บาลีวันละคำ

นิรมล (บาลีวันละคำ 3,361)

นิรมล 

อาศัยชื่อคนเรียนรู้คำ

อ่านว่า นิ-ระ-มน

คำว่า “นิรมล” นิยมใช้เป็นชื่อสตรี จนดูเหมือนว่าเรารู้จักคุ้นเคยกับคำนี้เป็นอันดี แต่ถ้าลองถามว่า “นิรมล” แปลว่าอะไร หลายคนก็ชักจะงง เพราะคนส่วนมากไม่ค่อยได้สนใจไปถึงรากศัพท์หรือที่มาของคำ

นิรมล” ประกอบด้วยคำว่า นิร + มล

(๑) “นิร” 

อ่านว่า นิ-ระ ตามที่ตาเห็นก็เป็น “นิร” แต่หลักภาษาบอกว่า คำนี้เดิมเป็น “นิ” เป็นศัพท์จำพวก “อุปสรรค” แปลว่า เข้า, ลง, ไม่มี, ออก เมื่อนำหน้าคำที่ขึ้นต้นด้วยสระ มักลง อาคมแทรกระหว่างคำที่มาเชื่อมกัน เช่น –

นิ + + อนฺตราย = นิรนฺตราย แปลว่า ไม่มีอันตราย

นิ + + อปราธ = นิรปราธ แปลว่า ไม่มีความผิด 

อักษรจำพวกที่เรียกว่า “อาคม” นี้ยังมีอีกหลายตัว เหตุผลสำคัญที่ต้องลงอาคมก็เพื่อให้เกิดความสละสลวยหรือคล่องปากเมื่อออกเสียง

ในสันสกฤต อุปสรรคตัวนี้เป็น “นิร

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

นิรฺ : (นิบาต) นิบาตและอุปสรรคบอกอสังศยะหรือความเชื่อแน่; ความประติเษธ; ความปราศจาก; a particle and prefix implying certainty or assurance; negation or privation; – (กริยาวิเศษณ์ หรือ บุรพบท) ภายนอก, นอก, ออก, ปราศจากหรือไม่มี, พลัน; outside, out, without, forth.”

(๒) “มล

บาลีอ่านว่า มะ-ละ รากศัพท์มาจาก มลฺ (ธาตุ = เคลื่อนที่; มัวหมอง) + (อะ) ปัจจัย

: มลฺ + = มล แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งที่เคลื่อนออกมา” (เช่นสิ่งสกปรกจากร่างกาย) (2) “สิ่งเป็นเหตุให้มัวหมอง”

มล” (นปุงสกลิงค์) หมายถึง สิ่งที่ไม่บริสุทธิ์, มลทิน; ความสกปรก, ของโสโครก; ความไม่บริสุทธิ์ (anything impure, stain; dirt; impurity)

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกความหมายของ “มล” ในสันสกฤตไว้ดังนี้ –

มล : (คุณศัพท์) เปื้อนเปรอะ; dirty; – (คำนาม) สิ่งโสมมหรือเปื้อนเปรอะทั่วไป; บาป; dirt or filth in general; sin.”

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ไทย-อังกฤษ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต แปล “มละ” เป็นอังกฤษว่า –

Mala: dirt; impurity; stain; refuse; dust.

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

มล, มล– : (คำนาม) ความมัวหมอง, ความสกปรก, ความไม่บริสุทธิ์; สนิม, เหงื่อไคล. (คำวิเศษณ์) มัวหมอง, สกปรก, ไม่บริสุทธิ์. (ป., ส.).”

การประสมคำรูปบาลี :

ในบาลี นิ + มล ไม่ลง อาคม แต่ใช้วิธีซ้อนตัวสะกดตามกฎพยัญชนะวรรค คือคำหลัง (ในที่นี้คือ มล) ขึ้นต้นด้วย จึงซ้อนพยัญชนะที่สุดวรรคของ ซึ่งก็คือ นั่นเอง (พยัญชนะวรรคของ ม คือ ป ผ พ ภ )

: นิ + มฺ + มล = นิมฺมล (นิม-มะ-ละ) แปลตามศัพท์ว่า “มีมลทินออกแล้ว” 

นิมฺมล” ใช้เป็นคุณศัพท์ หมายถึง ไม่มีมลทิน, ไม่แปดเปื้อน, สะอาด, บริสุทธิ์ (free from impurity, stainless, clean, pure) 

บาลี “นิมฺมล” ภาษาไทยใช้อิงสันสกฤตเป็น “นิรมล

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

นิรมล : (คำวิเศษณ์) ไม่มีมลทิน, ไม่มัวหมอง, ผ่องใส; โดยปริยายหมายความว่า หญิงสวย, หญิงงาม. (ส.).” 

อภิปราย :

ตามรูปศัพท์ “นิรมล” (นิมฺมล) ไม่ได้แปลว่า สวย หรืองาม แต่แปลว่า “ไม่มีสนิม” แต่เพราะสิ่งที่ไม่มีสนิมหรือขัดสนิมออกหมดแล้ว จะมีลักษณะผ่องใสงดงามอยู่ในตัว โดยปริยายจึงหมายถึงสวย หรืองาม 

และ “นิรมล” (นิมฺมล) โดยปกติก็ไม่ใช่คำที่ใช้หมายถึงสตรี ในบาลีคำนี้ไม่ใช่อิตถีลิงค์ แต่เป็นคุณศัพท์ แต่ในภาษาไทยมักใช้เป็นคุณศัพท์หมายถึงสตรีที่งาม จึงเป็นที่เข้าใจกันว่า คำว่า “นิรมล” ถ้าเป็นชื่อคนก็เป็นชื่อสตรีโดยเฉพาะ

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ชื่อดีเป็นมงคลไปแล้วครึ่งหนึ่ง

: อีกครึ่งหนึ่งเจ้าของชื่อต้องทำเอง

#บาลีวันละคำ (3,361)

25-8-64

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *