บทความเกี่ยวกับศาสนา-ภาษา-สังคม

ขยะสังคม

ขยะสังคม (๔) 

ขยะสังคม (๔) 

———-

เรื่องนี้เคยโพสต์เป็นเรื่องยาวตอนเดียวจบมาแล้ว 

………………………..

เมื่อ ๒ วันก่อน (๑๑ สิงหาคม ๒๕๖๒) ผมอ่านโพสต์ของญาติมิตรท่านหนึ่ง ท่านได้รับกระทบเรื่องบางเรื่องตรงกับที่ผมเคยเขียนไว้-คือเรื่องนี้ 

ผมย้อนกลับไปอ่านดู ก็เลยเกิดความคิดเอามาโพสต์ให้อ่านกันอีกที แต่จะขอแบ่งเป็นตอนๆ สั้นๆ เพื่อสะดวกแก่การอ่าน 

——————————————————–

อีกประเภทหนึ่ง ท่านเรียกว่า “นิคฺคยฺหวาที” (นิก-ไค-หะ-วา-ที) แปลว่า “ผู้มีปกติกล่าวข่ม

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “นิคฺคยฺหวาที” ว่า one who speaks rebukingly, censuring, reproving, resenting (ผู้กล่าวตำหนิ, ติเตียน, ว่ากล่าว, ไม่เห็นด้วย, ไม่ชอบ) ออกจากคำกริยาว่า “นิคฺคณฺหาติ” ซึ่งแปลว่า รั้งไว้, ห้ามปราม, ดุ, ว่ากล่าว, ตำหนิ

นิคฺคยฺหวาที-กล่าวข่ม นี่แหละคือผู้ชี้โทษ

“ชี้โทษ” หมายถึงข้อบกพร่องหรือความเสียหายได้เกิดขึ้นแล้ว ไม่ต้องแสวงหา เพราะมีผู้ทำให้ปรากฏขึ้นแล้ว แต่ผู้ทำไม่รู้ตระหนักว่าการกระทำนั้นเป็นโทษ เป็นความเสียหาย จึงต้อง “ชี้” ให้ดู

“ชี้โทษ” นั้นบัณฑิตย่อมทำโดยแยบคาย ถ้าไม่เห็นประโยชน์เป็นอย่างอื่นก็มักแอบเตือนกันเงียบๆ เพื่อไม่ให้เสียหน้า มุ่งให้เจ้าตัวรู้และแก้ไขเป็นที่ตั้ง 

แต่ “จับผิด” นั้นมีเจตนาจะให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง เพราะฉะนั้นจะไม่ทำเงียบๆ แต่จะต้องเปิดโปงให้คนทั่วไปรู้ด้วย

เหมือนเห็นคนลืมรูดซิป

“ชี้โทษ” คือหาทางเข้าไปกระซิบบอกไม่ให้เขาอับอายขายหน้า

“จับผิด” คือชี้ชวนกันให้ดูแล้วหัวเราะคิกคักหรือส่งเสียงเรียกบอกให้ใครๆ มารุมกันดู

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย

๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๒

๑๖:๔๗

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *