีบุญอันทำไว้แล้ว ย่อมเพลิดเพลินในโลกนี้,

                ละไปแล้ว  ย่อมเพลิดเพลิน  เขาย่อมเพลิดเพลิน

                ในโลกนี้  ๒เขาย่อมเพลิดเพลินว่า  เราทำบุญ

ประโยค๒ – พระธัมมปทัฏฐกถาแปล ภาค ๑ – หน้าที่ 207

                ไว้แล้ว,’  ไปสู่สุคติ  ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง ๆ ขึ้นไป.” 

                                                  [แก้อรรถ]

        บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  อิธ  ความว่า  ย่อมเพลิดเพลินใน

โลกนี้  ด้วยความเพลิดเพลินเพราะกรรม.

        บทว่า เปจฺจ  ความว่า  ย่อมเพลิดเพลินในโลกหน้า  ด้วย

ความเพลิดเพลินเพราะวิบาก.

        บทว่า  กตปุญฺโญ  คือ  ผู้ทำบุญมีประการต่าง ๆ.

        บทว่า  อุภยตฺถ  ความว่า  ย่อมเพลิดเพลินในโลกนี้  ด้วย

คิดว่า  “กุศลเราทำไว้แล้ว, บาปเราไม่ได้ทำ.”  เมื่อเสวยวิบากชื่อว่า

ย่อมเพลิดเพลินในโลกหน้า.

        สองบทว่า  ปุญฺญํ  เม  ความว่า  ก็เมื่อเพลิดเพลินในโลกนี้  

ชื่อว่า  ย่อมเพลิดเพลิน  เหตุอาศัยความเพลิดเพลินเพราะกรรม ด้วย

เหตุเพียงโสมนัสเท่านั้นว่า “เราทำบุญไว้แล้ว.”

        บทว่า  ภิยฺโย  เป็นต้น  ความว่า  ก็เขาไปสู่สุคติแล้ว  เมื่อ

เสวยทิพยสมบัติ  ตลอด ๕๗ โกฏิปีบ้าง  ๖๐  แสนปีบ้าง  ย่อมชื่อว่า

เพลิดเพลินอย่างยิ่งในดุสิตบุรี  ด้วยความเพลิดเพลิดเพราะวิบาก.

        ในกาลจบคาถา  คนเป็นอันมาก  ได้เป็นอริยบุคคลมีโสดาบัน

เป็นต้นแล้ว.  พระธรรมเทศนา  ได้เป็นประโยชน์แก่มหาชน  ดังนี้แล.

                            เรื่องนางสุมนาเทวี  จบ.

ธัมมปทัฏฐกถา ภาค ๑ หน้า ๑๔๓ สุมนาเทวีวตฺถุ (๑๓)

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *