บาลีวันละคำ

น หิ (บาลีวันละคำ 3,336)

หิ

บาลีที่ยังไม่ตาย

อ่านว่า นะ หิ

หิ” เป็นคำบาลี 2 คำ คือ “” คำหนึ่ง “หิ” คำหนึ่ง

(๑) “” 

บาลีอ่านว่า นะ เป็นคำจำพวก “นิบาต” คำจำพวกนี้ไม่แจกด้วยวิภัตติปัจจัย คือคงรูปเดิมเสมอ อาจเปลี่ยนรูปโดยวิธีสนธิกับคำอื่นบ้าง แต่คงถือว่าเป็นคำเดิมเพราะเวลาแปลต้องแยกคำออกเป็นคำเดิมเสมอ 

นักเรียนบาลีมักท่องจำรวมกับคำอื่นในกลุ่มเดียวกันว่า “ ไม่ โน ไม่ มา อย่า เทียว” ( [นะ] = ไม่, โน = ไม่, มา = อย่า, [วะ] = เทียว

” เป็นนิบาตบอกความปฏิเสธ แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not)

(๒) “หิ

อ่านว่า หิ เป็นคำจำพวก “นิบาต” เช่นเดียวกับ “” ตำราบาลีไวยากรณ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส กล่าวถึงคำจำพวก “นิบาต” ไว้ว่า –

…………..

นิบาตนั้นสำหรับลงในระหว่างนามศัพท์บ้าง กิริยาศัพท์บ้าง บอกอาลปนะ กาล ที่ ปริเฉท อุปไมย ปฏิเสธ ความได้ยินเล่าลือ ความปริกัป ความถาม ความรับ ความเตือน เป็นต้น ข้าพเจ้าจัดรวมไว้เป็นพวกๆ พอเป็นที่สังเกต 

…………..

ตำราบาลีไวยากรณ์ดังกล่าวจัด “หิ” ไว้ในกลุ่มนิบาตที่เรียกว่า “นิบาตสำหรับผูกศัพท์และประโยคมีอัตถะเป็นอเนก” 

นิบาตกลุ่มนี้ที่นักเรียนบาลีคุ้นปากมากที่สุด คือ “หิ ปน” (หิ / จะ / ปะนะ) คำแปลที่จำติดปากกันมา คือ

หิ = ก็, จริงอยู่, เพราะว่า 

= ด้วย, อนึ่ง, ก็, จริงอยู่ 

ปน = ส่วนว่า, ก็ 

นิบาต 3 ตัวนี้มักเรียกกันว่า “นิบาตต้นข้อความ” เพราะจะอยู่เป็นคำที่ 2 ในประโยคเสมอ เวลาแปลยกศัพท์ในชั้นเรียน ถ้าเห็น “หิ ปน” อยู่ต้นประโยค จะต้องยกขึ้นแปลก่อนคำอื่น คำแปลเป็นสามัญที่สุด-ถ้ายังนึกอะไรไม่ออก ก็คือ –

หิ = ก็ 

= ก็ 

ปน = ก็ 

คือยังนึกอะไรไม่ออกก็ “ก็” ไว้ก่อน (เทียบความหมายกับคำอังกฤษก็น่าจะคล้ายๆ กับ and, then, now) เทคนิคนี้นักเรียนบาลีรุ่นเก่าเข้าใจซาบซึ้งดี

อธิบายขยายความ :

ในที่นี้ “” กับ “หิ” มาคู่กันเป็น “ หิ” นักเรียนบาลีของเรามักเข้าใจว่า “หิ” ก็ยังคงเป็น “นิบาตต้นข้อความ” แต่โดยหลักนิยมและโดยอรรถรสของภาษาแล้ว “หิ” ที่มาคู่กับ “” เช่นนี้ทำหน้าที่เน้นย้ำให้ “” มีความหมายเข้มข้นขึ้น คือแปลว่า ไม่เลย, ไม่ใช่เลย, ไม่ใช่หรือไม่ได้อย่างแน่นอน (certainly not, not at all) นั่นคือ “หิ” มีอรรถเท่ากับ “” (วะ) = เทียว หรือ “เอว” (เอ-วะ) = นั่นเทียว (, เอว = even, just [so], only; for sure, certainly – ดู The Pali Text Society’s Pali-English Dictionary) 

หิ” คำนี้เป็นบาลีที่ยังไม่ตาย เพราะในภาษาฮินดียังใช้พูดกันในชีวิตประจำวัน ใครที่ไปอินเดียย่อมจะต้องได้ยินเสมอ สำเนียงอินเดียออกเสียงเป็น นา-ฮิ แต่ปกติจะพูดเร็ว ได้ยินเสียงเหมือนคำไทยว่า “ไหน”

ลองออกเสียง “ หิ” > นะ-หิ > นา-ฮิ > ไหน : ในภาษาฮินดีมีความหมายตรงกับบาลี คือไม่, ไม่ใช่ (no, not) 

แต่ในบาลี “ หิ” มีความหมายว่า ไม่เลย, ไม่ใช่เลย, ไม่ใช่หรือไม่ได้อย่างแน่นอน (certainly not, not at all)

…………..

ขอยกสำนวนบาลีที่มีคำว่า “  หิ” อยู่ในประโยคมาเสนอไว้ในที่นี้เพื่อเจริญปัญญา

…………..

[1] หิ เวเรน เวรานิ

สมฺมนฺตีธ กุทาจนํ

อเวเรน จ สมฺมนฺติ

เอส ธมฺโม สนนฺตโน. 

แต่ไหนแต่ไรมา ในโลกนี้ 

เวรทั้งหลายย่อมไม่ระงับเพราะเวรเลย 

แต่ย่อมระงับเพราะไม่จองเวร

นี้เป็นกฎธรรมดามีมาเก่า

– โกสัมพีขันธกะ วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค 2 พระไตรปิฎกเล่ม 5 ข้อ 247 หน้า 336

– อุปกิเลสสูตร มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่ม 14 ข้อ 443 หน้า 297

– ยมกวรรค ธรรมบท พระไตรปิฎกเล่ม 25 ข้อ 11

[2] อนานุวชฺโช ปฐเมน สีลโต

อเวกฺขิตาจารสุสํวุตินฺทฺริโย

ปจฺจตฺถิกา โนปวทนฺติ ธมฺมโต

หิสฺส ตํ โหติ วเทยฺยุ เยน นํ. 

เบื้องต้นภิกษุไม่ถูกตำหนิโดยศีล

หมั่นตรวจมรรยาทและสำรวมอินทรีย์เรียบร้อย

ฝ่ายตรงข้ามย่อมติเตียนไม่ได้โดยธรรม

เธอไม่มีความผิดที่ฝ่ายนั้นจะพึงกล่าวหาได้เลย

– โกสัมพีขันธกะ วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค 2 พระไตรปิฎกเล่ม 5 ข้อ 260 หน้า 354

[3] มา จ มโท มา จ ปมาโท

หิ ปมตฺตา สุคตึ วชนฺติ เต

ตฺวญฺเญว ตถา กริสฺสสิ

เยน ตฺวํ สุคตึ คมิสฺสสิ.

เจ้าอย่าเมาและอย่าประมาท

คนผู้ประมาทแล้วจะไปสุคติไม่ได้เลย

ไปสุคติได้โดยประการใด

เจ้านั่นแหละจงทำโดยประการนั้นเถิด

– สังฆเภทขันธกะ วินัยปิฎก จุลวรรค ภาค 2 พระไตรปิฎกเล่ม 7 ข้อ 379 หน้า 189 (พระพุทธองค์ตรัสกับช้างนาฬาคิรี)

[4] ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา

นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา

หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี

สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต.

ขันติคือความอดทน เป็นตบะอย่างยอด

นิพพาน ท่านผู้รู้กล่าวว่าเป็นยอด 

ผู้ที่ยังทำร้ายผู้อื่นอยู่ ไม่จัดว่าเป็นบรรพชิตเลย

ผู้ที่ยังเบียดเบียนคนอื่นอยู่ ไม่จัดว่าเป็นสมณะ

– มหาปทานสูตร ทีฆนิกาย มหาวรรค พระไตรปิฎกเล่ม 10 ข้อ 54 หน้า 57

– พุทธวรรค ธรรมบท พระไตรปิฎกเล่ม 25 ข้อ 24

[5] สุณนฺตุ โภนฺโต มม เอกวากฺยํ

อมฺหาก พุทฺโธ อหุ ขนฺติวาโท

หิ สาธุยํ อุตฺตมปุคฺคลสฺส

สรีรภาเค สิย สมฺปหาโร. 

ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ขอพวกท่านจงฟังข้าพเจ้าพูดสักคำ

พระพุทธเจ้าของพวกเราเป็นผู้กล่าวสรรเสริญขันติ

การจะสัมประหารกันเพราะส่วนพระสรีรธาตุ-

ของผู้เป็นอุดมบุคคลเช่นนี้ ไม่ดีเลย

– มหาปรินิพพานสูตร ทีฆนิกาย มหาวรรค พระไตรปิฎกเล่ม 10 ข้อ 158 หน้า 192

[6] หิ ชาตุ โส มมํ หึเส

อญฺญํ วา ปน กญฺจิ นํ

ปปฺปุยฺย ปรมํ สนฺตึ

รกฺเขยฺย ตสถาวเร.

ผู้ที่เป็นศัตรูไม่พึงเบียดเบียนเรา

หรือใครๆ อื่นนั้นเลย

ผู้ประลุความสงบอย่างยิ่งแล้ว

พึงรักษาไว้ได้ทั้งผู้ที่หวาดหวั่นและผู้ที่มั่นคง

– อังคุลิมาลสูตร มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่ม 13 ข้อ 534 หน้า 487

[7] อชฺเชว กิจฺจมาตปฺปํ

โก ชญฺญา มรณํ สุเว

หิ โน สงฺครนฺเตน

มหาเสเนน มจฺจุนา.

ควรรีบทำความเพียรในวันนี้

ใครเล่าจะรู้ว่าความตายจะมีในวันพรุ่ง

ไม่มีเลยที่เราทั้งหลายจะต่อกร –

กับมัจจุราชผู้มีไพร่พลเพียบพร้อมนั้นได้

– ภัทเทกรัตตสูตร มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่ม 14 ข้อ 527 หน้า 348

…………..

ดูก่อนภราดา!

หิ กมฺมผลํ กมฺม

การี สกฺกา นิเสธิตุํ.

: ผู้ทำกรรม

: ไม่อาจปฏิเสธผลกรรมได้เลย

#บาลีวันละคำ (3,336)

31-7-64

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *