นว (บาลีวันละคำ 237)
นว
อ่านว่า นะ-วะ
“นว” มีคำแปล 2 อย่าง คือ –
1. ใหม่, สด, ยังไม่ช้ำหรือเสื่อมเสีย, สะอาด, เร็วๆ นี้, ที่ได้มาหรือปฏิบัติเมื่อเร็วๆ นี้เอง, หนุ่ม, ยังไม่มีความชำนาญ, ไม่มีประสบการณ์
2. จำนวนเก้า
จะหมายถึง “ใหม่” หรือ “เก้า” ต้องดูที่บริบท ในภาษาไทยมักใช้เป็นคําหน้าสมาส เช่น
– นวกรรม “การทำใหม่” = การก่อสร้าง
– นวทวาร = ช่องทั้ง 9 แห่งร่างกาย คือ ตา 2 หู 2 จมูก 2 ปาก 1 ทวารเบา 1 ทวารหนัก 1
นอกจากคงรูปเป็น “นว” ในภาษาไทยยังแผลงเป็น “นพ” เช่น นพคุณ “เนาว” เช่น เนาวรัตน์ หรือชื่อเมื่อง “นพบุรีศรีนครพิงค์” คำว่า “นพบุรี” ก็คือ “เมืองใหม่” หรือเชียงใหม่นั่นเอง
เราคงยังจำได้ว่า ภาษาบาลีกับภาษาอังกฤษอยู่ในตระกูลเดียวกัน
ในภาษาอังกฤษ “ใหม่” คือ new ซึ่งเสียงใกล้กับ “นว” และ “เก้า” คือ nine ก็ยังมีเค้าของ “นว” อยู่นั่นเอง
คำว่า novice ที่แปลว่า “สามเณร” เสียงก็ใกล้กับ “นวา” ซึ่งหมายถึง “ภิกษุหนุ่มสามเณรน้อย”
“นว” ถ้าเติมปัจจัย ก็จะมีความหมายเพิ่มขึ้น เช่น
– “นวก” (นะ-วะ-กะ) แปลว่า “ผู้ใหม่”, “คนใหม่” หรือ “กลุ่มที่มีจำนวนเก้า”
– “นวม” (นะ-วะ-มะ) แปลว่า “ลำดับที่เก้า” ดังคำที่เราคุ้นกันดีคือ “นวมินทร์” (นะ-วะ-มิน = นวม + อินทร์) = พระราชาองค์ที่เก้า
ลองเชิงนักเลงบาลี : “ปีใหม่” คำบาลีว่าอย่างไร ?
บาลีวันละคำ (237)
1-1-56
นว ค.(พจนานุกรมศัพท์บาลี)
ใหม่, หนุ่ม, เก้า.
นว สัง.
๙, เก้า
นวก ค.
ผู้มาใหม่, ผู้มีอายุน้อยกว่า.
นวก นป.
หมวดเก้า
นว (บาลี-อังกฤษ)
-1-ใหม่, new สด, ยังไม่ช้ำหรือเสื่อมเสีย, สะอาด, เร็วๆ นี้, ที่ได้มา หรือปฏิบัติเมื่อเร็วๆ นี้เอง (มักใช้ในความหมายเดียวกับ ตรุณ ตรงกันข้ามกับ ปุราณ หรือ ปุพฺพ) 2-หนุ่ม, ยังไม่มีความชำนาญ, ไม่มีประสบการณ์, novice สามเณร
– จำนวนเก้า nine (นับทีละสี่ เป็นจำนวนคู่ = ๘ จำนวนใหม่ = ๙)
นวม ลำดับที่เก้า
เนาว ใหม่
นว- ๑
[นะวะ-] ว. ใหม่ (ใช้เป็นคําหน้าสมาส). (ป., ส.).
นว- ๒
[นะวะ-] ว. เก้า, จํานวน ๙, (ใช้เป็นคําหน้าสมาส). (ป.; ส. นวนฺ).
นวก- ๑, นวกะ
[นะวะกะ-] น. ผู้ใหม่, ผู้อ่อน. (ป.).ว. ใหม่, อ่อน, เช่น พระนวกะ นวกภูมิ.
นวก- ๒
[นะวะกะ-] น. หมวด ๙ หมายความว่า วัตถุอันมีจํานวน ๙ ทุกอย่าง เช่น รัตนะ ๙ คําสอนของพระศาสดา ๙ พุทธคุณ ๙ เอามารวมไว้ในหมวดนั้น เรียกว่า นวก เช่น นวกนิบาต. (ป.).
นวกภูมิ
[นะวะกะพูม] น. ขั้นหรือชั้นแห่งผู้ใหม่, ในคณะสงฆ์หมายถึงภิกษุที่มีพรรษาต่ำกว่า ๕, ภิกษุจัดเป็น ๓ ชั้น ชั้นต้น คือ นวกภูมิ (ชั้นใหม่), ชั้นกลาง คือ มัชฌิมภูมิ มีพรรษาตั้งแต่ ๕ ถึง ๙, และ ชั้นสูง คือ เถรภูมิ (ชั้นพระเถระ) มีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป. (ป.).
นวกรรม, นวการ, นวกิจ
น. การก่อสร้าง.
นวกรรมิก
น. ผู้ดูแลการก่อสร้าง. (ส.; ป. นวกมฺมิก).
นวโกวาท
[นะวะโกวาด] น. โอวาทเพื่อผู้บวชใหม่. (ป.).
นวครหะ, นวเคราะห์
[-คฺระหะ, -เคฺราะ] น. นพเคราะห์, ดาวพระเคราะห์ทั้ง ๙ คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัสบดี ราหู ศุกร์ เกตุ. (ส.).
นวคุณ
น. นพคุณ. (ป.).
นวชาต
ว. ใหม่. (ส.).
นวทวาร
น. ช่องทั้ง ๙ แห่งร่างกาย คือ ตา ๒ หู ๒ จมูก ๒ ปาก ๑ ทวารเบา ๑ ทวารหนัก ๑; ร่างกาย. (ส.).
นวม ๑
น. สิ่งที่มีของอ่อนนุ่มอยู่ข้างใน เพื่อให้ความอบอุ่นหรือเพื่อป้องกันการเสียดสี การกดดัน การกระทบกระทั่งเป็นต้น เช่น เสื้อนวม เกราะนวม นวมคอ, เรียกผ้าห่มนอนที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า ผ้านวม, เรียกกานํ้าที่มีนวมหุ้มเพื่อเก็บความร้อนไว้ได้นานว่า กานวม, เรียกปี่พาทย์ที่ตีด้วยไม้พันด้วยนวมว่า ปี่พาทย์ไม้นวม.
นวม- ๒
[นะวะมะ-] (แบบ) ว. ที่ ๙ เช่น นวมสุรทิน = วันที่ ๙. (ป.).
นวมี
[นะวะมี] (แบบ) ว. ที่ ๙ เช่น นวมีดิถี = วัน ๙ คํ่า. (ป.).
เนาว- ๑
[เนาวะ-] (แบบ) ว. ใหม่. (ป. นว).
เนาว- ๒
[เนาวะ-] (แบบ) ว. เก้า, จํานวน ๙. (ป. นว).
นพ, นพ-
[นบ, นบพะ-] ว. เก้า (ใช้ประกอบหน้าศัพท์อื่น). (ป. นว; ส. นวนฺ).
นพกะ
[นบพะ-] น. ผู้ใหม่. (ป. นวก).