บวช (บาลีวันละคำ 238)
บวช
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต บอกไว้ว่า
“บวช : การเว้นทั่ว คือเว้นความชั่วทุกอย่าง (ออกมาจากคำว่า ป + วช) หมายถึงการถือเพศเป็นนักพรตทั่วไป”
“ป” เป็นคำอุปสรรค แปลว่า ทั่ว, ข้างหน้า, ก่อน, ออก
“วช” เป็นรากศัพท์ (ธาตุ) แปลว่า ไป, ถึง, เกิด, บรรลุ, แสวงหา, ปรุงแต่ง, กระทำ
มีธาตุอีกคำหนึ่ง คือ “วชฺช” (วัด-ชะ) แปลว่า “เว้น”
ในบาลีไม่มีศัพท์ว่า “ปวช” ส่วน ป + วชฺช รูปบาลีเป็น “ปพฺพชฺชา” (ปับ-พัด-ชา) แปลว่า การถือเพศเป็นนักพรต, การทรงเพศสมณะ, การสละชีวิตครองเรือนออกบวช ซึ่งเป็นความหมายของ “บวช” นั่นเอง (พจน.๔๒ บวช : ถือเพศเป็นภิกษุสามเณรหรือนักพรตอื่น ๆ)
ป + วชฺช = ปพฺพชฺชา ใช้ในภาษาไทยว่า “บรรพชา” (ตาม พจน.๔๒ อ่านว่า บัน-พะ-ชา ก็ได้ บับ-พะ-ชา ก็ได้)
ไทยเราแปลง วชฺช เป็น “วช” (ลบ ช เสียตัวหนึ่ง) จึงเท่ากับ ป + วช แล้วเขียนแบบไทยว่า “บวช”
สรุปว่า “บวช” มาจาก ป + วชฺช = ปวชฺช = ปวช = บวช
“บวช” : มรดกทางภาษา ที่เป็นภูมิปัญญาไทยโดยแท้
บาลีวันละคำ (238)
2-1-56
“บวช – บรรพชา” ในความหมายเดิมคือละเคหสถาน ทรัพย์สมบัติ และวงศ์ญาติ สละเพศฆราวาสออกไปถือเพศนักพรต
ชาวบ้านธรรมดาถือศีลแปดศีลห้า แม้จะนุ่งขาวห่มขาว ไปค้างวัด ก็เรียก “อุบาสกอุบาสิกา” ตามหลักวิชาแล้วยังไม่ใช่ “บวช”
มีคำกริยา “ปวชติ” แปลว่า ท่องเที่ยวไป, โคจรไป, เที่ยวเดินไป
คำที่คิดขึ้นใช้เรียกผู้บวชตามที่พูดกันใหม่
ศีลจาริณี
เนกขัมจาริณี
ชีพราหมณ์
บวช (ประมวลศัพท์)
การเว้นทั่ว คือเว้นความชั่วทุกอย่าง (ออกมาจากคำว่า ป + วช) หมายถึงการถือเพศเป็นนักพรตทั่วไป; บวชพระ คือบวชเป็นภิกษุเรียกว่า อุปสมบท, บวชเณร คือบวชเป็นสามเณรเรียกว่า บรรพชา
ปพฺพชติ ก.(พจนานุกรมศัพท์บาลี)
ย่อมบวช, ย่อมบรรพชา, ย่อมออกจากเรือน, ย่อมเว้น
ปพฺพชนฺติ ก.(พจนานุกรมศัพท์บาลี)
ย่อมบวช, ย่อมบรรพชา, ทิ้งบ้านออกจาริกเป็นภิกษุ, บำเพ็ญพรต
บวช ๑
ก. ถือเพศเป็นภิกษุสามเณรหรือนักพรตอื่น ๆ.
บวช ๒
(ปาก) ก. หลอก, ล่อลวง, ทําอุบายให้หลงเชื่อ, เช่น ถูกเขาบวชเช้าบวชเย็นรํ่าไป. (อิเหนา ร. ๕).
บวชชี
ก. ถือเพศเป็นชี.น. ชื่อของหวานชนิดหนึ่ง ทําด้วยกล้วย ต้มกับกะทิ.
ปพฺพชฺชา (บาลี-อังกฤษ)
การออกบรรพชา, การถือเพศเป็นนักพรต, การถือเพศเป็นภิกษุ, การทรงเพศสมณะ, การออกบวช
ปวชติ = ท่องเที่ยวไป, โคจรไป, เที่ยวเดินไป
ปพฺพชฺชา อิต.(พจนานุกรมศัพท์บาลี)
บรรพชา, การสละชีวิตครองเรือนออกบวช, การบวชโดยเฉพาะของสามเณร.
บรรพชา
[บันพะ-, บับพะ-] น. การบวช เช่น บรรพชาเป็นกิจที่ทําได้ยาก, ถ้าใช้เข้าคู่กับคํา อุปสมบท บรรพชา หมายความว่า การบวชเป็นสามเณร อุปสมบท หมายความว่า การบวชเป็นภิกษุ.ก. บวช เช่น บรรพชาเป็นสามเณร. (ป. ปพฺพชฺชา; ส. ปฺรวฺรชฺยา).