บาลีวันละคำ

สัมพัจฉรฉินท์ (บาลีวันละคำ 236)

สัมพัจฉรฉินท์

อ่านว่า สํา-พัด-ฉะ-ระ-ฉิน

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บอกไว้ว่า –

สัมพัจฉรฉินท์ : พิธีสิ้นปี, ตรุษ”

สัมพัจฉรฉินท์” เขียนแบบบาลีเป็น “สํวจฺฉรฉินฺท” (สัง-วัด-ฉะ-ระ-ฉิน-ทะ) ประกอบด้วยคำว่า สํวจฺฉร + ฉินฺท

สํวจฺฉร” แปลตามศัพท์ว่า “กาลเป็นที่อาศัยอยู่” “กาลที่เป็นไปเหมือนว่าอาศัยความสืบเนื่องและความเป็นไปแห่งธรรมดานั้นๆ” แปลเอาความว่า “ปี

ฉินฺท” แปลว่า การตัด; ตัด, ขาด, ทําลาย

กระบวนการทางไวยากรณ์ คือ สํ แปลงเป็น สมฺ, เป็น , สํวจฺฉร จึงเป็น สมฺพจฺฉร + ฉินฺท เขียนแบบไทยเป็น “สัมพัจฉรฉินท” การันต์ที่ จึงเป็น “สัมพัจฉรฉินท์

สมัยโบราณ ไทยเรานับสิ้นปีที่สิ้นเดือน 4 ที่เรียกว่า “ตรุษ” (ผู้รู้บอกว่า “ตรุษ” แปลว่า “ตัด”) จึงเรียกพระราชพิธีตรุษว่า “สัมพัจฉรฉินท์” แปลว่า “ตัดปี

สัมพัจฉรฉินท์” (ตัดปีสิ้นปีเก่า) เป็นคำบาลีที่ไทยเราผูกขึ้นตามวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตไทย

@ คืนวันคือคืนวัน…..ตะวันจันทร์เป็นราศี

เก่าใหม่ที่ไหนมี……..เพราะโลกหมุนจึงมีครัน

@ ปีใหม่กี่ปีมา………ก็เหมือนปีก็เหมือนวัน

สากลสมมุติกัน………จงมองแก่นให้เห็นกล

(จาก-พรปีใหม่ 2556)

บาลีวันละคำ (236)

31-12-55

สํวจฺฉร = ปี (วสฺส สรท หายน สมา) (ศัพท์วิเคราะห์)

– สํวสนฺติ เอตฺถาติ สํวจฺฉโร กาลเป็นที่อาศัยอยู่

สํ บทหน้า วสฺ ธาตุ ในความหมายว่าอยู่ ฉร ปัจจัย, แปลง ส เป็น จ, ลบสระหน้า

– ตํ ตํ สตตํ ธมฺมปฺปวตฺติญฺจ สงฺคมฺม วทนฺโต วิย สรติ วตฺเตตีติ สํวจฺฉโร กาลที่เป็นไปเหมือนว่าอาศัยความสืบเนื่องและความเป็นไปแห่งธรรมดานั้นๆ

สํ + ว บทหน้า สรฺ ธาตุ ในความหมายว่าไป อ ปัจจัย, แปลง ส เป็น ฉ, ซ้อน จฺ

สัมพัจฉร-

 [สําพัดฉะระ-] น. ปี. (ป. สํวจฺฉร; ส. สํวตฺสร).

สัมพัจฉรฉินท์

น. พิธีสิ้นปี, ตรุษ. (ป.).

ฉินท-, ฉินท์

 [ฉินทะ-] (แบบ) ก. ตัด, ขาด, ทําลาย. (ป., ส.).

ในกฎมณเฑียรบาลบัญชีย่อพระราชพิธีว่า เดือนสี่การสัมพัจฉรฉินท์ แต่ครั้นเมื่อพิจารณาโดยละเอียดแล้ว หลักฐานเลอะเลือนไม่ได้ความชัดเจน นอกจากทราบว่าได้ทำกันมาแต่โบราณ แต่การพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์นี้ ย่อมเป็นพระราชพิธีทำติดต่อกันกับเดือนห้า

สัมพัจฉรฉินท์นี้เป็นพระราชพิธีประจำ ทำเพื่อให้เป็นสวัสดิมงคลแก่พระนคร และพระเจ้าแผ่นดิน พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการฝ่ายหน้าฝ่ายในตลอดจนราษฎร เนื่องจากพิธีสัมพัจฉรฉินท์เป็นพิธีใหญ่ให้รวมกับ พิธีอาพาธพินาศ เกศากันต์และโหมกุณฑ์

สำหรับการแสดงที่เป็นไฮไลต์ของงานนี้ คือ การจำลอง พระราชพิธี “สัมพัจฉรฉินท์” ซึ่งเป็นพระราชพิธีในเดือน 4 จาก “พระราชพิธี 12 เดือน” เป็นพระราชพิธีที่พระมหากษัตริย์ทรงประกอบขึ้นในวันแรม 11 ค่ำ ถึง 15 ค่ำ เดือน 4 สืบมาตั้งแต่สมัยอยุธยากรุงเก่า

ดูโพสในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย