บาลีวันละคำ

อริยสัจทัสสนะ (บาลีวันละคำ 3,315)

อริยสัจทัสสนะ

เห็นอริยสัจ

คำในพระสูตร: อริยสจฺจาน ทสฺสนํ (อะ-ริ-ยะ-สัด-จา-นะ ทัด-สะ-นัง) 

อริยสัจทัสสนะ” อ่านว่า อะ-ริ-ยะ-สัด-จะ-ทัด-สะ-นะ

อริยสัจทัสฺสนะ” เขียนแบบบาลีเป็น “อริยสจฺจทสฺสน” อ่านว่า อะ-ริ-ยะ-สัด-จะ-ทัด-สะ-นะ แยกศัพท์เป็น อริยสจฺจ + ทสฺสน 

(๑) “อริยสจฺจ

อ่านว่า อะ-ริ-ยะ-สัด-จะ ประกอบด้วยคำว่า อริย + สจฺจ 

(ก) “อริย” (อะ-ริ-ยะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) อรห = “ผู้ฆ่าข้าศึกคือกิเลส”, แปลง ที่ และ เป็น อิย

: (อร + อห = ) อรห : อห > อิย : อร + อิย = อริย แปลเท่ากับคำว่า “อรห” คือ “ผู้ฆ่าข้าศึกคือกิเลส

(2) อรฺ (ธาตุ = ถึง, บรรลุ) + ณฺย ปัจจัย, ลบ ณฺ, ลง อิ อาคม

: อรฺ + อิ = อริ + ณฺย > = อริย แปลว่า “ผู้บรรลุธรรมคือมรรคและผล

(3) อารก = “ผู้ไกลจากกิเลส”, แปลง อารก เป็น อริย แปลเท่ากับคำว่า “อารก” คือ “ผู้ไกลจากกิเลส

(4) อรฺ (ธาตุ = ถึง, บรรลุ) + ณฺย ปัจจัย, ลบ ณฺ, ลง อิ อาคม [เหมือน (2)] แปลว่า “ผู้อันชาวโลกพึงเข้าถึง

(5) อริย = “ผลอันประเสริฐ” + ปัจจัย, ลบ  

: อริย + = อริยณ > อริย แปลว่า “ผู้ยังชาวโลกให้ได้รับผลอันประเสริฐ

สรุปว่า “อริย” แปลว่า –

(1) ผู้ฆ่าข้าศึกคือกิเลส

(2) ผู้บรรลุธรรมคือมรรคและผล

(3) ผู้ไกลจากกิเลส

(4) ผู้อันชาวโลกพึงเข้าไปใกล้

(5) ผู้ยังชาวโลกให้ได้รับผลอันประเสริฐ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ ประมวลความหมายของ “อริย” ไว้ดังนี้ –

๑ ทางเชื้อชาติ: หมายถึง ชาติอารยัน (racial: Aryan)

๒ ทางสังคม: หมายถึง ผู้ดี, เด่น, อริยชาติ, สกุลสูง (social: noble, distinguished, of high birth)

๓ ทางจริยศาสตร์: หมายถึง ถูกต้อง, ดี, ดีเลิศ (ethical: right, good, ideal)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อริย-, อริยะ : (คำนาม) ในพระพุทธศาสนา เรียกบุคคลผู้บรรลุธรรมวิเศษ มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น ว่า พระอริยะ หรือ พระอริยบุคคล. (คำวิเศษณ์) เป็นของพระอริยะ, เป็นชาติอริยะ; เจริญ, เด่น, ประเสริฐ.”

(ข) “สจฺจ” (สัด-จะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) (แทนศัพท์ว่า “สนฺต” = สัตบุรุษ, คนดี) + ภู (ธาตุ = มี, เป็น) + ปัจจัย, แปลง ภู เป็น

: + ภู > = สจ + = สจฺจ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่มีในคนดีทั้งหลาย” (สัจจะจึงต้องเป็นไปในทางดี) 

(2) สรฺ (ธาตุ = เบียดเบียน) + ปัจจัย, ลบ รฺ ที่ (ส)-รฺ (สรฺ > ), ซ้อน จฺ

: สรฺ > + จฺ + = สจฺจ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เบียดเบียนทุกข์” (สัจจะจึงต้องใช้เพื่อแก้ทุกข์ คือแก้ปัญหา)

สจฺจ” เป็นคำนาม แปลว่า ความจริง (the truth), การยืนยันแน่นอน (a solemn asseveration) เป็นคุณศัพท์ แปลว่า จริง, แท้ (real, true)

สจฺจ” ในภาษาไทยตัดตัวสะกดออกตัวหนึ่ง เขียนเป็น “สัจ

อริย + สจฺจ = อริยสจฺจ แปลตามศัพท์ว่า “ความจริงอย่างประเสริฐ” หมายถึง ความจริงอันประเสริฐ, อริยสัจ (a standard truth, an established fact)

อริยสจฺจ” ในภาษาไทยใช้เป็น “อริยสัจ” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

อริยสัจ : (คำนาม) ความจริงของพระอริยะ, ความจริงอันประเสริฐ; ชื่อธรรมสําคัญหมวดหนึ่งในพระพุทธศาสนา มี ๔ ข้อ คือ ๑. ทุกข์ ๒. ทุกขสมุทัย (เหตุให้เกิดทุกข์) ๓. ทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) และ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หรือ มรรค (ทางแห่งความดับทุกข์). (ป. อริยสจฺจ).”

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ที่คำว่า “อริยสัจ” ขยายความไว้ดังนี้ –

…………..

อริยสัจ : ความจริงอย่างประเสริฐ, ความจริงของพระอริยะ, ความจริงที่ทำคนให้เป็นพระอริยะ มี ๔ อย่าง คือ ทุกข์ (หรือ ทุกขสัจจะ) สมุทัย (หรือ สมุทัยสัจจะ) นิโรธ (หรือ นิโรธสัจจะ) มรรค (หรือ มัคคสัจจะ) เรียกเต็มว่า ทุกข-[อริยสัจจ์] ทุกขสมุทัย[อริยสัจจ์] ทุกขนิโรธ[อริยสัจจ์] และ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา[อริยสัจจ์]

…………..

(๒) “ทสฺสน

บาลีอ่านว่า ทัด-สะ-นะ รากศัพท์มาจาก ทิสฺ (ธาตุ = เห็น) + ยุ ปัจจัย, แปลง ทิสฺ เป็น ทสฺส, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ)

: ทิสฺ > ทสฺส + ยุ > อน = ทสฺสน แปลตามศัพท์ว่า “การเห็น” หมายถึง –

(1) การเห็น, การมองดู, การสังเกต, สิ่งที่ปรากฏ, รูปร่าง (seeing, looking; noticing; sight of, appearance, look)

(2) การเล็งเห็น, เครื่องรู้เห็น, การเห็นแจ้ง, ความเห็น, ทฤษฎี (perception, faculty of apperception, insight, view, theory)

ทสฺสน” ในภาษาไทยใช้อิงสันสกฤตเป็น “ทัศน” 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ทัศน-, ทัศน์, ทัศนะ, ทัศนา : (คำนาม) ความเห็น, การเห็น, เครื่องรู้เห็น, สิ่งที่เห็น, การแสดง, ทรรศนะ ก็ใช้. (ป. ทสฺสน; ส. ทรฺศน).”

ในที่นี้สะกดตามบาลีเป็น “ทัสสนะ

อริยสจฺจ + ทสฺสน = อริยสจฺจทสฺสน (อะ-ริ-ยะ-สัด-จะ-ทัด-สะ-นะ) แปลว่า “การเห็นอริยสัจ” 

แถม :

คำบาลีในพระสูตรว่า “อริยสจฺจาน ทสฺสนํ” (อะ-ริ-ยะ-สัด-จา-นะ ทัด-สะ-นัง) (“อริยสจฺจาน” คำหนึ่ง “ทสฺสนํ” อีกคำหนึ่ง แยกกันเป็น 2 คำ) ตรงคำว่า “…สจฺจาน” (สัด-จา-นะ) รูปคำจริงเป็น “…สจฺจานํ” (สัด-จา-นัง) คือ “สจฺจ” แจกด้วยวิภัตตินามที่หก (ฉัฏฐีวิภัตติ) พหูพจน์ เปลี่ยนรูปเป็น “สจฺจานํ” แปลตามวิภัตติว่า “แห่ง(อริย)สัจทั้งหลาย” 

แต่ในที่นี้ใช้กฎพิเศษ 2 กรณี กล่าวคือ –

กรณีที่หนึ่ง: ในคำว่า “-สจฺจานํ” “-นํ” อยู่ในตำแหน่งที่ต้องใช้คำที่เป็นลหุ (เสียงเบาหรือเสียงสั้น) แต่ “-นํ” เป็นครุ (เสียงหนักหรือเสียงยาว) จึงใช้กฎพิเศษลบนิคหิตที่ “-นํ” เพื่อให้ “-นํ” เป็นลหุ (นํ > ) ดังนั้น “อริยสจฺจานํ” (อะ-ริ-ยะ-สัด-จา-นัง) จึงเป็น “อริยสจฺจาน” (อะ-ริ-ยะ-สัด-จา-นะ)

กรณีที่สอง: “อริยสจฺจาน” (คือ อริยสจฺจานํ) ปกติแปลตามวิภัตติว่า “แห่งอริยสัจทั้งหลาย” แต่เนื่องจากในที่นี้ “อริยสจฺจาน” แปลต่อมาจาก “ทสฺสนํ” (การเห็น) ซึ่งเป็นกิริยานาม (คำนามที่แสดงถึงกิริยา ในที่นี้คือ “เห็น”) และมีอำนาจบังคับให้คำที่แปลต่อจากตน (แปลต่อจาก “ทสฺสนํ”) ต้องใช้คำเชื่อมว่า “ซึ่ง-” อันเป็นคำเชื่อมประจำวิภัตตินามที่สอง (ทุติยาวิภัตติ) ดังนั้น “อริยสจฺจาน” (คือ อริยสจฺจานํ) แทนที่จะแปลว่า “แห่งอริยสัจทั้งหลาย” กลับต้องแปลว่า “ซึ่งอริยสัจทั้งหลาย

การแปลในลักษณะที่ใช้กฎพิเศษดังกล่าวนี้ เรียกรู้กันในหมู่นักเรียนบาลีว่า “หักฉัฏฐีเป็นกรรม” (ฉัฏฐี = ฉัฏฐีวิภัตติ, กรรม = ทุติยาวิภัตติ)

สรุป: “อริยสจฺจาน ทสฺสนํ” ตามหลักการแปลโดยพยัญชนะ แทนที่จะแปลว่า “การเห็น แห่งอริยสัจทั้งหลาย” ก็กลับต้องแปลว่า “การเห็น ซึ่งอริยสัจทั้งหลาย” 

แต่ในภาษาไทย เราพูดว่า “การเห็นอริยสัจทั้งหลาย” ไม่มีทั้ง “แห่ง” ไม่มีทั้ง “ซึ่ง” เหมือนในบาลี ผู้อ่านภาษาไทยจึงอาจจะไม่รู้สึกผิดแปลกอะไรเลย แต่ในการแปลโดยพยัญชนะในภาษาบาลี กรณีเช่นนี้เป็นเรื่องสำคัญชนิดหนึ่งที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

เรื่องนี้ออกจะหนักไปในทางวิชาการ แต่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่นักเรียนบาลี จึงนำมาอธิบายแถมไว้

ขยายความ :

มงคลข้อที่ 33 ในมงคล 38 ตามนัยแห่งมงคลสูตร คำบาลีในพระสูตรว่า “อริยสจฺจาน ทสฺสนํ” (อะ-ริ-ยะ-สัด-จา-นะ ทัด-สะ-นัง) แปลกึ่งทับศัพท์ว่า “การเห็นอริยสัจ” ไขความว่า การเข้าใจความจริงของชีวิต

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ข้อ [353] มงคล 38 บอกไว้ว่า –

33. อริยสจฺจาน ทสฺสนํ (เห็นอริยสัจจ์, เข้าใจความจริงของชีวิต — Ariyasaccadassana: discernment of the Noble Truths)

…………..

ในอรรถกถาท่านขยายความ “อริยสัจทัสสนะ = การเห็นอริยสัจ” ไว้ดังนี้ –

…………..

อริยสจฺจาน  ทสฺสนํ  นาม … จตุนฺนํ  อริยสจฺจานํ  อภิสมยวเสน  มคฺคทสฺสนํ  ตํ  สํสารทุกฺขวีติกฺกมเหตุโต  มงฺคลนฺติ  วุจฺจติ. 

การเห็นมรรคโดยตรัสรู้อริยสัจ 4 ชื่อว่าอริยสัจทัสสนะ. อริยสัจทัสสนะนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุล่วงทุกข์ในสังสารวัฎ (กล่าวคือไม่ต้องเวียนตายเวียนเกิดอีกต่อไป).

ที่มา: ปรมัตถโชติกา ขุททกปาฐวัณณนา หน้า 204 

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ถ้าประสงค์จะประสบพบเห็นของสูง

: จงพยายามพยุงจูงใจอย่าให้ใฝ่ต่ำ

#บาลีวันละคำ (3,315) (ชุดมงคล 38)

10-7-64 

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *