บาลีวันละคำ

มัชชปานสัญญมะ (บาลีวันละคำ 3,302)

มัชชปานสัญญมะ

เว้นจากของมึนเมา

คำในพระสูตร: มชฺชปานา สญฺญโม (มัด-ชะ-ปา-นา จะ สัน-ยะ-โม) 

มัชชปานสัญญมะ” อ่านว่า มัด-ชะ-ปา-นะ สัน-ยะ-มะ

แยกศัพท์เป็น มัชช + ปาน + สัญญมะ 

(๑) “มัชช

เขียนแบบบาลีเป็น “มชฺช” อ่านว่า มัด-ชะ รากศัพท์มาจาก มทฺ (ธาตุ = บ้าคลั่ง) + ปัจจัย, แปลง ทฺย (คือ ทฺ ที่สุดธาตุ + ปัจจัย) เป็น , ซ้อน ชฺ 

: มทฺ + = มทฺย > มช + = มชฺช แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งเป็นเหตุบ้าคลั่งแห่งผู้คน

มชฺช” หมายถึง ของมึนเมา, ของที่เป็นเหตุให้มึนเมา, ความมึนเมา

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “มชฺช” ว่า – 

(1) intoxicant, intoxicating drink, wine, spirits (น้ำเมา, เครื่องดองของเมา, เหล้า, สุรา) 

(2) drinking place (ร้านเหล้า)

ในภาษาไทย ใช้เป็น “มัช-” (มีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย) และ “มัชชะ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

มัช-, มัชชะ : (คำนาม) นํ้าเมา, ของเมา. (ป. มชฺช).”

ในที่นี้สะกดเป็น “มัชช” ไม่ตัดตัวสะกดออกตัวหนึ่งตามหลักนิยมในภาษาไทย ทั้งนี้เพื่อคงลักษณะของคำที่ใช้ในทางธรรมะ

(๒) “ปาน

บาลีอ่านว่า ปา-นะ รากศัพท์มาจาก ปา (ธาตุ = ดื่ม) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ)

: ปา + ยุ > อน = ปาน แปลตามศัพท์ว่า (1) “การดื่ม” (2) “อันควรดื่ม” 

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ปาน” ว่า drink, including water as well as any other liquid (เครื่องดื่ม รวมถึงน้ำและของเหลวชนิดอื่นๆ)

ในที่นี้ “ปาน” หมายถึง “การดื่ม” รวมถึงการนำเข้าสู่ร่างกายด้วยวิธีอื่นๆ 

(๓) “สัญญมะ

เขียนแบบบาลีเป็น “สญฺญม” อ่านว่า สัน-ยะ-มะ รากศัพท์มาจาก สํ (คำอุปสรรค = พร้อมกัน, ร่วมกัน) + ยมฺ (ธาตุ = สงบ, ระงับ) (อะ) ปัจจัย, แปลงนิคหิตที่ สํ เป็น ญฺ (สํ > สญฺ), แปลง ต้นธาตุเป็น  

: สํ + ยมฺ = สํยมฺ + = สํยม > สญฺยม > สญฺญม (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ความสงบจากอกุศลธรรม” หมายถึง ความระวัง ในที่นี้ท่านหมายถึง การงดเว้น

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “สญฺญม” ดังนี้ –

(1) restraint, self-control, abstinence (ความสำรวม, การควบคุมตนเอง, ความสังวร) 

(2) restraint in giving alms saving [of money etc.], stinginess (ความสำรวมในการตักบาตร [รวมถึงการบริจาคทั่วไป?], การออม [พูดถึงเงิน ฯลฯ], ความตระหนี่)

การประสมคำ :

(๑) มชฺช + ปาน = มชฺชปาน (มัด-ชะ-ปา-นะ) แปลตามศัพท์ว่า “การดื่มน้ำเมา” หมายรวมถึงการเสพของมึนเมาทุกชนิด

(๒) มชฺชปาน + สญฺญม = มชฺชปานสญฺญม (มัด-ชะ-ปา-นะ-สัน-ยะ-มะ) แปลตามศัพท์ว่า “การสำรวมระวังจากการดื่มน้ำเมา” หมายถึงการงดเว้นจากการเสพของมึนเมาทุกชนิด

มชฺชปานสญฺญม” เขียนแบบไทยเป็น “มัชชปานสัญญมะ” (มัด-ชะ-ปา-นะ สัน-ยะ-มะ)

ขยายความ :

มงคลข้อที่ 20 ในมงคล 38 ตามนัยแห่งมงคลสูตร คำบาลีในพระสูตรว่า “มชฺชปานา สญฺญโม” (มัด-ชะ-ปา-นา จะ สัน-ยะ-โม) แปลตามศัพท์ว่า “การสำรวมระวังจากการดื่มน้ำเมา” 

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ข้อ [353] มงคล 38 บอกไว้ว่า –

20. มชฺชปานา สญฺญโม (เว้นจากการดื่มน้ำเมา — Majjapānasaññama: abstinence from intoxicants)

…………..

ในคัมภีร์ท่านแสดงอานิสงส์ของ “มัชชปานสัญญมะ = การสำรวมระวังจากการเสพของเมา” ส่วนหนึ่งไว้ดังนี้ –

…………..

ยสฺมา  ปน  มชฺชปายี  อตฺถํ  น  ชานาติ  ธมฺมํ  น  ชานาติ  มาตุ  อนฺตรายํ  กโรติ  ปิตุพุทฺธปจฺเจกพุทฺธตถาคตสาวกานมฺปิ  อนฺตรายํ  กโรติ  ทิฏฺฐธมฺเม  ครหํ  สมฺปราเย  ทุคฺคตึ  อปราปริยาเยน  อุมฺมาทญฺจ  ปาปุณาติ.  

มชฺชปานา  ปน  สํยโม  เตสํ  โทสานํ  วูปสมํ  ตพฺพิปรีตคุณสมฺปทญฺจ  ปาปุณาติ.

ตสฺมา  อยํ  มชฺชปานา  สํยโม  มงฺคลนฺติ  เวทิตพฺโพ. 

ก็เพราะเหตุที่ผู้เสพของเมาย่อมไม่รู้อรรถไม่รู้ธรรม (คือไม่รู้จักเหตุผลใดๆ) ย่อมทำอันตรายแก่มารดาบิดา ทำอันตรายแม้แก่พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพระพุทธเจ้า และพระสาวกของพระตถาคต ย่อมประสบการติเตียนในภพปัจจุบัน ประสบทุคติในภพเบื้องหน้า และประสบความเป็นบ้าในภพต่อๆ ไป.

ส่วนการสำรวมจากการเสพของเมาย่อมบรรลุการระงับโทษเหล่านั้น และการถึงพร้อมด้วยคุณตรงกันข้ามกับโทษนั้น. 

ฉะนั้น การสำรวมจากการเสพของเมานี้พึงทราบว่าเป็นมงคล.

ที่มา: ปรมัตถโชติกา ขุททกปาฐวัณณนา หน้า 191 

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ไม่เมาเหล้าอย่านึกว่าจะหมดฤทธิ์

: เพราะความเห็นผิดเป็นยอดของความเมา

—————–

#บาลีวันละคำ (3,302) (ชุดมงคล 38)

27-6-64

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *