บาลีวันละคำ

ปณาม (บาลีวันละคำ 219)

ปณาม

อ่านว่า ปะ-นา-มะ

ใช้ในภาษาไทยว่า “ประณาม” อ่านว่า ปฺระ-นาม

ปณาม” มาจาก + นมฺ  +

(คำอุปสรรค) = ทั่ว, ข้างหน้า, ก่อน, ออก

นมฺ (ธาตุ) = นอบน้อม, งอ, โค้ง, ก้ม

(ปัจจัย) = การ, ความ (ลงแล้วลบออก)

กระบวนการทางไวยากรณ์ –

แปลง ต้นธาตุ เป็น : นม = ณม

ทีฆะ อะ เป็น อา ด้วยอำนาจ ปัจจัย : ณม = ณาม

เพราะฉะนั้น + นมฺ > ณมฺ > ณาม + จึง = ปณาม

นมฺ”ธาตุ มีความหมายว่า นอบน้อม, งอ, โค้ง, ก้ม ก็จริง แต่เมื่อมีคำอุปสรรคเข้าประสม ความหมายก็เคลื่อนที่ไปบ้าง “ปณาม” ในภาษาบาลีมีความหมายดังนี้ –

1. การน้อมไหว้, การคำนับ, ความนอบน้อม, การสดุดี

2. การขับไล่, การไล่ออก, ไล่ให้หลีกหรือให้กลับไป

3. พูดว่ากดให้เสียหาย, กล่าวร้ายให้เสียหาย

ปณาม” มีความหมายทั้งบวกและลบอยู่คำเดียวกัน จะมีความหมายอย่างไรจึงขึ้นอยู่กับข้อความ เรื่องราว เนื้อหา ที่กล่าวถึง

ข้อสังเกต :

ปณาม” ในภาษาบาลีมักใช้ในทางบวก

ประณาม” ในภาษาไทย มักใช้ในทางลบ

: “คำ” ก็เหมือน “คน” ดีในสังคมหนึ่ง อาจเลวในอีกสังคมหนึ่ง

เพราะฉะนั้น : อย่ามองแค่เนื้อนอก แต่จงปอกให้ถึงเนื้อใน

——–

ขอบพระคุณ Charanya Deeboonmee Na Chumphae ที่กรุณาตั้งคำถาม

บาลีวันละคำ (219)

13-12-55

ดูโพสในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย