บาลีวันละคำ

ธรรมสภา (บาลีวันละคำ 1,489)

ธรรมสภา

อ่านว่า ทำ-มะ-สะ-พา

ประกอบด้วย ธรรม + สภา

(๑) “ธมฺม” (ทำ-มะ)

รากศัพท์มาจาก ธรฺ (ธาตุ = ทรงไว้) + รมฺม (ปัจจัย) ลบ รฺ ที่สุดธาตุ (ธรฺ > ) และ ต้นปัจจัย (รมฺม > มฺม)

: ธรฺ > + รมฺม > มฺม : + มฺม = ธมฺม (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า –

(1) “กรรมที่ทรงไว้ซึ่งความดีทุกอย่าง” (หมายถึงบุญ)

(2) “สภาวะที่ทรงผู้ดำรงตนไว้มิให้ตกไปในอบายและวัฏทุกข์” (หมายถึงคุณธรรมทั่วไปตลอดจนถึงโลกุตรธรรม)

(3) “สภาวะที่ทรงไว้ซึ่งสัตว์ผู้บรรลุมรรคเป็นต้นมิให้ตกไปในอบาย” (หมายถึงโลกุตรธรรม คือมรรคผล)

(4) “สภาวะที่ทรงลักษณะของตนไว้ หรืออันปัจจัยทั้งหลายทรงไว้” (หมายถึงสภาพหรือสัจธรรมทั่วไป)

(5) “สภาวะอันพระอริยะมีโสดาบันเป็นต้นทรงไว้ ปุถุชนทรงไว้ไม่ได้” (หมายถึงโลกุตรธรรม คือมรรคผล)

คำแปลตามศัพท์ที่เป็นกลางๆ “ธมฺม” คือ “สภาพที่ทรงไว้

ธมฺม” สันสกฤตเป็น “ธรฺม” เราเขียนอิงสันสกฤตเป็น “ธรรม

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของ “ธรรม” ไว้ดังนี้ –

(1) คุณความดี เช่น เป็นคนมีธรรมะ เป็นคนมีศีลมีธรรม

(2) คําสั่งสอนในศาสนา เช่น แสดงธรรม ฟังธรรม ธรรมะของพระพุทธเจ้า

(3) หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา เช่น ปฏิบัติธรรม ประพฤติธรรม

(4) ความจริง เช่น ได้ดวงตาเห็นธรรม

(5) ความยุติธรรม, ความถูกต้อง, เช่น ความเป็นธรรมในสังคม

(6) กฎ, กฎเกณฑ์, เช่น ธรรมะแห่งหมู่คณะ

(7) กฎหมาย เช่น ธรรมะระหว่างประเทศ

(8) สิ่งของ เช่น เครื่องไทยธรรม

ในที่นี้ “ธรรม” มีความหมายเน้นที่-คําสั่งสอนและหลักประพฤติปฏิบัติในพระพุทธศาสนา

(๒) “สภา” (สะ-พา) รากศัพท์มาจาก –

1) สนฺต (คนดี) + ภา (ธาตุ = รุ่งเรือง) + กฺวิ ปัจจัย แปลง สนฺต เป็น , ลบ กฺวิ

: สนฺต > + ภา = สภา + กฺวิ = สภากฺวิ > สภา แปลตามศัพท์ว่า “ที่อันรุ่งเรืองด้วยคนดี

2) สํ (คำอุปสรรค = พร้อมกัน, ร่วมกัน) + ภาสฺ (ธาตุ = พูด, กล่าว) + กฺวิ ปัจจัย, ลบนิคหิตที่ สํ (สํ > ), ลบ ที่สุดธาตุ (ภาสฺ > ภา) และลบ กฺวิ

: สํ > + ภาสฺ = สภาสฺ + กฺวิ = สภาสกฺวิ > สภาส > สภา แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่มาประชุมกันพูด

3) สห (คำอุปสรรค = ร่วมกัน) + ภา (ธาตุ = พูด, กล่าว) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ ที่ สห (สห > ) และลบ กฺวิ

: สห > + ภา = สภา + กฺวิ = สภากฺวิ > สภา แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่พูดร่วมกัน

ตามความหมายเหล่านี้ “สภา” จึงเป็นเครื่องหมายของสังคมประชาธิปไตย คือ คนดีๆ มาปรึกษาหารือกันก่อนแล้วจึงลงมือทำกิจการต่างๆ

สภา” (อิตถีลิงค์) ทั้งบาลี สันสกฤต และภาษาไทยใช้รูปเดียวกัน

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า

สภา : องค์การหรือสถานที่ประชุม”

ในภาษาบาลี “สภา” หมายถึง “สถานที่” แต่ในภาษาไทยนอกจากหมายถึงสถานที่แล้ว ยังหมายถึง “องค์การ” (หรือองค์กร) คือศูนย์รวมกลุ่มบุคคลหรือกิจการที่ประกอบกันขึ้นเป็นหน่วยงาน เช่น

– สภาผู้แทนราษฎร

– สภาสตรีแห่งชาติ

– สภามหาวิทยาลัย

– วุฒิสภา

สภา” ในความหมายนี้เล็งถึงความเป็น “หน่วยงาน” ไม่ได้เล็งถึง “สถานที่” หมายความว่า “สภา” ดังกล่าวนี้จะมีสถานที่ตั้งอยู่ที่ไหน หรือแม้แต่จะไม่มีสถานที่ตั้ง ก็มีฐานะเป็น “สภา” อยู่ในตัวแล้ว

ธมฺม + สภา = ธมฺมสภา > ธรรมสภา แปลตามศัพท์ที่นักเรียนบาลีนิยมแปลว่า “ที่เป็นที่กล่าวและเป็นที่แสดงซึ่งธรรม

ตามวัฒนธรรมของสังคมสงฆ์สมัยพุทธกาล จะมีช่วงเวลาหนึ่งของแต่ละวันที่ภิกษุซึ่งอยู่ร่วมกันจะไปชุมนุมกันในเวลาและสถานที่ที่กำหนด เช่น ณ อาสนศาลา (โรงฉัน) ในเวลาบ่าย ชาวบ้านจะนำน้ำปานะมาถวาย ภิกษุจะสนทนาธรรมกันในที่นั้น ชาวบ้านก็ถือเป็นโอกาสที่จะได้ฟังธรรมไปด้วย ในเวลานั้นโรงฉันก็จะมีสถานะเป็น “ธรรมสภา” ไปในตัว

: ไม่มีสภา ก็ยังพูดจากันได้

: แต่ถ้าไม่มีธรรมประจำใจ พูดที่ไหนก็ไม่มีราคา

2-7-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย