ปฏิญฺญา (บาลีวันละคำ 242)
ปฏิญฺญา
อ่านว่า ปะ-ติน-ยา
ส่วนประกอบของคำคือ ปฏิ + ญา
“ปฏิ” (คำอุปสรรค) = เฉพาะ, ตอบ, ทวน, กลับ
“ญา” (ธาตู) = รู้ (เมื่อประสมกัน ซ้อน ญ ตามกฎไวยากรณ์)
“ปฏิญฺญา” แปลว่า คำรับรอง, คำมั่น, สัญญา, การตกลง, การให้ความเห็นชอบ, การอนุญาต, การรับว่า-, การแสดงตัวว่าเป็น-
ความหมายที่เด่นของ “ปฏิญฺญา” คือ :
– ในกรณีที่มีการขอร้องแล้วรับว่าจะทำตามที่ขอ ตรงกับคำว่า “รับปาก”
– ในการแสดงตนว่าเป็นอะไรหรือเป็นใคร เมื่อมีการสงสัยหรือให้ยืนยันว่าเป็นเช่นนั้น เช่น “ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ” = ยืนยันว่าตนเป็นนักบวช คล้ายๆ กับคำว่า “รับสมอ้าง”
ในภาษาไทยมีคำที่เสียงใกล้กันอีกคำหนึ่ง คือ “ปฏิญาณ” (ปะ-ติ-ยาน, รากศัพท์เดียวกัน แต่คำนี้ไม่มีใช้ในบาลี) หมายถึง “การให้คํามั่นสัญญา” ความหมายคล้ายกับตั้งสัจจะ หรือให้สัจจะ
“ปฏิญญา – ปฏิญาณ” ในภาษาไทยความหมายไม่เหมือนกัน –
“ปฏิญญา” ให้คํามั่นสัญญาเมื่อมีการร้องขอ
“ปฏิญาณ” ให้คํามั่นสัญญาด้วยความตั้งใจของตัวเอง ไม่คำนึงว่ามีใครร้องขอหรือไม่
อุดมคติ : ชีวิตมีค่า อย่าปฏิญญา (รับปาก) ใครง่ายๆ
แต่เมื่อรับปากแล้วไซร้ จงรักษาไว้ด้วยชีวิต
บาลีวันละคำ (242)
6-1-56
ปฏิญฺญา อิต.(พจนานุกรมศัพท์บาลี)
ปฏิญญา, คำรับรอง, คำมั่น, สัญญา, การตกลง, การให้ความเห็นชอบ, การอนุญาต.
ปฏิญฺญ (บาลี-อังกฤษ)
(คุณ.) (= ปฏิญฺญา =paṭiññā)
รับรู้กัน; ปฏิญาณ, เสมือนหรือประหนึ่ง- acknowledged, making belief, quasi-
; ในวลี สมณปฏิญฺญ ประหนึ่งสมณะ, ทำว่าเป็นสมณะ in phrase samaṇa˚ a quâsi-Samaṇa, pretending to be a Samaṇa A i.126; ii.239; cp. Sakyaputtiya˚ S ii.272; sacca˚ J iv.384, 463; v.499.
quasi- (คเว-ไซ) pf. (สอ เสถบุตร)
ครึ่งๆ, ทำนอง, คล้าย, ประหนึ่ง
ใช้เติมหน้าคำได้ทั่วไป เช่น quasi-historical, quasi-public
คำเช่นนี้มักลงเสียงหนักที่ คเว- หรืออย่างคำเดิม
quasi-historical
กึ่งประวัติศาสตร์
quasi-public
เป็นสาธารณะครึ่งๆ
S. semi-, pseudo-
ปฏิญฺญา (บาลี-อังกฤษ)
(อิต.) (จาก ปฏิ + ชฺญา; เทียบ สัน. ยุคหลัง ปฺรติชฺญา fr. paṭi+jñā; cp. later Sk. pratijñā)
การรับรู้, การเห็นด้วย, การสัญญา, การปฏิญาณ, การยินยอม, การอนุญาต
acknowledgment, agreement, promise, vow, consent, permission
ปฏิญฺญํ โมเจติ รักษาสัญญาของตน to keep one’s promise DhA i.93.
ปฏิญญา
[ปะตินยา] น. การให้คํามั่นสัญญาหรือการแสดงยืนยันโดยถือเอาสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือความสุจริตใจเป็นที่ตั้ง. (ป.).
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
น. การให้คํามั่นสัญญาหรือการแสดงยืนยันถึงสิทธิหรืออํานาจอันชอบธรรมของมนุษย์ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป.
ปฏิญาณ
[ปะติยาน] ก. ให้คํามั่นสัญญา โดยมากมักเป็นไปตามแบบพิธี.
สันสกฤตเป็น ปฺรติชฺญา, ปฺรติชฺญาน