บทความเกี่ยวกับศาสนา-ภาษา-สังคม

ขยะสังคม

ขยะสังคม (๓) 

ขยะสังคม (๓) 

———-

เรื่องนี้เคยโพสต์เป็นเรื่องยาวตอนเดียวจบมาแล้ว 

………………………..

เมื่อ ๒ วันก่อน (๑๑ สิงหาคม ๒๕๖๒) ผมอ่านโพสต์ของญาติมิตรท่านหนึ่ง ท่านได้รับกระทบเรื่องบางเรื่องตรงกับที่ผมเคยเขียนไว้-คือเรื่องนี้ 

ผมย้อนกลับไปอ่านดู ก็เลยเกิดความคิดเอามาโพสต์ให้อ่านกันอีกที แต่จะขอแบ่งเป็นตอนๆ สั้นๆ เพื่อสะดวกแก่การอ่าน 

…………….

พระอรรถกถาจารย์ยกคำบางคำในพุทธภาษิตข้างต้นมาอธิบายขยายความไว้

ขอยกเฉพาะที่กล่าวถึงการจับผิดกับการชี้โทษมาเสนอไว้ในที่นี้

————-

ผู้คอยตำหนิติติงคนอื่น ท่านเรียกเป็นศัพท์ว่า “วชฺชทสฺสี” (วชฺช + ทสฺสี)

วชฺช” แปลว่า โทษ เช่นในคำว่า วัชพืช คือพืชที่เป็นโทษ

ทสฺสี” แปลว่า ผู้แสดง คือผู้ชี้ให้ดู

วัชชทัสสีมี ๒ ประเภท

ประเภทหนึ่งเรียกว่า “รนฺธคเวสโก” (รนฺธ + คเวสโก

รนฺธ” แปลว่า โพรง, รอยแยก, รอยเปิด; รอยตำหนิ, ข้อบกพ่อง, จุดอ่อน (opening, cleft, open spot; flaw, defect, weak spot)

คเวสโก” แปลว่า “ผู้แสวงหา

รนฺธคเวสโก” จึงแปลว่า ผู้แสวงหาจุดอ่อน, ผู้คอยจ้องจับผิด

หมายความว่า ความผิดหรือความเสียหายนั้นยังไม่เกิด ยังไม่มี ยังไม่ปรากฏ และจะมีหรือเปล่าก็ไม่ทราบ จึงต้องไปเที่ยวแสวงหา 

คนอื่นเขาอยู่ของเขาดีๆ ไม่ได้ทำผิดคิดร้ายอะไร ก็ไปเที่ยวคอยจ้องมองหาข้อบกพร่องของเขา หรือไปเที่ยวขุดคุ้ยดูว่าเขาเคยทำผิดอะไรมาบ้าง ด้วยเจตนาจะใช้เป็นเหตุหาเรื่องทำให้เขาเสียหาย 

ถอดออกมาเป็นความคิดก็ว่า เอ็งพลาดเมื่อไร ข้าฟันไม่เลี้ยง

อย่างนี้คือ “จับผิด”

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย

๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๒

๑๔:๐๙

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *